กะเพราควาย หรือ ใบยี่หร่า
พืชท้องถิ่น กลิ่น…ร้อนแรง!! จะกงจะแกง…ก็เผ็ดร้อนหนักหนา…
กะเพราควาย หรือ “ใบยี่หร่า” A Cuisine จะมาพูดถึง…วัตถุดิบที่คออาหารป่า ต้องคุ้นเคยเป็นอย่างดี…ด้วยกลิ่นฉุน รสชาติเผ็ดร้อน ที่ใช้ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ได้ดีนัก ทั้งยังช่วยเสริมรสชาติให้กับอาหาร โดยเฉพาะอาหารป่า ที่มาเพิ่มความร้อนแรง…นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ดีๆแฝงอยู่อีกเพียบ! มาดูกันเลย…
มารู้จักที่มากันเสียก่อน!
ถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกตามถิ่นว่า “Indian Tree Basil” สำหรับสายพันธุ์อินเดีย และ “South-East Asian Tree Basil” สำหรับสายพันธุ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(สายพันธุ์บ้านเรา) กลิ่นจะหอมฉุนจัด นิยมใช้ปรุงอาหารป่า หรืออาหารปักษ์ใต้
- กะเพราควาย : Indian Tree Basil,Clove Basil,African Basil,Wild Basil
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum gratissimum
- อยู่ในวงค์ : Lamiaceae
เป็นพืชล้มลุก ประเภทพุ่ม อายุยืนกว่าปี ชอบขึ้นที่ดินสมบูรณ์ มีอินทรียวัตถุมาก น้ำดีพอสมควร แต่ก็ขึ้นได้ดีกับดินทุกชนิดเหมือนกัน ต้องการแสงแดดมากพอสมควร เนื่องจากเป็นพืชที่มีใบดก ใบใหญ่ แต่กิ่งก้านเล็ก กรอบ หักง่าย จึงไม่ทนทานต่อสภาพลมแรง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด งอกงาม เจริญเติบโตเร็ว สามารถใช้ใบประกอบอาหาร และทุกส่วนใช้ประโยชน์เป็นยา ได้ตั้งแต่ต้นเล็กๆ อายุเดือนเศษๆ กลิ่นที่ไม่มีใครเหมือน ใช้เป็นส่วนผสมอาหาร ยา เครื่องหอม เครื่องดื่ม สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ฯลฯ
กะเพราควายหรือ จันทน์จ้อ หรือ ยี่หร่า คำเรียกที่ว่า “ยี่หร่า” เรียกเหมือนกันในผัก 2 อย่าง อย่างแรก คือ กะเพราควายที่กำลังกล่าวถึง ยี่หร่าอีกอย่าง เรียก ผักยี่หร่า หรือ ผักชีลา ผักชีลาว ผักจี ประเภทเดียวกับผักชี เป็นผักต้นเล็ก เหมือนต้นผักชี คู่ซี้กับต้นหอม ผักล้มลุกอายุสั้นเดือนสองเดือน ออกดอก ติดเมล็ด “กะเพราควายที่กำลังกล่าวถึง ทนนานถึงข้ามปีก็มี ถ้าดูแลดีๆ เวลาเอาไปใช้ทำอาหาร ก็ใช้เพียงไม่กี่ใบ ไม่กี่ยอด ได้กลิ่น รส มากกว่าที่ต้องการเสียอีก กลิ่นสาบ กลิ่นคาว ที่ว่าเป็นหนัก เจอกะเพราควายสักยอด ใบสองใบ ดับสิ้นกลิ่นสาบคาวหมด
เคยมีบทประพันธ์กาพย์เห่เรือว่า “มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ยี่หร่าในแกงมัสมั่นคือกะเพราควาย มีเมนูอาหารต่างๆ หลายสูตร ที่ใช้ยี่หร่าเป็นส่วนประกอบ เป็นเครื่องปรุง ในลักษณะเป็นผัก หรือส่วนอื่นที่เป็นเครื่องเทศ เช่น เมล็ดหรือผล ใบแห้งบด รากและต้นบด
ชาวจีน และอินเดีย มักนิยมใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ดับคาวเนื้อสัตว์ ใช้ถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ป้องกันไม่ให้เน่าเสีย นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยของยี่หร่ายังถูกใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำน้ำหอมอีกด้วย ♀️
“กะเพราควายหรือใบยี่หร่า” (Tree Basil) มีชื่อเรียกแตกต่างในแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้…
“กะเพราควาย” ชื่อดูดุดัน เรียกกันแถบภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ ในถิ่นภาคเหนือ เรียก “จันทน์จ้อ” และชื่ออย่างเป็นทางการคือ “ยี่หร่า”
ภาคกลาง : ยี่หร่า กะเพราญวณ กะเพราควาย โหระพาช้าง
ภาคเหนือ : จันทร์หอม เนียม จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น สะหลีดี หอมป้อม
ภาคใต้ : หร่า
ยี่หร่า เป็นพืชในวงศ์กะเพรา ที่เราคุ้นเคยกันนั่นแหละครับ…
สรรพคุณใบหยี่หร่า ❤️
อุดมด้วยวิตามินซีและแคลเซียม ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ และมีส่วนช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร สาวๆที่มักมีอาการปวดท้องประจำเดือน ใบยี่หร่ามีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัวช่วยลดความเจ็บปวดลงได้…
นอกจากนี้ยังช่วย ถนอมอาหารอีกด้วยนะ
เป็นภูมิปัญหาของคนโบราณ โดยการหมักเนื้อด้วยผงเมล็ดกะเพราควาย อยู่ได้โดยเนื้อสัตว์ไม่เน่าเสียเป็นสัปดาห์นะ เพราะสารที่อยู่ในเมล็ดกะเพราควาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์นั่นเอง กลิ่นและรสสามารถดับกลิ่นคาว เหม็นอับของเนื้อสัตว์ได้ น้ำมันหอมระเหยก็เช่นกัน ดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้
เมนูอร่อย “ใบยี่หร่า”
แกงคั่วปลานิลใบยี่หร่า หรอยแรง!
ขอบคุณข้อมูลจาก