เรื่องเล่าความทุลักทุเลของการ สวดมนต์ วัดเมืองนอกที่ญาติโยมไม่เคยรู้
คนที่มาวัดป่าในวันสำคัญทางศาสนามักชื่นชมการ สวดมนต์ แปลเป็นอย่างยิ่ง เพราะเนื้อหาของบทสวดไพเราะและมีความหมายลึกซึ้ง ยิ่งเวลาที่คนจำนวนมากสวดอย่างพร้อมเพรียงกัน เสียงจะดังกระหึ่มฟังดูจับใจยิ่งนัก แต่ใครเลยจะรู้ว่า ในยามที่พระสวดกันเองไม่กี่รูปนั้นจะฟังดูทุลักทุเลเพียงใด
ครั้งหนึ่งเคยจำพรรษาในวัดที่มีพระเพียงห้ารูป แต่ละรูปมีเสียงต่างกันไปคนละคีย์ พระใหม่รูปหนึ่งเสียงสูงกว่าใคร แถมยังสวดเสียงดังด้วย คณะสวดมนต์จึงสับสนอลหม่านไม่รู้จะตามใครดีหลังจากที่ทนสวดได้ไม่ถึงสัปดาห์ ท่านอาจารย์ก็แก้ปัญหานี้ด้วยการให้ผลัดกันเป็นผู้นำคนละวัน
คราวนี้แต่ละคนได้ตระหนักว่าผู้นำสวดต้องลำบากเพียงใด เสียงสวดมนต์จึงค่อยๆ ปรับให้เข้ากันมากขึ้น สถานการณ์นี้บีบบังคับให้เรียนรู้ไปโดยปริยาย
ผู้โชคดีคือคนที่มีโทนเสียงอยู่ในระดับกลางๆ สามารถปรับให้เข้ากับใครก็ได้ ไม่ว่าผู้นำจะสวดเร็วหรือช้า จะสวดด้วยสำเนียงญี่ปุ่น ไทยอีสาน หรือฝรั่ง ก็ปรับสำเนียงให้กลมกลืนได้ หรือเวลาที่ต้องนำสวดคนส่วนใหญ่ก็สวดตามไปได้ไม่ลำบาก เคล็ดลับสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่การเงี่ยหูฟังแล้วปรับเสียงให้คล้อยตามเสียงส่วนใหญ่
ฟังดูเหมือนไม่ยาก แต่เชื่อหรือไม่ว่า หาคนที่พร้อมจะปรับเสียงได้น้อยมาก การสวดมนต์ในบางคราวจึงเหมือนการผจญภัยอีกลักษณะหนึ่ง เพราะไม่รู้เลยว่าจะต้องประสานเสียงกับคีย์ใดบ้าง และจะสวดไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่
การรู้จักยืดหยุ่นต่อสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ สะท้อนท่าทีการปรับตัวในชุมชนด้วย คนที่ยึดมั่นความเห็นของตนมาก ไม่โอนอ่อนผ่อนตามใคร มักสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ที่อยู่ร่วมกันไม่มากก็น้อย การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับอุดมคติของพระป่าคือ การทำตัวให้เหมือนธาตุน้ำยามอยู่ในภาชนะใดก็กลมกลืนไปกับภาชนะนั้น แต่ไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง และที่สำคัญคือ เมื่อไปอยู่ที่ไหนก็สร้างความผาสุกร่มเย็นในที่นั้น
คืนก่อน ผู้นำสวดคนใหม่เริ่มหน้าที่เป็นวันแรก พอขึ้นต้นเสียงด้วยความมั่นใจเต็มที่ พระเณรทั้งศาลาก็มีอันต้องนิ่งอึ้งไปตามๆ กันและแล้ว…เสียงหัวเราะก็ดังก้องมาจากท่านอาจารย์ซึ่งอยู่หัวแถว แล้วไล่ตามมาเป็นระลอกจนกระทั่งปลายแถว การสวดมนต์ในคืนนั้นจึงชะงักเสียแต่ยังไม่เริ่ม
ได้ยินเสียงหลวงตาที่นั่งอยู่ด้านข้างกระซิบบอกผู้นำมือใหม่ว่า“ลดเสียงลงสักครึ่งคีย์เถิด…พ่อคุณ”
ปิยสีโลภิกขุ จบการศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่ได้เลือกวิถีชีวิตนักบวชมามากกว่า 20 ปีแล้ว ปัจจุบันพำนักในวัดป่าเล็กๆ แห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงราย บันทึกชุดนี้เขียนขึ้นระหว่างจำพรรษาที่วัดจิตวิเวก ในแคว้นเวสต์ซัสเซ็กซ์ (West Sussex) นอกกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
บทความน่าสนใจ
Dhamma Daily : หากจิตใจวอกแวกขณะสวดมนต์ จะยังได้อานิสงส์จาก การสวดมนต์ อยู่ไหม
“รอดตายเพราะสวดมนต์” เรื่องเล่า อานิสงส์จากการสวดมนต์ ที่เกิดขึ้นจริง
Dhamma Daily : เราสามารถสวดมนต์ ขอพรให้ครอบครัว ได้จริง ๆ หรือ?
บทสวดมนต์ก่อนนอน แบบสั้น เพื่อสร้างสมาธิและจิตใจผ่องใส
สวดมนต์ ทำไม และสวดอย่างไรไม่เป็น “มนต์คาถา” ท่านว.วชิรเมธี มีคำตอบ
อัศจรรย์จากการสวดมนต์ เรื่องเล่าจากผู้ศรัทธาในเรื่องบุญ กรรม และการสวดมนต์
Dhamma Daily : เวลาสวดมนต์มักคิดฟุ้งซ่าน อย่างนี้จะได้ อานิสงส์จากการสวดมนต์ หรือเปล่า
ปัญหาธรรมประจำวันนี้: การสวดมนต์ สามารถเปลี่ยนน้ำสกปรกให้เป็นน้ำสะอาดได้จริงหรือ
ดิฉันปวดเมื่อยเวลาสวดมนต์ในเวลานานๆ จึงอยากทราบว่าสามารถ นอนสวดมนต์ แทนได้ไหมคะจะบาปหรือเปล่า
พลานุภาพของการสวดมนต์ จากพระไตรปิฎก
Dhamma Daily : ถ้าเชื่อว่าตัวเองคิดดี ทำดี แต่ ไม่อยากเข้าวัด สวดมนต์ บาปไหม
ชอบนั่งสมาธิ แต่ไม่ชอบสวดมนต์ จะทำให้ได้บุญน้อยกว่าทำทั้งสองอย่างหรือไม่?
การพัฒนาจิต 2 วิธี ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน บทความธรรมะจากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ
สิ่งที่ พระนางพิมพา ทำเพื่อพระพุทธเจ้า…แง่มุมที่ชาวพุทธไม่ค่อยรู้
พร 8 ข้อที่ พระอานนท์ ทูลขอพระพุทธเจ้า
หนทางพระพุทธเจ้า หนทางของมหาบุรุษ
เรื่องเล่าวันพระพุทธเจ้าลอยถาดลงในแม่น้ำก่อนตรัสรู้ บทความเตือนสติ จากท่าน ว.วชิรเมธี
เปิดพระวินัย 4 ข้อ ที่ทำให้พระเป็นปาราชิก
คิดเก่ง ทุกข์เก่ง บทความธรรมะจาก ปิยสีโลภิกขุ
ชีวิตนี้แสนยาก…เพราะตัวเราเองหรือเปล่า บทความธรรมะจาก ปิยสีโลภิกขุ
โชคร้ายของมนุษย์ คือไม่รู้ว่าตัวเองโชคดี บทความดีๆ จากท่านปิยโสภณ
สันติภาพ สิ่งที่มนุษย์ต้องการ บทความน่าคิดจากพระราชญาณกวี (ปิยโสภณ)
โกรธแล้วได้อะไร บทความชวนคิด จาก พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)