วิธีอยู่ร่วมกับเจ้านายอย่างสันติ

วิธีอยู่ร่วมกับเจ้านายอย่างสันติ เคล็ด (ไม่) ลับ จาก ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

วิธีอยู่ร่วมกับเจ้านายอย่างสันติ เคล็ด (ไม่) ลับ จาก ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

องค์กรหนึ่งๆ จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจทั้งจากผู้เป็นเจ้านายและผู้ใต้บังคับบัญชา แต่จะทำอย่างไรให้ฟันเฟืองทั้งสองทำงานสอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมหาคำตอบได้ใน วิธีอยู่ร่วมกับเจ้านายอย่างไรให้สันติ

ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตมนุษย์เงินเดือนและอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ผันตัวเองมาเป็นที่ปรึกษาองค์กรชั้นนำทั่วประเทศ กล่าวถึงที่มาของความขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกน้องว่า

“การศึกษาสมัยใหม่ไม่ได้สอนให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากเท่าที่ควร ระบบการศึกษาเน้นเรื่องวิชาการแต่ไม่เน้นความเข้าใจชีวิต เมื่อเรียนจบ เด็กก็ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานทันทีโดยไม่มีการเตรียมพร้อมเรื่องการทำงานเป็นทีม ในขณะเดียวกัน ผู้ใหญ่ในองค์กรก็ไม่มีความสามารถในการสร้างทีม จนเกิดปัญหาในที่สุด

“ผมคิดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเจ้านายและลูกน้องไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ทั้งสองฝ่ายควรปรับตัวเข้าหากัน และในการทำงานร่วมกันเป็นทีม ทุกคนอาจต้องเสียสละประโยชน์ส่วนตนคนละเล็กคนละน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของทีม แล้วจะพบว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีมากกว่าการทำงานคนเดียวเสียอีก”

ทั้งนี้ ดร.วรภัทร์แนะแนวทางแก้ปัญหา โดยยกกรณีศึกษาจากระบบการทำงานของต่างชาติว่า

“บริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ในต่างประเทศบางแห่งไม่มีแผนภูมิองค์กรแล้ว เขาใช้แนวคิดการทำงานที่เรียกว่า Agileหรือระบบการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่ากระบวนการ บางแห่งให้บุคลากรผลัดกันเป็นหัวหน้า เพื่อลดอัตตาตัวตนและเพิ่มศักยภาพให้แก่คนในองค์กร เพราะในปัจจุบันการสร้างคนเราต้องรู้จักให้โอกาสเขา ให้เขาได้เป็นผู้ใหญ่”

ปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยยังใช้หลักจิตวิทยาอย่างโค้ช (Coach) ฟา (FA-Facilitator) และเมนทอร์(Mentor) ในการบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กรด้วย

“โค้ชทำหน้าที่เสมือนกระจกสะท้อนให้ผู้ที่ถูกโค้ชเห็นว่าแท้จริงแล้วตนเป็นคนอย่างไร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง โดยไม่ใช้การสั่งสอน เพราะการสอนได้ผลเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนฟาคือ ผู้ชำนาญกระบวนการเปลี่ยนแปลงสันดานคน โดยใช้เหตุการณ์จำลองหรือเหตุการณ์จริง และไม่ให้คนเหล่านั้นรู้ตัวว่าตนกำลังถูกดัดนิสัย

 

สุดท้ายคือเมนทอร์ หรือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เฒ่าเล่านิทานบอกเล่าเรื่องราวขององค์กรเพื่อรักษาวิถีขององค์กรเอาไว้

 

“แท้ที่จริงแล้วแนวคิดเหล่านี้ล้วนมาจากศาสนาพุทธทั้งสิ้น เพราะการโค้ชตนเองก็คือการปฏิบัติธรรม ในขณะที่พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นเสมือนฟา อันจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ตรัสให้นางกิสาโคตมีหาเมล็ดผักกาดจากเรือนที่ไม่เคยมีคนตาย กระทั่งนางเห็นธรรมและบรรลุเป็นพระโสดาบันนอกจากนั้นพระองค์ยังทรงเปรียบได้กับเมนทอร์ เนื่องจากพระองค์ตรัสสอนผู้อื่นผ่านพระสูตรหรือเรื่องเล่าต่าง ๆ”

นอกเหนือจากแนวทางเหล่านี้ ยังมีเคล็ด(ไม่) ลับสำหรับการทำงานเป็นทีมอีกมากมายรอคุณอยู่ในหนังสือ“วิธีอยู่ร่วมกับเจ้านายอย่างสันติ” 


เรื่อง อิศรา ราชตราชู ภาพ วรวุฒิ วิชาธร

Secret Magazine (Thailand)


บทความที่น่าสนใจ

แค่ทำตามกฎของชีวิต 5 ข้อนี้ได้ ความสุขก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

คู่หูดูโอ้ แดน บีม อวยพรชาว Secret พร้อมเผยเคล็ดลับความสุข

4 กิจกรรมสร้างความสุข ไม่ต้องพึ่งใคร ไม่อยากดูแก่ ต้องรีบ ขจัดความเครียด

ปณิธาน 10 ข้อ เปลี่ยนปีนี้ให้มีแต่ความสุข

5 เทคนิค วิธีรับมือเจ้านาย ที่เป็นฝันร้ายของลูกน้อง !

 

Posted in MIND
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.