งานศึกษาหลายชิ้นบอกว่า “เด็กอ่อนที่ถูกแม่สัมผัสด้วยความรักอย่างทะนุถนอมจะเจริญเติบโตได้อย่างมีสติปัญญามากกว่าเด็กอ่อนที่ถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างเดียวดาย” ความรักจึงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ ทุกคนจึงโหยหาความรักกันอยู่เสมอ โดยฉพาะอย่างยิ่งการรักตัวเอง “รักตน”จึงเป็นสุดยอดแห่งความรักสำหรับมนุษย์ การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระมเหสีชื่อมัลลิกา สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติข้อนี้ได้เป็นอย่างดี
บนปราสาทที่โอ่อ่าสูงลิบลิ่วแห่งหนึ่ง จอมรชันย์ซื่อปเสนทิโกศล จ้าครองแควันโกศล กำลังพร่ำรักอยู่กับหญิงงามบ้านนอกชื่อมัลลิกา หญิงงามนางนี้เป็นลูกสาวชาวบ้านธรรมคาสามัญ ท้าวเธอได้พบนางเข้ายามที่เดินตราทัพไปทำสงครามกับพระเจ้าอชาดศัตรูเจ้าครองแคว้นมดข ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้อภิเษกนางขึ้นเป็นพระมเหสี เพราะทรงพอพระทัยในความเฉลียวฉลาดและความเป็นกุลสตรีของนาง
“ใครหนอคือคนที่น้องพี่รักมากที่สุดในปฐพี” จอมราชันย์เริ่มตันด้วยคำหวานหู พร้อมกับกระหยิ่มอยู่ในพระทัยว่า “ข้านี่แหละคือคนที่นางรักมากที่สุด” เพราะไม่มีพระองค์เสียแล้ว หญิงบ้านนอกอย่างมัลลิกาหรือจะได้เป็นถึงพระมเหสี
“อุ๊ย…เสด็จพี่ช่างเขลานัก” มัลลิกาตอบอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม “ผู้ที่น้องรักมากที่สุดนะหรอเพคะ ก็คือตัวน้องน่ะซีคะ แล้วเสด็จพี่ล่ะเพคะ” พอถูกย้อนถามอย่างไม่ตั้งตัวเช่นนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับหมดอารมณ์พร่ำรัก เพราะมันไม่ใช่เวลาพูดเรื่องธรรมะธัมโม
“อือ…พี่นี่แหละคือสุดที่รักของเสด็จพี่” พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตอบกลับอย่างมะนาวไม่มีน้ำ แต่เมื่อทรงครุ่นคิดถึงสิ่งที่มัลลิกาพูดอีกที พระองค์ก็ร้องอ๋อว่า “ตัวกูคือสุดที่รักของมนุษย์” เหมือนอย่างมัลลิกาว่า
การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาบอกเราว่า “ตัวกูคือยอดแห่งความรักของคน” ความรู้สึกรักตัวรักตนจึงเป็นยอดแห่งความรักทั้งผองของมนุษย์ เหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
“เมื่อเหลียวดูทั่วสารทิศ ไม่พบใครอื่นสุดที่รักเท่ากับตน….”
ความรักตัวรักตนจึงอยู่เบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมค้นความคิด คำพูด หรือการกระทำ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนสะท้อนออกจากความรักตัวรักตนทั้งนั้น แต่การแสดงความรักตัวเองออกมาของมนุษย์มีอยู่ 2 ลักษณะคือ สร้างสรรค์ และ ทำลาย
1. การรักตัวอย่างสร้างสรรค์ คือ คนที่เอาใจเราไปใส่ใจเขา เรารักตัวเองอย่างไร คนอื่นก็รักตัวเองอย่างนั้น เราต้องการความสุขอย่างไร คนอื่นก็ต้องการควมสุขอย่างนั้น เราอยากได้ความสำเร็จอย่างไร คนอื่นก็อยากได้ความสำเร็จอย่างนั้น คนประเภทนี้มักจะเป็นที่รักของคนอื่น เพราะเข้าใจความรู้สึกคนอื่นเหมือนความรู้สึกตัวเอง เห็นคุณค่า เห็นความดีของคนอื่น คนกลุ่มนี้เปรียบเหมือนน้ำที่เย็นชุ่มฉ่ำ อยู่ที่ไหน ทำงานที่ไหน ก็สร้างความสบายใจ ความสุขใจแก่คนที่นั่น
2. การรักตัวอย่างทำลาย คือ คนที่เห็นแก่ตัว รักแต่ตัวเอง ไม่เคยรักคนอื่น ไม่เคยเห็นใจคนอื่น เห็นคนอื่นได้ดีกว่าก็อิจฉาตาร้อน ทนอยู่ไม่ได้ ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อไม่ให้เขาเท่าเทียมกับตนหรือเกินหน้าเกินตาตน คนประเภทนี้มักเป็นที่รังเกียจของคนอื่น อยู่กับสังคมได้ยาก อยู่ที่ไหน ทำงานที่ไหน มักสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายที่นั่น คนประภทนี้เปรียบเหมือนไฟที่ร้อนรน เข้าไปที่ไหนก็เผาผลาญที่นั่น
การรักตนจึงเป็นสัจธรรมของชีวิต การรักตัวอย่างสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เราควรมี แต่การรักตัวอย่างทำลายคือสิ่งที่เราควรเว้น
ที่มา ฉลาดคิด ชีวิตเป็นสุข โดย ส.ชิโนรส (พระมหาสุภา ชิโนรโส) สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ
บทความน่าสนใจ