เหนื่อยใจ

เอาใจใส่คนอื่นและเรื่องรอบตัวมากเกินไป สุดท้ายเรานั่นแหละจะ “เหนื่อยใจ”

เอาใจใส่คนอื่นและเรื่องรอบตัวมากเกินไป สุดท้ายเรานั่นแหละจะ “เหนื่อยใจ”

เหนื่อยใจ

ไม่แปลกอะไรถ้าวันไหนเราจะรู้สึก “เหนื่อยใจ” ที่ต้องคอยห่วงแต่คนอื่น เอาใจใส่คนอื่นมากเกินไปจนลืมใส่ใจตัวเอง เพราะว่ามนุษย์นั้นอยู่ร่วมกันในสังคม เมื่อมีคนอื่นนอกเหนือจากเรามาอยู่ด้วยแล้วเราจึงต้องใช้ชีวิตไปพร้อมกับการตระหนักถึงคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเราด้วย และระดับการใส่ใจหรือการตระหนักถึงก็จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ อย่างเช่น เราอาจจะรู้สึกเกร็งเมื่อคุยกับหัวหน้า รู้สึกธรรมดาเมื่อคุยกับเพื่อนร่วมงาน

และยิ่งเป็นกรณีที่ต้องพบเจอหรือติดต่อกับคนที่ไม่รู้จัก เราก็มักจะเกร็งหรือกังวล ตื่นเต้น ใจเต้นรัว เหงื่อออกมือ การตอบสนองเช่นนี้เป็นสัญชาติญาณการป้องกันตัวเองของสิ่งมีชีวิต ไม่ต่างกันจากสัตว์ที่มักจะหวาดระแวงเมื่อเจอกับสิ่งที่ไม่รู้จัก และจะแสดงการข่มขวัญพร้อมสู้ภัยอันตรายที่จะเข้ามา

จึงเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่จะเกิดความเหนื่อยล้าจากการตั้งท่าเตรียมพร้อมเวลาที่ต้องพบกับใครบางคนที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับเรา หรือไม่ได้รู้จักกันมาก่อน

เหนื่อยใจ

ลองนึกถึงตอนที่เราโดยสารรถไฟฟ้าในช่วงเวลาเร่งด่วนและต้องยืนอยู่ใกล้ทางเข้า-ออก ทำให้เราต้องคอยระวังตัวอยู่เสมอ เพราะกลัวว่าจะขัดขวางคนอื่น และทำให้คนอื่นลำบาก อีกทั้งยังต้องใช้สมองและความใส่ใจเพิ่มมากขึ้นว่า ควรเดินออกนอกรถไปก่อน หรือ ไม่จำเป็นต้องออกจากรถ

เข้าใจดีว่า “ไม่มีใครอยากสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น” แต่การเอาใจใส่เรื่องต่างๆ และเอาใจใส่คนรอบตัวที่มากจนเกินไป อาจสร้างความเหนื่อย ความกังวล และความทุกข์ในจิตใจของคุณเอง จะดีกว่าไหมหากลดระดับความใส่ใจนั้นลงมาให้พอดี ไม่ต้องห่วงและไม่ต้องกังวลจนเกินไป

เหนื่อยใจ

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.