นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ผู้ให้กำเนิดการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน
ใกล้จะเข้าสู่เทศกาลเข้าพรรษาแล้ว เหล่าพุทธศาสนิกชนตระเตรียมจัดหา ผ้าอาบน้ำฝน ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา โดยมีเรื่องเล่ามาแต่ครั้งสมัยพุทธกาล
ผ้าอาบน้ำฝนคืออะไร
ผ้าผืนสีส้มที่เราคุ้นเคยกัน รู้จักกันในชื่อว่าผ้าอาบน้ำฝน และเห็นกันบ่อยครั้งช่วงเข้าพรรษา ที่ชาวพุทธนำถวายพระสงฆ์ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้องถวายสิ่งนี้ในช่วงเข้าพรรษา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อธิบายความหมายของผ้าอาบน้ำฝนไว้ว่า เป็นผ้าอธิษฐานที่พระภิกษุใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด 4 เดือนที่เป็นฤดูฝน ท่านพูดถึงในอดีตว่าพระภิกษุจะหาผ้าอาบน้ำฝนภายในระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 และใช้นุ่งในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ 1 ถึง 15 ค่ำ เดือน 8 ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนจะถวายเพื่อเป็นการทำบุญในเทศกาลเข้าพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ยังมีอีกชื่อว่า “วัสสิกสาฏิกา” หรือ “วัสสิกสาฏก”
ตำนานผ้าอาบน้ำฝนครั้งพุทธกาล
ความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนในช่วงเข้าพรรษา ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก เรื่องวิสาขาวัตถุ ว่าด้วยเรื่องนางวิสาขากราบทูลขอพร เรื่องฝนตกพร้อมกัน 4 ทวีป ว่า
ครั้งฝนตกหนักในทวีปทั้ง 4 พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลาย ” ตอนนี้ฝนตกหนักในพระเชตวันวิหารเช่นนี้ ในทวีปทั้ง 4 ก็ตกหนักไม่ต่างกัน พวกเธอทั้งหลายจงอาบน้ำด้วยน้ำฝนนี้เถิด ”
เหล่าพระภิกษุพากันอาบน้ำฝนที่กำลังตกลงมา ปลดจีวรไว้ในที่หนึ่ง นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ให้สาวใช้นำภัตตาหารมาถวายพุทธบุตรยังพระเชตวัน เมื่อสาวใช้มาถึงก็ร้องอุทานว่า “พุทธบุตรหายไปไหนหมด มีแต่อาชีวก (นักบวชชีเปลือย) อยู่เต็มไปหมด“ นางรีบกลับไปแจ้งนางวิสาขาผู้เป็นนายทันที
คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป >>>