มะตูมซาอุ

มะตูมซาอุ ผักแกล้ม “ลาบ” รสชาติแซ่บซ่าน่าลิ้มลอง ของดีบอกต่อ ชาวอีสานการันตี!

 สุดยอดผักแกล้มลาบ

มะตูมซาอุ หรือ มะตูมแขก หลายๆคนอาจไม่ค่อยคุ้นนักกับผักชนิดนี้ แต่…หากเป็นชาวอีสานใต้แล้วคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า…”ไม่รู้จัก” เพราะผักชนิดนี้เป็นผักเคียงในเมนูขึ้นชื่อของชาวอีสานอย่างเมนู “ลาบ” จนได้รับฉายาว่าเป็น “สุดยอดผักแกล้มลาบ” ที่ชาวอีสานกล้าการันตีว่า…แซ่บอีหลี! ด้วยรสชาติเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อรับประทานคู่กันแล้วเข้ากันอย่างลงตัว…นอกจากเรื่องรสชาติแล้วยังมีเรื่องราวของมะตูมซาอุที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน มาดูต่อกันเลยครับ^^

ที่มาของชื่อ มะตูมซาอุหรือมะตูมแขก

ต้นมะตูมซาอุ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Schinus Terebinthifolius ชื่อภาษาอังกฤษว่า Brazilian Pepper Tree มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ อเมริกาใต้ แถบบราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีลักษณะใบคล้ายมะตูม แต่มีดอกคล้ายสะเดา จึงเป็นที่มาของชื่อว่าทำไมคนไทยถึงเรียก “มะตูมซาอุ” แต่อันที่จริงแล้วเป็นพืชตระกูลเดียวกับ “มะม่วง” ที่บลาซิลนั้นจะใช้เป็นเครื่องเทศ ส่วนประเทศแถบตะวันออกกลางจะปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากมีความคงทนแต่สภาพแวดล้อมได้ดี ปลูกง่ายโตไว

ผักชนิดนี้เข้ามาได้อย่างไร

เนื่องจากแรงานอีสานที่ไปทำงานในประเทศนั้น ได้เห็นว่ามีลักษณะและกลิ่นที่น่าจะกินได้ จึงทดลองนำมารับประทานเป็นผักแกล้ม ลาบ น้ำพริก และพบว่าเข้ากันได้ดี จึงลักลอบนำเมล็ดกลับมาปลูก ซึ่งเหตุที่ว่ามะตูมซาอุนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ที่สภาพภูมิอากาศใกล้ เคียงกันกับภาคอีสานบ้านเราที่ร้อนแล้งเหมือนอาหรับจึงเติบโตได้ดี

ใบมะตูมซาอุ ถูกนำมาเป็นผักแกล้มลาบในประเทศไทยครั้งแรก ไม่สามารถสืบได้ว่าเมื่อปีใดแต่น่าเชื่อว่าจะเริ่มที่จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากสามารถพบได้ในร้านลาบและอาหารอีสานในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นของสามัญประจำตะกร้าผักมากกว่าในจังหวัดอื่น ก่อนจะแพร่ขยายความนิยมไปทั่วทั้งภาคอีสาน และเข้ามาถึงร้านลาบในกรุงเทพมหานคร ผ่านร้านอาหารอีสานตามริมทางยามค่ำคืนที่ส่วนมากลูกค้าเป็นคนขับรถแท็กซี่ ที่มาจากร้อยเอ็ด

ประโยชน์

  • นิยมนำมาทานเป็นผักสด เป็นเครื่องเคียงกับลาบ น้ำพริก ผัดไทย ขนมจีน
  • ในเชิงสมุนไพร มะตูมแขกมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี ซึ่งมีรายงานทางด้านวิทยาศาสตร์ พบว่าสารสกัดของมะตูมซาแขกช่วยลดการอักเสบ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันต่ำ แก้ท้องผูก กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อและรักษาบาดแผล
  • ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำลายเซลล์มะเร็ง ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการชักกระตุก ทำลายเชื้อไวรัส กระตุ้นการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะและกระตุ้นการขับประจำเดือน
  • ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ใช้เป็นยาสมานแผล ต้านแบคทีเรียและไวรัส หรือใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
  • ในประเทศเปรูใช้น้ำยางจากต้นเป็นยาระบายอ่อน ๆ และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนทั้งหมดของต้นใช้เป็นยาปฏิชีวนะ ส่วนของน้ำยางที่แห้งแล้วเมื่อนำมารวมกับน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบใช้เป็น ยารักษาแผล ช่วยในการหยุดเลือด รักษาอาการปวดฟัน
  • ใช้กินเป็นยาแก้โรคไขข้อและเป็นยารุ (ยาถ่าย) ในอาฟริกาใต้ใช้ใบเป็นชาดื่มแก้หวัด และนำใบมาต้มสูดดมแก้หวัด ลดอาการซึมเศร้าและหัวใจเต้นไม่ปกติ
  • คนบราซิลในเขตป่าอเมซอน ใช้เปลือกทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการท้องผูก แต่ถ้านำทั้งเปลือกและใบรวมกันทำเป็นชาใช้กระตุ้นแก้อาการซึมเศร้า
  • ในอาร์เจนตินาใช้ใบแห้งต้มดื่มเพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติและเสริมการ ทำงานของระบบทางเดินหายใจและท่อทางเดินปัสสาวะ
  • ใช้เป็นยาป้องกันการติดเชื้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.