ใบตำลึง

ใบตำลึง ตัวผู้-ตัวเมีย รับประทานผิดอาจท้องเสียได้ จริงหรือไม่?

ใบตำลึง เป็นผักริมรั้วที่คนไทยนิยมรับประทานกันมานาน มีประโยชน์มากมายทั้ง วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุเหล็กและวิตามินเอที่มีอยู่มาก….ดั้งนั้น “จากกระแสที่มีการแชร์ข่าวรับประทาน ตำลึงตัวผู้ แล้วท้องเสีย” นั้นจริงหรือไม่มาดูคำตอบจากผู้รู้กัน…

ตำลึง เป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ มีทั้งดอกตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งแต่ละต้นนั้นจะมีแค่เพศเดียว ดังนั้นลักษณะของ ใบ “ไม่สามารถบ่งบอกเพศได้” การที่จะรู้ว่าตำลึงต้นไหนเป็นเพศใดต้องดูจากดอกเท่านั้น! ส่วนวิธีดูนั้นหากเป็น “เพศเมีย” ให้ดูที่ใต้ดอก จะมีกระเปาะอยู่ใต้ดอก นั่นคือ รังไข่ ที่บ่งบอกว่าเป็นเพศเมีย ส่วน “เพศผู้”จะไม่มีกระเปาะใต้ดอกนั่นเอง…

ดังนั้น…ต้นเพศผู้ หรือ ต้นเพศเมีย ก็มีทั้งใบเว้า ใบเต็ม ได้เช่นกัน สาเหตุที่มาของท้องเสียนั้น…ด้วยตำลึงนั้นเป็นพืชที่มีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยในเรื่องการขับถ่ายอยู่แล้ว แต่ที่ท้องเสียอาจมาจากสาเหตุในเรื่องของการทำความสะอาดมากกว่า

สรุปได้ว่า…ไม่ว่าจะใบเว้า ใบเต็ม หรือ ต้นเพศผู้ ต้นเพศเมีย ก็ไม่ทำให้ ” ท้องเสียได้ ”  แม้เป็นผักริมรั้วธรรมดา…ตำลึงนั้นก็มีประโยชน์มาก สำหรับคนไทยแล้วนิยมนำมาประกอบอาหารต่างๆมากมาย รวมถึงอาหารสุขภาพอีกด้วย พืชริมรั้วดีๆแบบนี้อย่าลืมหามารับประทานกันด้วยนะ ^^

ที่มา อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาวิจัยลักษณะและพัธุกรรมของตำลึง

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย 

ชัวร์ก่อนแชร์ : แชร์วิธีดูใบตำลึงตัวผู้-ตัวเมีย จริงหรือ ?

ใบตำลึง ตำลึง
ใบตำลึง ตำลึง

 

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบและยอดอ่อนตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตำลึง

  • ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอัมพาตด้วย
  • บำรุงสายตา เป็นแหล่งวิตามินเอที่สำคัญ มีเบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นวิตามินเอได้อีก ดังนั้นตำลึงจึงจัดเป็นอาหารบำรุงสายตาที่หากินได้ง่าย
  • เสริมภูมิต้านทาน ตำลึงอุดมไปด้วยมีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการป่วยไข้ได้ โดยเฉพาะอาการไข้หวัด ซึ่งหากร่างกายขาดวิตามินเอ ก็มีโอกาสจะป่วยไข้ได้ง่าย
  • รักษาเบาหวาน เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง ฟลาโวนอยด์ สูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดี
  • ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล

ประโยชน์ของ ตำลึง คลิก!

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.