เชียร์, งาขี้ม่อน, คีนัว, เเฟล็กซ์, ธัญพืช

6 สุดยอดเมล็ดพืช กินด่วน! สุขภาพแข็งแรงก่อนใคร

เดี๋ยวนี้กระแสการกิน “เมล็ดพืช”เพื่อสุขภาพมาแรงแซงเทรนด์สุขภาพอื่นจริงๆค่ะ

ชีวจิต จึง ไม่พลาดรวบรวมเมล็ดพืชยอดฮิตเหล่านั้นมาแนะนำกัน พร้อมด้วยเมนูอาหารแสนอร่อย นำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านได้กินก่อนใคร เพื่อช่วยให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง คงความเป็นหนุ่มเป็นสาวไว้ได้ตลอดกาลค่ะ

เมล็ดเชีย…ตัวช่วยดูดซับน้ำตาล

เมล็ดเชีย (Chia) มีเมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเทา ขนาดเล็ก มีใยอาหารสูงจนน่าแปลกใจเมล็ดเชียเพียง 2 ช้อนโต๊ะ มีใยอาหารสูงถึง 11 กรัมซึ่งมีปริมาณมากเกือบครึ่งของปริมาณใยอาหารที่สมาคมนักกำหนดอาหาร ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Dietetic Association) แนะนำให้กิน โดย 1 วันควรได้รับใยอาหาร 25 – 30กรัม

เมล็ดเชียกำลังได้รับความนิยมในหมู่ ผู้ที่กินอาหารคลีน และผู้ที่กำลังลดน้ำหนักโดยนิยม โรยเมล็ดเชียในอาหารหลายชนิด เช่น สลัดผัก ก๋วยเตี๋ยว ผัดผัก โยเกิร์ต น้ำผลไม้ หรือผสมกับน้ำสะอาดใส่กระติกดื่มเพื่อเพิ่มใยอาหาร หรือเชียร์, งาขี้ม่อน, คีนัว, เเฟล็กซ์, ธัญพืชใช้เป็นเครื่องดื่มดับความหิวระหว่างวันบ้างนิยมแช่เมล็ดเชียพร้อมข้าวโอ๊ต โยเกิร์ต หรือนมถั่วเหลืองข้ามคืน แล้วกินพร้อมผลไม้สดหลายชนิดเป็นอาหารเช้า

ใย อาหารปริมาณสูงในเมล็ดเชีย ช่วยชะลอการย่อยและดูดซึมน้ำตาลมีผลชะลอระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้อิ่มนาน ส่งผลให้กินขนมจุบจิบ และอาหารในมื้อหลักลดลง น้ำหนักจึงลดลงตาม

หนังสือ Super Seedsระบุ ว่า เมล็ดเชียอุดมไปด้วย สารอาหารที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส ทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง (A High – quality Source) เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด

เมล็ดเชีย1ช้อนโต๊ะ มีโปรตีน 4 กรัม ซึ่งมีปริมาณโปรตีนใกล้เคียงกับเนื้อปลา1 ช้อนโต๊ะ แต่มีโปรตีนมากกว่าข้าวขัดขาวมาก เราต้องกินข้าวขัดขาวถึง 2 ทัพพี จึงจะได้ปริมาณโปรตีนเท่ากัน

เมล็ดเชียสามารถดูดซับน้ำได้ถึง 9 เท่าของน้ำหนักแห้ง ก่อนกินจึงควรแช่น้ำอย่างน้อย 10 นาที เพื่อให้เมล็ดเชียดูดน้ำและพองตัวเต็มที่ หรือดื่มน้ำตามหลังกิน มิฉะนั้นอาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารและทำให้ท้องผูกได้

เมล็ดเชีย ข้าวโอ๊ต อาหารเช้าข้ามคืน

ส่วนผสม(สำหรับ 2 ที่)

  • เมล็ดเชีย                                                   2 ช้อนโต๊ะ
  • ข้าวโอ๊ต (Old Fashioned Rolled Oats)  1/3 ถ้วย
  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ                                   1/4 ถ้วย
  • นมอัลมอนด์ หรือ นมถั่วเหลือง                  1/2 ถ้วย
  • ผลไม้สดตามชอบ เช่น สตอว์เบอร์รี่ แอ๊ปเปิ้ล   1/4 ถ้วย

วิธีทำ

ใส่ส่วนผสมทุกอย่าง (ยกเว้นผลไม้สด) ล’ในขวดโหลหรือแก้วที่มีฝาปิด คนให้เข้ากันหั่นผลไม้สด ขนาดพอดีคำ วางด้านบนส่วนผสม แล้วปิดฝาให้สนิทนำไปแช่ช่องธรรมดาในตู้เย็น ทิ้งไว้ 1 คืน กินเป็นอาหารเช้าแสนอร่อย

หน้าถัดไป อ่านเรื่องเมล็ด “คีนัว” เมล็ดพืชเพื่อสุขภาพที่กำลังฮิต รู้ไว้ไม่ตกยุค! ค่าาา

คีนัว…สุดยอดไขมันดี

คีนัว (Quinoa)มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ คล้ายกับธัญพืชทั่ว ๆ ไป พบมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น โบลีเวีย เปรู เอกวาดอร์

Czech Journal of Food Science ซึ่ง เป็นวารสารวิชาการทางการเกษตร ให้ข้อมูลว่าคีนัวมีส่วนประกอบหลักคือคาร์โบไฮเดรต ปริมาณ 67 – 74 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งมีโปรตีน 8 – 22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดว่ามีปริมาณโปรตีนสูงกว่าธัญพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ส่วนไขมันมี 2 – 10 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ คีนัวยังอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น(Essential Fatty Acids) ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ เช่น กรดไขมันไลโนเลนิก (Linolenic Acid) และ กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) ที่รู้จักในชื่อว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 อีกด้วย

คีนัวยังเป็นแหล่ง สำคัญของวิตามินและเกลือแร่ โดยมีวิตามินบี 2 และ วิตามินอีสูงกว่าข้าวสาลีและข้าวบาร์เล่ย์ มีใยอาหารเหนือกว่า ข้าวบาร์เล่ย ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด และข้าวสาลีทั้งยังมีแคลเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และสังกะสี สูงกว่าธัญพืชทั่วไป

องค์การอาหารและเกษตร (Food and Agriculture Organization) ประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า คีนัว เป็นแหล่งพลังงานที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณสูง

เรา สามารถหุงคีนัวเหมือนข้าวสารโดยใช้อัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน(คีนัว 1 ส่วน : น้ำ 2 ส่วน Quinoaใช้เวลาหุง15 – 20 นาที) สามารถกินแทนข้าว หรือหุงร่วมกับข้าวและธัญพืชชนิดอื่น ๆ

ใครจะทำข้าวผัด ข้าวอบข้าวต้ม ข้าวตุ๋นคีนัว ก็อร่อยไปอีกแบบหรือจะนึกสนุกแช่คีนัวสุกในนมถั่วเหลืองข้ามคืนกินเป็นมื้อ เช้า นำคีนัวมาทำซูซิ หรือใช้แป้งคีนัวมาทำขนมอบก็ทำให้ได้ขนมที่มีรสชาติแปลกใหม่และมาพร้อมคุณ ค่าทางโภชนาการสูง

สำหรับแป้งคีนัว หลายคนมีความเห็นว่ามีกลิ่นเหมือนหญ้า หากใครไม่ชอบกลิ่นนี้ ก่อนใช้ทำขนมหรืออาหาร แนะนำให้อบแป้งโดยโรยแป้งบนแผ่นรองอบ (Baking Sheet) อบที่อุณหภูมิ 225 องศาฟาเรนไฮต์ นานประมาณ 1 ชั่วโมงก็จะช่วยให้กลิ่นหายไปได้

ข้าวผัดคีนัวปลาแซลมอน

ส่วนผสม(สำหรับ 2 ที่)

  • คีนัวหุงสุก                                 2 ถ้วย
  • เนื้อปลาแซลมอนหั่นลูกเต๋า  1/2 ถ้วย
  • กระเทียมสับ                              2 ช้อนโต๊ะ
  • หอมหัวใหญ่สับ                         4 ช้อนโต๊ะ
  • แครอตหั่นลูกเต๋า                   1/4 ถ้วย
  • ถั่วลันเตาหั่นชิ้น                     1/4 ถ้วย
  • ต้นหอมสับ                            1/4 ถ้วย
  • น้ำมันรำข้าว                              2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทรายไม่ขัดขาว              1 ช้อนชา
  • ซอสปรุงรส                            1/2 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ๊วขาว                                     1 ช้อนชา
  • เกลือและพริกไทยปริมาณเล็กน้อย

วิธีทำ

ใส่น้ำมันลงในกระทะ เมื่อน้ำมันร้อน ใส่เนื้อปลาแซลมอน ผัดจนสุก ตักขึ้น พักไว้เทหอมหัวใหญ่ลงในกระทะ ผัดจนเนื้อใส แล้วใส่กระเทียม แครอตและถั่วลันเตาปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวใส่คีนัวคลุกเคล้าให้เข้ากันปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายแดง เกลือ พริกไทย และซอสปรุงรส ชิมรสตามชอบใส่ปลาแซลมอนที่ผัดไว้แล้ว ต้นหอมสับ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ

“เเฟล็กซีด” เป็นอีกเมล็ดพืชเพื่อสุขภาพที่อินเทรนด์ ไม่พูดถึงคงไม่ได้
ตามอ่าน หน้าถัดไป นะคะ

แฟล็กซีด…ลดคอเลสเตอรอลเยี่ยม

แฟล็กซีด (Flax seed) มีลักษณะคล้ายเมล็ดงาแต่มีขนาดใหญ่กว่า สีน้ำตาล หนังสือ ถั่วและธัญพืชเมล็ดพันธุ์แห่งสุขภาพ ให้ข้อมูลว่า แฟล็กซีดปริมาณ 100 กรัมให้พลังงาน 534 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 28.9 กรัม โปรตีน 18.3กรัม ไขมัน 42.2 กรัม ใยอาหาร 27.3 กรัม มิลลิกรัม

อุดมด้วยวิตามินบี วิตามินเค โฟเลต โคลีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี ทองแดง แมงกานีส ซีลีเนียม และที่สำคัญมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงถึง 22,813 มิลลิกรัม และโอเมก้า 6 ถึง 5,911 มิลลิกรัม

หากเปรียบเทียบข้อมูลของสถาบัน โภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งพบว่าปลาทูน้ำหนัก 100 กรัม มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ปริมาณ220 มิลลิกรัม และโอเมก้า 6 ปริมาณ 60 มิลลิกรัมทำให้ทราบว่า แฟล็กซีดมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 มากกว่าปลาทูในน้ำหนักที่เท่ากัน

แม้ว่าแฟล็กซีดปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (10 กรัม) จะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เพียงพอต่อความต้องการใน 1 วัน แต่ The European Food Safety Authority (EFSA) แนะนำว่า ร่างควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 วันละ 2 กรัม และควรเลือกเชียร์, งาขี้ม่อน, คีนัว, เเฟล็กซ์, ธัญพืชแหล่งโอเมก้า 3 ให้หลากหลาย กินหมุนเวียนกันไป เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารชนิดอื่น ๆ อย่างครบถ้วน เช่น ปลาทะเล ถั่วเปลือกแข็งชนิดต่าง ๆ

ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 มีผลช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลร้าย ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ดังรายงานจาก The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism ที่ ระบุว่า หลังให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนกินแฟล็กซีดร่วมกับมื้ออาหาร วันละ 4 ช้อนโต๊ะ (40 กรัม) นาน 3 เดือน ผลปรากฏว่า ระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือดของอาสาสมัครลดลงถึง 6 เปอร์เซ็นต์ และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง 12.8 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้Journal of Nutritionตี พิมพ์ผลงานวิจัย ในเดือนเมษายน ค.ศ.2015 พบว่า แฟล็กซีด สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ หากกินแฟล็กซีดเต็มเมล็ด (Whole Flax Seeds) เสริมในมื้ออาหาร ต่อเนื่องนานอย่างน้อย12 สัปดาห์

สมูตตี้แฟล็กซีด สตอว์เบอร์รี่ กล้วย

ส่วนผสม(สำหรับ 3 ที่)

  • แฟล็กซีด                     2 ช้อนโต๊ะ
  • สตอว์เบอร์รี่แช่แข็ง  1/2 ถ้วย
  • กล้วย                        1/2 ผล
  • นมถั่วเหลือง           11/2 ถ้วย

วิธีทำ

ปั่นส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อครีม เทใส่แก้วพร้อมเสิร์ฟ

อ๊ะๆ ยังไม่หมด ยังเหลือ บัควีต งาขี้ม่อน และเม็ดแมงลัก ที่ล้วนคุณค่าสูง ช่วยคุณสุขภาพดีได้

อ่านต่อ หน้าถัดๆ ไป นะคะ

บัควีต…ตัวช่วยลดน้ำตาลในเลือด

บัควีต (buckwheat)เป็นเมล็ดขาดเล็ก สีน้ำตาลอมเทา หนังสือถั่วและธัญพืช เมล็ดพันธุ์แห่งสุขภาพให้ ข้อมูลว่า เมล็ดบัควีต100 กรัม ให้พลังงาน 343 กิโลแคลอรี มีคาร์โบไฮเดรต 71.5 กรัม โปรตีน 13.2 กรัม ไขมัน 3.4 กรัม ใยอาหาร10 กรัม มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เล็กน้อยคือ 78 และ 961 มิลลิกรัม

เมล็ดบัควีตจัดเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารสูง อุดมด้วยโพแทสเซียมและแมกนีเซียม มีคุณสมบัติเด่นในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

การศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน the Journal of Agricultural and Food Chemistry ระบุว่า เมล็ดบัควีตมีผลช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ดร. คาร์ จี. เทย์เลอร์ (Carla G. Taylor)หัว หน้านักวิจัยจากภาควิชาโภชนาการมนุษย์ มหาวิทยาลัยมานิโทบา (Department of Human Nutritional Sciences at the University of Manito)ประเทศแคนาดา มีความเห็นว่า เมล็ดบัควีตเป็นอาหารประเภทแป้งที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะมีความปลอดภัย มีคุณสมบัติช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานเมื่อกินในปริมาณที่เหมาะ สม

ปัจจุบันสามารถหาซื้อบัควีตได้ทั่วไป ในรูปเส้นบัควีต หรือเส้นโซบะ สามารถนเชียร์, งาขี้ม่อน, คีนัว, เเฟล็กซ์, ธัญพืชำมาทำอาหารจานเส้นได้หลากหลาย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้รักสุขภาพ

บัควีตผัดสารพัดสี

ส่วนผสม(สำหรับ 5 ที่)

  • เส้นโซบะ(ทำจากบัควีต)   1 ห่อ
  • หอมหัวใหญ่หั่นเต๋า            1 หัว
  • กระเทียมสับ                      1 หัว
  • แครอตหั่นเต๋าลวก            1 ถ้วย
  • ถั่วหวานหั่นขวางลวก     1/2ถ้วย
  • ข้าวโพดอ่อนหั่นยาวลวก  1/2 ถ้วย
  • เต้าหู้ดำหั่นชิ้นยาว   1 แผ่น
  • เห็ดหอมหั่นเส้น (แช่น้ำจนนิ่ม)  5 ดอก
  • น้ำมันรำข้าว  2 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ๊วญี่ปุ่น     3 ช้อนชา

วิธีทำ

ตั้ง น้ำให้เดือด ลวกเส้นโซบะหรือเส้นบัควีต พอสุกตักขึ้น คลุกน้ำมันรำข้าว1 ช้อนชา พักไว้ตั้ง กระทะ เทน้ำมันลงไป ผัดหอมหัวใหญ่กับน้ำมันรำข้าว จนเนื้อใสใส่กระเทียม เห็ดหอม เต้าหู้ดำ ถั่วหวาน ข้าวโพดอ่อนและแครอท ผัดให้เข้ากันใส่เส้นโซบะที่เตรียมไว้ลงไปผัด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วญี่ปุ่น

จากนี้เป็นคุณค่าอาหารสไตล์ไทย แต่มีสารอาหารสำคัญสูงติดอันดับเป็นที่รู้จักทั่วโลก
เริ่มด้วย งาขี้ม่อน อ่านได้ที่ หน้าถัดไป ค่ะ

งาขี้ม้อน…ช่วยบำรุงสมอง

งาขี้ม้อนเมล็ดคล้ายข้าวฟ่าง ขนาดเล็กกว่างาดำ มีกลิ่นหอมมีชื่อแตกต่างตามไปตามแต่ละท้องถิ่นเช่นงาขี้ม้อนงาพื้นเมืองงาหอมงาดอยงาม่อน

 เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ให้ข้อมูลในหนังสือสมุนไพรลดไขมัน 140 ชนิดว่า เมล็ดงาขี้ม้อนมีสรรพคุณชูกำลัง ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องผูก แถมช่วยลดไขมันในเลือดอีกด้วย วิธีกินเพื่อสุขภาพที่ง่ายที่สุด คือชง กับน้ำสะอาด 1 แก้ว ดื่ม วันละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น

ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะนำว่าเมล็ดงาขี้ม้อน 100 กรัมประกอบด้วยโปรตีน 15.7 กรัมไขมัน 26.3 กรัมคาร์โบไฮเดรต 37 กรัมมีแคลเซียมสูงถึง 350 มิลลิกรัมฟอสฟอรัส 33 มิลลิกรัมทั้งยังอุดมด้วยวิตามินและสารแอนติออกซิแดนต์หลายชนิดเช่น กรดโรสมารินิก (Rosmarinic Acid) และสารลูทีโอลิน (Luteolin) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้

โดยมีรายงานวิจัยจาก วารสาร Food Science and Technology (Campinas)ระบุว่า เมล็ดงาขี้ม้อน มีประสิทธิภาพในเชียร์, งาขี้ม่อน, คีนัว, เเฟล็กซ์, ธัญพืชการต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าเมล็ดเชียแลแฟล็กซีด แถมยังมีโปรตีนและไขมันดีสูงกว่าอีกด้วย

สามารถ นำเมล็ดงาขี้ม้อนมาสกัดน้ำมันเพื่อสุขภาพ เพราะมีไขมันดีสูง โดยอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิดได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ กรดไขมันโอเมก้า 6 22 เปอร์เซ็นต์น้ำมันงาขี้ม้อนได้รับการยอมรับว่ามีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จึงช่วยบำรุงสมอง และป้องกันโรคต่าง ๆ เช่นเดียวกับ น้ำมันลินินและน้ำมันปลา

กินสดหรือปรุงสุกก็ให้คุณค่าทางอาหารสูง โดยชาวพื้นเมืองในภาคเหนือนิยมโขลกเมล็ดงาขี้ม้อนกับเกลือกินคลุกกับข้าว เหนียวหรือนำเมล็ดใส่ในขนมเทียนหรือข้าวหลาม ปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงนำเมล็ดงาขี้ม้อนมาทำอาหารหลากหลายทั้ง คุกกี้ ขนมปังธัญพืช หรือใช้แทนงาดำ

บัวลอยน้ำขิง ไส้งาขี้ม้อน

ส่วนผสม (สำหรับ 3 ที่)

  • แป้งข้าวเหนียวกล้อง  1/2 ถ้วยตวง
  • แป้งข้าวเจ้ากล้อง       1ช้อนโต๊ะ
  • งาขี้ม้อนคั่วบด           80กรัม
  • น้ำตาลปี๊บ                  80 กรัม
  • ขิงแก่หั่นแว่น             40 กรัม
  • น้ำตาลทรายแดง       70 กรัม
  • เกลือป่น                   1/2 ช้อนชา
  • น้ำสะอาด(สำหรับทำน้ำขิง)  3 ถ้วยตวง
  • น้ำสะอาดเล็กน้อย(สำหรับผัดไส้)
  • น้ำอุ่นเล็กน้อย(สำหรับนวดแป้ง)
  • น้ำสำหรับต้มแป้ง

วิธีทำ

  1. เคี่ยว งาขี้ม้อนกับน้ำตาลปี๊บด้วยไฟอ่อน จนน้ำตาลละลาย เติมน้ำเล็กน้อย พอเหนียว ปิดไฟ ตักใส่ชาม พักไว้ให้เย็น แล้วปั้นเป็นก้อนกลมพอดีคำ
  2. ผสมแป้งข้าวเหนียวกล้องและแป้งข้าวเจ้ากล้องเข้าด้วยกัน เติมน้ำอุ่นทีละน้อย นวดจนแป้งเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ติดมือ ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่กว่าไส้เล็กน้อย
  3. กด ก้อนแป้งลงบนโต๊ะ แล้วใช้มือเกลี่ยแป้งให้เป็นแผ่นหนาสม่ำเสมอกัน วางไส้งาดำตรงกลาง ห่อไส้จนมิด จากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือดจนแป้งลอยขึ้น แสดงว่าแป้งสุก จึงตักขึ้นแล้วใส่ลงในน้ำเย็น
  4. ทำน้ำขิงโดย ต้มน้ำให้เดือด ใส่ขิงแก่ น้ำตาลทรายแดง และเกลือป่นลงไป รอให้เดือดทิ้งไว้ 10 นาที ยิ่งต้มนานรสชาติน้ำขิงยิ่งเข้มข้น
  5. ตักบัวลอยงาขี้ม้อนใส่ถ้วย เติมน้ำขิง พร้อมเสิร์ฟ

สุดท้าย เราไปเก็บสูตรอร่อยติดปลายลิ้น อย่าง “ชาเขียวเม็ดเเมงลัก” ได้สุขภาพดี ต้านอนุมูลอิสระ แถมยังช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย

หน้าถัดไป ค่ะ

เม็ดแมงลัก…เพื่อการลดน้ำหนักเพื่อนช้าง                

เม็ด แมงลักมีประโยชน์คล้ายกับเมล็ดเชีย เพราะมีใยอาหารละลายน้ำสูงเช่นกัน ก่อนกินจึงควรแช่น้ำให้เมล็ดพองเต็มที่ แต่มีความต่างที่สังเกตง่ายคือ เม็ดแมงลักมีสีดำสนิทต่างจากเมล็ดเชียที่มีสีน้ำตาลปนเทา เมื่อแช่น้ำเม็ดแมงลักจะพองตัวออก ลักษณะเป็นเมือกสีขาวขุ่น ส่วนเมล็ดเชีย มีลักษณะเป็นเมือกใส

ภูมิปัญญาไทยใช้ประโยชน์จากเม็ดแมงลักเป็นยา ระบายแก้อาการท้องผูกมาช้านาน เพียงใช้เม็ดแมงลัก1 ช้อนชา เทใส่ลงไปในน้ำ 1 แก้ว แช่ทิ้งไว้จนเมล็ดพองตัวเต็มที่ ดื่มส่วนผสมนี้แล้วดื่มน้ำตาม จะช่วยให้ขับถ่ายคล่อง หรือหากดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงและดื่มน้ำตาม จะช่วยลดความอยากอาหารและลดน้ำหนักได้เชียร์, งาขี้ม่อน, คีนัว, เเฟล็กซ์, ธัญพืช

ปัจจุบันมีการวิจัยเรื่องเม็ด แมงลักช่วยลดน้ำหนัก โดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาผลการลดน้ำหนักและระดับไขมันในเลือดเมื่อดื่มเม็ดแมงลักแช่น้ำแทนอาหาร มื้อเย็น ติดต่อกันนาน 1 เดือน

นักวิจัยให้ อาสาสมัครร่างตุ้ยนุ้ย 12 คน อายุเฉลี่ย 44 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัว ดื่มเม็ดแมงลักแช่น้ำแทนอาหารมื้อเย็น โดยผสมเม็ดแมงลัก 2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำสะอาดครึ่งแก้ว ทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้พองตัว จากนั้นดื่มน้ำตาม 4 – 5 แก้ว พร้อมแนะนำให้กินอาหารมื้อเช้าและกลางวันตามปกติ

เพียง 1 เดือน ผลปรากฏว่า อาสาสมัครมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยลดลง 4 กิโลกรัม แถมระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL Cholesterol)ซึ่งเป็นไขมันชนิดดีซึ่งทำหน้าที่พาคอเลสเตอรอลร้ายไปกำจัดที่ ตับ ยังเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ปริมาณของเม็ดแมงลักที่ใช้จะขึ้น อยู่กับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เพราะ พบว่าหลังดื่มน้ำผสมเม็ดแมงลัก2 ช้อนโต๊ะ อาสาสมัคร 2 รายเกิดอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง ทำให้จำเป็นต้องลดปริมาณลงเหลือ 1 ช้อนโต๊ะครึ่ง นอกจากนี้ไม่พบอาการอื่น ๆ เช่น ปวดท้องหรือท้องเสีย

นอกจากช่วยลดน้ำหนัก Journal of The Medical association of Thailand รายงาน การกินเม็ดแมงลักร่วมกับอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ มื้อละ 12 กรัมว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)ลดลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์

นมถั่วเหลืองชาเขียว เม็ดแมงลัก

ส่วนผสม(สำหรับ 5 ที่)

  • เม็ดแมงลัก        1 ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วเหลืองซีก       1 ถ้วย
  • น้ำสะอาด          5 ถ้วย
  • ใบเตยหั่นชิ้น      1/4 ถ้วย
  • ผงชาเขียว          4 ช้อนชา

วิธีทำ

ล้าง ถั่วเหลืองให้สะอาด จากนั้นแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้า ล้างถั่วเหลืองด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จากนั้นเทใส่กระชอน ทิ้งให้สะเด็ดน้ำปั่นถั่วเหลือง ใบเตย ผงชาเขียว และน้ำสะอาด รวมกันให้ละเอียด กรอง นมถั่วเหลืองที่ปั่นได้ด้วยกระชอนตาถี่ หรือผ้าขาวบางเอาเฉพาะนำ เทใส่หม้อ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเดือด ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นปิดไฟล้างเม็ดแมงลัก แช่ในน้ำสะอาดประมาณ 10 นาที เมื่อพองตัวเต็มที่ ช้อนเฉพาะเนื้อใส่นมถั่วเหลืองชาเขียว น้ำเต้าหู้ ใส่น้ำตาลไม่ขัดขาวตามชอบ (เน้นหวานน้อยเพื่อสุขภาพ)

 “ชีวจิต” กินเมล็ดพืชเหล่านี้อย่างไร เราบอกคุณพร้อมคำแนะนำการกินที่ถูกวิธี
หน้าถัดไป ค่ะ                                

ชีวจิต Recommened วิถีกินเมล็ดพืชและธัญพืชทั่วโลก

ลดป่วยมะเร็ง

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต ได้แนะนำ ประโยชน์ของการกินอาหารท้องถิ่นไว้ในหนังสือ ชีวจิต สำนักพิมพ์คลินิกบ้านและสวนว่า

ผู้คนที่กินอาหารในท้องถิ่นซึ่งเป็นอาหารจากเมล็ดข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น คนสหรัฐอเมริกากลางกินข้าวโพดและถั่วเป็นอาหารหลัก คนตะวันอเชียร์, งาขี้ม่อน, คีนัว, เเฟล็กซ์, ธัญพืชอกลางกินข้าวสาลีทั้งเมล็ดและข้าวบาร์เลย์ หรือขนมปังข้าวสาลีอย่างหยาบและถั่วเขียว

คนเอเชียมีข้าวเจ้า ข้าวฟ่างเป็นของโปรด คนยุโรปมีอาหารหลักคือ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ตและข้าวไรย์ เช่นเดียวกับบัควีตที่เป็นอาหารหลักของชาวรัสเซียและเอเชียกลาง ส่วนคนแอฟริกากินข้าวฟ่าง ชาวพื้นเมืองที่บริโภคอาหารหลักพวกนี้มีอัตราการเป็นมะเร็งน้อยมาก

แม้ มีสุดยอดเมล็ดพืชคุณค่าสูงอยู่ในมือ แต่เราก็ควรกินอาหารให้หลากหลายครบทั้งผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนอย่างแท้จริง

ข้อมูลเรื่อง “6 สุดยอดเมล็ดพืช กินด่วน! สุขภาพเเข็งแรงกว่าใคร” ในคอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ …

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.