ปรับทัศนคติการดำรงชีวิต

ปรับทัศนคติการดำรงชีวิต ก็เปลี่ยนแปลงชีวิตได้

ปรับทัศนคติการดำรงชีวิต ก็เปลี่ยนแปลงชีวิตได้เลยนะ

ความคิดของเรามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตและรูปแบบการใช้ชีวิตโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว รูปแบบการดำรงชีวิตที่แต่ละคนเลือกนั้นเปิดเผยถึงหลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับตัวเรา เช่น บางคนชื่นชอบการออกกำลังกาย ใส่ใจกับการเลือกรับประทานอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ให้เวลากับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ สิ่งเหล่านี้สามารถตอบโจทย์ที่ว่าเราปฏิบัติต่อตนเองอย่างปล่อยปละละเลยหรืออย่างห่วงใยเอาใจใส่ เพียงแค่ ปรับทัศนคติการดำรงชีวิต ในบางเรื่อง ก็สามารถทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนไปได้แล้ว

ปัจจัยต่างๆ ในการใช้ชีวิตที่กล่าวมานี้ช่วยเสริมสร้างความต้านทานต่อความเจ็บป่วย ให้เสื่อมลงหรือแข็งแกร่งขึ้นได้
รูปแบบการใช้ชีวิตของเราสะท้อนถึงความรู้สึกที่เรามีต่อชีวิต บางคนอาจปรารถนาที่จะดำเนินชีวิตไปอย่างมีชีวิตชีวา
เต็มที่ แต่บางคนก็ไม่ค่อยจะเต็มใจนักกับการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ต่อไป เพียงใช้ชีวิตไปวันๆ หนึ่งโดยปล่อยตัวเองให้
ทนทุกข์หรือจมอยู่กับความเจ็บปวด

ความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเองมีความสำคัญอย่างยิ่ง เราอาจออกวิ่งวันละ 5 กิโลเมตร รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
ใยอาหารสูง ทำสมาธิอยู่เป็นประจำ แต่เรากลับรู้สึกไม่สบอารมณ์กับตัวเองเลย หากรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า รู้สึกว่าตัวเองขี้เหร่ ไม่มีใครรัก เต็มไปด้วยความรู้สึกผิดหรือกระดากละอาย ความรู้สึกในแง่ลบนี้จะส่งผลกระทบต่อเราในเวลาต่อมา

อย่างประโยคที่ว่าเมื่อคิดอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น ความนึกคิดและถ้อยคำของเราเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่เติบโตงอกงามได้ ภาวะสุขภาพของเราแสดงถึงสิ่งที่เราเคยรู้สึก เมื่อเมล็ดพันธุ์แห่งความนึกคิดฝังรากลึกลงไป มันก็เริ่มสร้างอิทธิพลครอบงำและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน ประสาทรับรู้ และการไหลเวียนของเลือด

ในหนังสือชื่อ Healing Breakthrough ของนายแพทย์แลร์รี ดอสซี พูดถึงผู้ป่วยที่มีใจสู้มีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดมากกว่าผู้ป่วยที่เซื่องซึมคิดแค่เพียงไม่มีหวังที่จะหายป่วย เมื่อเรานึกถึงความเจ็บป่วยหรือชีวิตว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะควบคุมอะไรได้ หรือเป็นเหมือนอุปสรรคผ่านพ้นไปไม่ได้ พลังที่มีอยู่ในตัวเราก็จะไม่ได้ใช้เพื่อเยียวยาร่างกายโดยตรง จะไม่มีสัญญาณของการมีชีวิตส่งไปกระตุ้นเตือนร่างกาย

แต่เมื่อมีทัศนะว่าความเจ็บป่วยหรือการมีชีวิตคือประสบการณ์ที่เราจะได้เรียนรู้ คือโอกาสที่จะได้หยั่งลึกลงไปถึงความผูกพันที่เรามีต่อตัวเอง พลังที่จะใช้เยียวยาให้ฟื้นคืนก็จะมีเพิ่มมากขึ้น

อัลเบิร์ต ชไวทเซอร์ นายแพทย์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 1962 กล่าวเอาไว้ว่า “การค้นพบที่สำคัญอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ คือการเข้าใจว่าเราเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้โดยการปรับทัศนคติเกี่ยวกับการดำรงชีวิต”

ข้อมูลจาก

หนังสือกายเป็นอย่างไรใจบอกได้ ฐานบุ๊คส์


บทความที่น่าสนใจ

เปลี่ยนนิสัย ปรับความคิด ช่วย สมองไบร์ท

แค่ปรับความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน เรื่องราว “การปรับความคิด” ของดาราหนุ่ม 3 ทั้งสาม

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.