ค่าจ้างเพิ่ม

ทำงานฟรีแลนซ์ควรตั้งราคาเท่าไหร่ดี ถ้าอยากได้ ค่าจ้างเพิ่ม ขึ้นให้เหมาะกับคุณภาพงาน

ทำงานฟรีแลนซ์ควรตั้งราคาเท่าไหร่ดี ถ้าอยากได้ ค่าจ้างเพิ่ม ขึ้นให้เหมาะกับคุณภาพงาน

การกำหนดราคา ไม่ว่าจะเป็นค่าสินค้า ค่าแรง ค่าตอบแทน ฯลฯ ของเรานั้น เป็นเรื่องหนักใจของใครหลายๆคน เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าตัวเรานั้นควรจะได้เงินสักเท่าไหร่ แค่ไหนจึงจะได้กำไรเพียงพอ เหมาะสมกับคุณภาพในการทำงาน แล้วถ้าเราอยากคิดราคาลูกค้าให้สูงขึ้น อยากได้ ค่าจ้างเพิ่ม ขึ้นล่ะ จะทำอย่างไรดี

 

สิ่งที่กำหนดยอดขายของฟรีแลนซ์คือ ราคาต่อหน่วย

ยอดขายจะคำนวณจากสูตร ดังนี้
ยอดขาย = ราคาต่อหน่วย x จำนวนชิ้นงาน
โดยขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการ กรณีที่ฟรีแลนซ์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนชิ้นงานได้ วิธีเพิ่มยอดขายจึงมีแต่การเพิ่ม “ราคาต่อหน่วย” เท่านั้น

 

1.ใส่ราคาต่อหน่วยให้สูงเข้าไว้

ห้ามดูถูกบริการที่เรานำเสนอเป็นอันขาด ควรตั้งราคาด้วยความมั่นใจ ตอนที่ยังทำงานสเกลเล็ก เรามักตั้งใจให้บริการเต็มที่ แต่คิดราคาต่ำแต่ในทางกลับกัน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี งานเริ่มมีสเกลใหญ่ขึ้น คุณภาพบริการตกลง ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เท่าเดิม แต่กลับคิดราคาสูงขึ้น จะยิ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่พึงพอใจ

วิธีการตั้งราคาที่ถูกต้อง คือ ควรตั้งราคาต่อหน่วยให้ดี ตั้งแต่วันที่ยังทำงานสเกลเล็ก หากเราวางแผนตั้งต้นด้วยราคาที่ดี เราก็ไม่จำเป็นต้องขวนขวายหางานปริมาณมากจนเกินกว่าที่จะสามารถทำได้

 

2. รู้จักวงการ หรือ ตลาด

เราจำเป็นต้องรู้จัก “ตลาด” ของเราให้ดีเสียก่อน เพื่อที่เราจะสามารถตั้งราคาได้อย่างเหมาะสม หากเราอยากเป็นอิสระจากราคาที่กำหนดโดย แล้วก็ค่อยนำเสนอ “ความแตกต่าง” และแสดง “จุดแข็ง” ออกมา เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดราคาตาที่ตัวเองต้องการได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสนใจตลาดอีกต่อไป

 

3. ทดลองใช้บริการเจ้าอื่นๆ

ก่อนที่จะตัดสินใจขึ้นราคาต่อหน่วยของตัวเราเอง ลองไปสัมผัสสินค้าและบริการระดับเดียวกันดูก่อน เพื่อที่เราจะได้ “รู้เขา รู้เรา รบสิบครั้ง ชนะสิบครั้ง” แล้วนำเสนอสิ่งที่เหนือกว่านั้นออกมาค่ะ

 

4. สร้างลิสต์รายการบอกราคา

หากเราระบุราคาของตัวเองเอาไว้ตั้งแต่แรก ลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา ก็จะเป็นลูกค้าที่พร้อมจ่าย และยอมรับคุณภาพและราคานี้ ถือเป็นวิธีการคัดกรองคนไปในตัว ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดว่า “เริ่มต้นที่ราคา XXX บาท” เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ไว้วางใจว่าราคาจะไปสิ้นสุดที่เท่าไหร่ การกำหนดราคาอย่างชัดเจน จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสบายใจกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าค่ะ

 

5. หากถูกต่อราคา ให้ลดปริมาณงานลง

หากเราถูกต่อราคา ให้ลองเสนองานที่มีปริมาณลดลงในสัดส่วนที่เหมาะสมกับราคานั้น พยายามมั่นคงในราคาต่อหน่วยของเราเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ “ว่างงานแต่ไม่ว่างเงิน” – Short Cut

 

บทความที่น่าสนใจ

MALA แบรนด์เสื้อผ้าสีหวาน กับ 6 keys สำคัญ ที่อยากเล่าให้คนที่เริ่มทำแบรนด์ฟัง

เคล็ดลับ วางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือน กับ ‘ดร.พี’ จากเพจ ‘มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่’

Posted in NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.