เปิดตํานาน “ พระเจ้าตนหลวง ” พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา
พระเจ้าตนหลวง มหัศจรรย์แห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา คติความเชื่อผ่านพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งล้านนา
0
การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในดินแดนไทยนั้น เริ่มปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในสมัยทวาราวดี
(ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19) โดยมีทั้งพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปนอน และพระพุทธรูปยืน
0
กาลล่วงมาจนถึงสมัยสุโขทัย ความนิยมดังกล่าวยังคงไม่จางหาย ขณะเดียวกันก็มีกระแสความเชื่อจากลังกา (ศรีลังกา) แทรกเข้ามาว่าเหตุที่ต้องสร้างพระพุทธรูปให้มีขนาดใหญ่เกินมนุษย์นั้นก็เพื่อแทนความหมายเรื่องโลกุตระ (ผู้อยู่เหนือโลก) เทียบเท่ากับการแสดงความยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ
0
แต่ดินแดนร่วมสมัยอย่าง “ล้านนาประเทศ” ทางตอนเหนือก็ปรากฏความนิยมดังกล่าวอยู่เช่นกัน
ที่โดดเด่นคงความสําคัญมายาวนาน หลายร้อยปีก็คือ พระเจ้าตนหลวง ณ วัดศรีโคมคํา ตําบลเวียง อําเภอเมืองฯ จังหวัดพะเยา พระพุทธรูปซึ่งได้ชื่อว่า “มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา”
0
0
ตํานานพระเจ้าตนหลวง
0
ความสังเขปเรื่อง ตํานานพระเจ้าตนหลวง ฉบับปริวรรต โดยพระธรรมวิมลโมลี มีอยู่ว่า สมัยพุทธกาล
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองภูกามยาว (พะเยา) และได้ประทับอยู่บนดอยลูกหนึ่งไม่ไกลจากสระหนองเอี้ยง (กว๊านพะเยา) นัก หลังฉันภัตตาหารเสร็จ พระอานนท์ได้ถือบาตรเดินตรงมาที่สระหมายจะตักน้ํากลับไปถวายพระพุทธองค์ แต่พญานาคชื่อ ธุมะสขี กลับขัดขวางเพื่อไม่ให้ตักน้ํา
0
เมื่อทราบความองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปโปรดพญานาค พร้อมกับเนรมิตพระวรกายให้มีความสูงถึง 32 ศอก เทียบเท่าพระวรกายพระกกุสันธะ อดีตพระพุทธเจ้าที่เคยเสด็จมาประทับ ณ ริมน้ํานี้ในกาลก่อน เมื่อเห็นดังนั้น พญานาคก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาและน้อมถวายน้ําในสระแด่พระพุทธองค์แต่โดยดี
0
จากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีรับสั่งกับพญานาคถึงการวางรากฐานพระพุทธศาสนา ต่อไปภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน โดยโปรดให้พญานาคสร้างพระพุทธรูปให้มีขนาดใหญ่เท่าพระวรกายพระกกุสันธะขึ้น ณ บริเวณสระน้ําแห่งนี้
0
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 2,030 ปีล่วงแล้ว พญานาคจึงจําแลงกายเป็นมนุษย์เพื่อนําทองคําจํานวนมหาศาลมาให้สามี-ภรรยาคู่หนึ่งใช้เป็น “ทุน” ในการจัดสร้างพระพุทธรูปตามรับสั่งพระพุทธองค์ทุกประการ
0
ก่อสร้างดําเนินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2034 เริ่มด้วยการถมสระให้เต็ม จากนั้นจึงเริ่มสร้างพระพุทธรูปจนแล้วเสร็จในอีก 33 ปีต่อมา (พ.ศ. 2067) พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชทานนามว่า “พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะยาว” และโปรดฯให้จัดงานฉลองสมโภชขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2069
0
อุโบสถกลางน้ํา
0
อุโบสถหลังใหม่นี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นอุโบสถกลางน้ําที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยผสมผสานความเป็นพื้นถิ่นล้านนาได้อย่างลงตัว ภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้านโดยเฉพาะภาพต้นโพธิ์ด้านหลังพระพุทธรูปประธาน และลวดลายกรวยเชิงที่ประดับรอบผนังด้านใน (ยกเว้นภาพทศชาติชาดก) เป็นผลงานของอังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจํา พ.ศ. 2532
0
วิหารพระพุทธบาทคู่
0
รอยพระพุทธบาทคู่นี้เป็นแบบรอยประดิษฐ์สร้างขึ้นในลักษณะวางราบเสมอกันพอดี โดยเว้นระยะห่างระหว่างกันเล็กน้อย รอยพระพุทธบาททั้งสองข้างมีความกว้าง 0.56 เมตร ยาว 1.32 เมตร ภายในมีลวดลายมงคลได้แก่ มหาปุริสสลักษณะ 32 ประการ และ อนุพยัญชนะ 80 ประการ (เป็นการบรรยายพุทธลักษณะ) โดยครบถ้วน
0
สายลวดลายทั้งหมดมีความงดงามเช่นเดียวกับศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะภาพหมู่เทวดาที่มีรูปร่างหน้าตา เครื่องทรงต่างๆ การแสดงกิริยาท่าที ไม่ต่างจากชุดภาพชาดกที่ค้นพบจากอุโมงค์วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัยเลย
0ฃ
หอวัฒนธรรมนิทัศน์
0
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคํา ตั้งอยู่ไม่ห่างจากอุโบสถกลางน้ํานัก เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดการเยี่ยมชมด้วยประการทั้งปวง หากมีโอกาสได้มาเยี่ยมเยือนเมืองพะเยา
0
วัฒนธรรมนิทัศน์เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของพระธรรมวิมลโมลี หรือหลวงพ่อใหญ่ เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคําที่ต้องการจัดแสดงประวัติการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวงและวัดศรีโคมคําอย่างละเอียด พร้อมกันนี้ยังต้องการจัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในจังหวัดพะเยาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์เป็นต้นมา ตลอดจนแสดงเรื่องราววิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวพะเยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ลูกหลานชาวพะเยาได้ภูมิใจกับถิ่นกําเนิด ขณะเดียวกันก็สร้างความรู้ความเข้าใจอันดีแก่แขกเมืองที่มีโอกาสมาเยือนเมืองพะเยา
0
มาศึกษาทําความรู้จักจังหวัดพะเยาให้ครบทุกมุมที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคํา ก่อนจะออกเดินทางต่อแล้วคุณจะรู้ว่าพะเยา ไม่ได้มีชื่อหรือน่าชมเพียงแค่ “กว๊านพะเยา” เท่านั้น
0
คติความเชื่อเรื่องการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครให้คําตอบได้แน่ชัด แต่ที่สําคัญเหนือ สิ่งอื่นใด การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั้นคงไม่อาจสําเร็จได้เลย หากปราศจากแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
0
ประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง
0
ประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรืองานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวง เดือนแปดเป็ง เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดพะเยา จัดขึ้นในวันวิสาขบูชา หรือ วันแปดเป็ง (วันเพ็ญเดือนแปดเหนือ)ของทุกปี
0
นี้ชาวพะเยาเชื่อกันว่า วันแปดเป็งมีนัยสําคัญดังต่อไปนี้
– เป็นวันที่โยนหินก้อนแรกเพื่อเริ่มถมสระ
– เป็นวันเริ่มก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง
– เป็นวันที่สร้างพระเจ้าตนหลวงสําเร็จสมบูรณ์
– เป็นวันจัดงานสมโภชฉลองพระเจ้าตนหลวงเป็นครั้งแรก
0
ตำนานพระเจ้าตนหลวงกล่าวไว้ว่า หากผู้ใดนํา “ตุง” หรือ “ตานตุง” มาถวายพระเจ้าตนหลวง เมื่อตายไปวิญญาณจะได้เกาะเกี่ยวหางตุง รอดพ้นจากขุมนรก และได้ขึ้นสู่สวรรค์แทน
0
ที่มา : นิตยสาร Secret ปีที่ 3 ฉบับที่ 72 (26 มิ.ย. 54) หน้า 24-26 (ปี 2554)
คอลัมน์ : Dhamma Tour
ผู้เขียน/แต่ง : วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์
ภาพ : อนุพงศ์ เจริญมิตร
0
บทความน่าสนใจ