อิติปิโสถอยหลัง

“อิติปิโสถอยหลัง” คำบริกรรมช่วยเร่งให้จิตสงบ

จังหวะที่ 3 บริกรรมช้า

บริกรรมแต่ละอักขระอย่างช้าเนิบนาบ กล่าวคำบริกรรมแต่ละอักขระเสร็จ วางจิตให้ว่าง ๆ ทำความรู้สึกให้สบาย ๆ ดูลมหายใจเข้า-ออกอย่างเบา ๆ

หากไม่มีความคิดใด ๆ แทรกซ้อนเข้ามา ไม่ต้องบริกรรมอักขระอะไรต่อไปอีก ทำจิตให้ว่าง ๆ ด้วยการดูลมหายใจเข้า-ออกธรรมดา ๆ เท่านั้น จิตจะสงบไปตามลำดับเอง

แต่พลันที่ความคิดแทรกเข้ามา ควรรีบบริกรรมอักขระต่อไปทันที แล้วทรงจิตในความว่าง พร้อมกับดูลมหายใจเข้า-ออกอย่างที่พูดมา

เช่น กล่าวคำว่า “ติ” แล้วทรงจิตให้ว่าง ดูลมหายใจเข้า-ออกตามปกติ หากไม่มีความคิดใด ๆ แทรกเข้ามา ก็ทรงจิตให้ว่างอยู่อย่างนั้น จิตจะสงบไปเอง แต่พลันที่รู้สึกว่าความคิดแทรกเข้ามา ให้รีบกล่าวอักขระต่อไป ทำอย่างที่ว่าจนกระทั่งจิตสงบได้ที่ แล้วเลื่อนไปขั้นพักจิต

แต่หากจิตยังไม่สงบนิ่งอีก แสดงว่าสติปัญญายังไม่มีกำลังพอ ควรฝึกจังหวะต่อไป

จังหวะที่ 4 บริกรรมกับสร้างมโนภาพ

บริกรรมหนึ่งอักขระต่อลมหายใจหนึ่งครั้ง พร้อมนึกให้เห็นภาพอักขระแต่ละตัวอย่างเด่นชัด เช่น หายใจเข้าภาวนาว่า “ติ” นึกให้เห็นตอ เต่า สระอิ หายใจออกภาวนาว่า “วา” นึกให้เห็นวอ แหวน สระอา ฯลฯ

ภาวนาอย่างนี้ไปจนจบ จิตสงบได้ที่ที่อักขระใด เลื่อนไปขั้นพักจิตทันที หากจิตยังไม่สงบอีกควรฝึกจังหวะสุดท้าย

 

อิติปิโสถอยหลัง

 

จังหวะที่ 5 บริกรรมกลับหน้า-หลัง

บริกรรมเดินหน้า-ถอยหลังสลับกันเป็นคู่ ๆ หนึ่งอักขระต่อหนึ่งลมหายใจ เช่น หายใจเข้าภาวนาว่า “ติ” หายใจออกภาวนาว่า “วา” หายใจเข้าอีกภาวนาถอยหลังว่า “วา” หายใจออกภาวนาว่า “ติ” ฯลฯ

บริกรรมจังหวะนี้ไม่จำเป็นต้องบริกรรมจนจบรอบ จะรู้สึกยุ่งยากเกินไป จิตจะสับสนไม่เป็นสมาธิ ควรบริกรรมเพียงแค่บันทัดเดียววนไปเวียนมาอยู่อย่างนั้นจนจิตสงบได้ที่ แล้วเลื่อนไปขั้นพักจิต

 

ขั้นที่ 3 พักจิต

พลันที่จิตสงบได้ที่ในจังหวะใดจังหวะหนึ่ง ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ดับไปทั้งหมด ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องบริกรรมอะไรอีก ปล่อยคำบริกรรมทิ้งให้หมด เพียงแค่ทรงจิตให้ว่าง ๆ พร้อมกับดูลมหายใจเข้า-ออกเท่านั้น จิตกับลมก็จะกลายเป็นอันเดียวกันอย่างอัตโนมัติ ก้าวเข้าไปสู่ความสงบที่ละเอียดลึกซึ้งไปตามลำดับ

อิติปิโสถอยหลังเป็นวิธีเร่งจิตให้สงบอย่างมีประสิทธิภาพมาก ตัดกระแสอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในได้ไว สติปัญญาเพิ่มกำลังขึ้นอย่างรวดเร็ว เดินจิตเข้าสู่ขั้นเพลินกับลมได้ง่าย ผู้ปฏิบัติควรทดลองดู

ไม่ลองแล้วจะรู้ได้อย่างไร

 

ที่มา  อานาปานสติ…ลึกแต่ไม่ลับ โดย ส.ชิโนรส สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ

Image by pop picnic from Pixabay

Image by truthseeker08 from Pixabay

Secret Magazine (Thailand)

IG @Secretmagazine


บทความน่าสนใจ

“อานาปานสติ” กรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.