บทสวด ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นบทสวดบูชารำลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อกันว่าถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้ว ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ
๑. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง วัจจะ*(๑)โสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สุคะโต วัจจะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโสภะคะวา ฯ
๒. อะระหันตัง สะระณังคัจฉามิ อะระหันตัง สิระสานะมามิ สัมมาสัมพุทธัง สะระณังคัจฉามิ, สัมมาสัมพุทธัง สิระสานะมามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณังคัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสานะมิ, สุคะตัง สะระณังคัจฉามิ, สุคะตัง สิระสานะมามิ โลกะวิทัง*(๒) สะระณัง คัจฉามิ, โลกะวิทัง สิระสานะมามิ
๓. อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สัตถา*(๓) เทวะมะนุสสานัง วัจจะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา พุทโธ วัจจะโสภะคะวา
๔. อะนุตตะรัง สะระณังคัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสานะมามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณังคัจฉามิ, ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสานะมามิ, สัตถาเทวะมะนุสสานัง สะระณังคัจฉามิ, สัตถาเทวะมะนุสสานัง สิระสานะมามิ พุทธัง สะระณังคัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ
๕. อิติปิโสภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา วิาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโภะคะวา ฯ
๖. อิติปิโสภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ
๗. อิติปิโสภะคะวา ยามา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ
๘. อิติปิโสภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
๙. อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ
๑๐. อิติปิโสภะคะวา โสตาปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา สะกิทาคาปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อะนาคามิปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ
๑๑. อิติปิโสภะคะวา โสตา อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา สะกิทาคา อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อะนาคามิ อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ
๑๒. กุสะลาธัมมา อิติปิโสภะคะวา อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ชมภูทิปัญจะอิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง อาปามะจุปะที มะสังอังคุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะ สุเหปาสา ยะโสโส สะสะ อะอะอะอะ นิเตชะสุเน มะภูจะนาวิเว อะสังวิสุโร ปุสะภุพะ อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติวิอัตถิ ฯ
๑๓. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ สาโพธิปัจะ อิสะโรธัมมา ฯ
๑๔. กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโนยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสะโรกุสะลาธัมมา อิติวิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุยาวะ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตาวะติงสา อิสะโรกุสะลาธัมมา นันทะปัญจะสุคะโตโลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ยามาอิสะโร กุสะลาธัมมา พรหมมา สัททะปัญจะ สัตตะสัตตา ปาระมีอะนุตตะโร ยะมะกะขะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ
๑๕. ตุสิตา อิสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ
๑๖. นิมมานะระติ อิสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง ตะถะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ
๑๗. ปะระนิมมิตตะอิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะ ปะผะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ
๑๘. พรหมมาอิสสะโร กุสะลาธัมมา นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๑๙. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๒๐. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมมะสาวัง มะหาพรหมมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุ ฯ
๒๑. สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๒๒. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา ฯ
๒๓.นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
๒๔. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
๒๕. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
๒๖. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง ฯ
๒๗. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะหาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอา วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระนะ อาระ ปะขุ ธังมะ อะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ
หมายเหตุ
*๑ บางฉบับเป็น วัจจะ ที่ถูกตามบาลีควรจะเป็น วะตะ
*๒ บางแห่งเป็น โลกะวิทัง ตามหลักไวยากรณ์เป็น โลกะวิทุง ศัพย์เดิมว่า โลกะวิทู
*๓ บางแห่งเป็น สัตถา ตามหลักไวยากรณ์เป็น สัตถารัง
คำแปล
๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า
๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส
๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า
๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ
๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน
๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค
๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล
๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสระแห่งชมภูทวีป ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร
๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นยามา ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต
๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี
๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน
๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง
.
ที่มา : หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)