หน้าที่ต่อ อริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติ

หน้าที่ต่อ อริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติ

เราจะรู้ อริยสัจ 4 อย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้หน้าที่ต่ออริยสัจ และปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจให้สำเร็จด้วย การเรียนอริยสัจโดยไม่รู้ หน้าที่ต่ออริยสัจอาจจะทำให้เข้าใจสับสน

พระพุทธเจ้าตรัสกิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจ 4 ไว้ครบถ้วน แล้วแต่ละอย่างดังนี้

  1. หน้าที่ต่อทุกข์ คื อ“ปริญญา” แปลว่ากำหนดรู้รู้เท่าทัน จับตัวมันให้ได้
  2. หน้าที่ต่อสมุทัย คือ “ปหานะ” แปลว่า ละหรือกำจัด
  3. หน้าที่ต่อนิโรธ “สัจฉิกิริยา” แปลว่า ทำให้แจ้ง คือบรรลุถึงนั่นเอง
  4. หน้าที่ต่อมรรค เรียก “ภาวนา” แปลว่า บำเพ็ญ คือ ปฏิบัติ ลงมือทำ ทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น

 

 

1) ทุกข์… เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ทุกขัง ปริญเญยยัง” ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่เราต้องรู้เท่าทัน ภาษาพระ แปลกันว่า “กำหนดรู้” ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ปริญเญยยัง นี่เป็นคุณศัพท์ ถ้าใช้เป็นคำนามก็เป็นปริญญา ที่เราเอามาใช้เป็น ชื่อของการสำเร็จการศึกษา

ทุกข์…เรามีหน้าที่รู้จักมัน รู้ทันมัน เรียกว่า “ปริญญา” ทุกข์นั้นเป็นตัวปัญหา เป็นปรากฏการณ์ ท่านเปรียบเหมือนกับ “โรค”

ในทางร่างกายของเรานี่ เมื่อเรามีโรค เราก็จะแก้ไขบำบัด หรือกำจัดโรค แต่พอเอาเข้าจริงเรากำจัดโรคไม่ได้ แต่เราต้องเรียน รู้จักโรค เหมือนหมอจะแก้ไขโรคต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรค อะไร เป็นที่ไหนตรงไหน เพราะฉะนั้น นอกจากต้องรู้โรคแล้ว ต้องรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคด้วย

ทำนองเดียวกัน ในข้อทุกข์นี้จึงไม่ใช่เรียนเฉพาะปัญหา แต่เรียนชีวิตซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย หมายความว่าทุกข์คือ ปัญหาเกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตหรือเกิดในโลก เราต้องรู้จักโลก รู้จักชีวิต เหมือนกับแพทย์จะแก้ไขโรค เวลาเรียนเริ่มที่อะไร ก็ต้อง ไปเรียนตั้งแต่ anatomy (กายวิภาค) ต้องไปเรียน physiology (สรีรวิทยา) แทนที่จะเริ่มเรียนที่โรค ก็ไปเรียนที่ร่างกายซึ่งเป็น ที่ ตั้ งของโรค เช่ นเดี ยวกั บเราจะแก้ ไขทุ กข์ เราต้ องเรี ยนรู้ เข้าใจชี วิ ตตลอดถึงโลกที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ซึ่งในที่สุดปัญหาเกิดที่ชีวิต ถ้าเราไม่เข้าใจชีวิต เราก็แก้โรคของมันคือปัญหาหรือทุกข์ไม่ได้ เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกัน

ดังนั้น ในข้อทุกข์ความหมายจึงคลุมทั้งตัวปัญหาและสิ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของปัญหา โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์นี่เราจะต้องเข้าใจ คือปริญญาของมัน

 

 

2) พอรู้โรคว่าเป็นโรคอะไร จับได้แล้ว ก็ต้องสืบสาวหา สาเหตุของโรค สมุทัย ได้แก่ ตัวเชื้อโรคที่เราจะต้องกำจัด หรือ ความบกพร่องทำงานผิดปกติของร่างกายที่จะต้องปรับแก้ เวลา แก้ไขบำบัดโรคนี่ เราไม่ได้แก้ไม่ได้กำจัดที่ตัวโรคนะ เช่น เรา ไม่ได้ขจัดความปวดหัว เราต้องขจัดสาเหตุของความปวดหัว ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะแก้ได้แต่อาการ ยาจำนวนมากได้แค่ระงับอาการ ใช่ไหม เช่น ระงับอาการปวดหัว ตราบใดที่เรายังไม่ได้กำจัดสาเหตุ ของการปวดหัว เราก็แก้โรคปวดหัวไม่สำเร็จ

ฉะนั้น ในข้อที่หนึ่งนี้เราจึงเรียนรู้ทุกข์ เหมือนกับแพทย์ ที่วินิจฉัยโรคให้ได้ ต่อจากนั้นก็สืบสาวหาตัวสาเหตุของโรค ซึ่ง อาจจะเป็นเชื้อโรคหรือความบกพร่องของอวัยวะ ไม่ใช่เชื้อโรค อย่างเดียว

บางทีการเป็นโรคนั้นก็เกิดจากการกระทบกระทั่งกับสิ่งแวดล้อม ความบกพร่องของอวัยวะ หรือการทำงานวิปริต หรือความ แปรปรวนต่าง ๆ ซึ่งจะต้องจับให้ได้ เพราะเมื่อมีโรคก็ต้องมี สมุฏฐานหรือสมุทัย

สมุทัยนี้แหละเป็นตัวที่ต้องแก้ไขหรือกำจัด หน้าที่ต่อสมุทัย เรียกว่า “ปหานะ”

 

 

 

3) ต่อไปเมื่อจะกำจัดโรค เราต้องมีเป้าหมายว่าเราจะเอา อะไรและทำได้แค่ไหน จุดหมายอะไรที่เราต้องการ กำหนดให้ได้ อันนี้เรียกว่า นิโรธรู้ว่าเราต้องการอะไร และรู้ความเป็นไปได้ ในการแก้ไข คนที่ไม่มีความชัดเจนว่าเราต้องการอะไร มีความ เป็นไปได้อย่างไร ก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ

แพทย์ก็ต้องวางเป้าหมายเหมือนกันว่ามันเป็นไปได้แค่ไหน เราจะเอาอะไรเป็นเป้าหมายในการรักษานี้ แล้วก็ทำไปให้ได้ ให้บรรลุจุดหมายนั้น เรียกว่า “สัจฉิกิริยา” แปลว่า ทำให้ประจักษ์ แจ้ง ทำให้เป็นจริงขึ้นมา คือทำให้สำเร็จหรือบรรลุถึง

 

 

4) พอวางเป้าหมายเสร็จก็มาถึงขั้นลงมือปฏิบัติ จะผ่าตัดให้ยา และให้คนไข้ปฏิบัติตัวบริหารร่างกายอย่างไร วิธีการรักษา ทั้งหมดมาอยู่ในข้อ 1 คือมรรค เป็นขั้นที่ต้องลงมือทำ เรียกว่า “ภาวนา” ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มีรายละเอียดมากมาย

เพราะฉะนั้ นอริยสัจ 4 จึงเป็ นวิธีการทางวิทยาศาสตร์จะใช้ ในการสอนก็ได้ ในการรักษาโรคก็ได้ แพทย์ก็ใช้วิธีการนี้

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก


บทความน่าสนใจ

สมเด็จโตเทศน์เรื่อง 12 นักษัตรและอริยสัจ 4

ถอดรหัส สติปัฏฐาน4 จากคำสอนที่ครูบาอาจารย์ฝากไว้

ธงธง ม๊กจ๊ก ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม

ญาณ ๑๖ บันไดแห่งการบรรลุธรรม

รู้หรือไม่ 7 สัปดาห์ หลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงทำอะไร

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.