สมาธิบำบัด

สมาธิบำบัด “SKT” 7 เทคนิค พัฒนาร่างกายให้เยียวยาตัวเอง

สมาธิบำบัด แบบ SKT เป็นอย่างไร Secret มีคำตอบ

สมาธิบำบัด แบบ SKT คือการทำสมาธิที่เกิดจากการผสานศาสนศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาร่างกายให้สามารถเยียวยาตัวเองได้ โดยมีหลักการสำคัญคือ ปรับการทำงานของร่างกายทั้งระบบให้อยู่ในภาวะปกติ ชื่อ SKT มาจากชื่อของผู้คิดค้น นั่นคือ รศ. ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ. ดร.สมพร กล่าวว่า สมาธิแบบ SKT นี้ใช้เวลาวิจัยและทดลองเยียวยาผู้ป่วยมานานกว่า 20 ปี จนได้ผลสรุปออกมาเป็นเทคนิค 7 ประการ โดยผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องปฏิบัติทุกเทคนิค เพราะแต่ละเทคนิคเหมาะสมกับสภาพร่างกายหรืออาการเจ็บป่วยของคนแต่ละคน

ทั้งนี้การทำสมาธิแบบ SKT สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาโรคได้ทุกรูปแบบ และทดสอบแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติ ทั้ง 7 เทคนิคมีรายละเอียดดังนี้

 

ท่าที่ 1 และ 2 สำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการเจ็บป่วย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆ

ท่าที่ 1 นั่งในท่าตามสบาย หลับตา สูดหายใจเข้าลึก กลั้นไว้ประมาณ 3 วินาที และเป่าออกทางปากช้าๆ อย่างสม่ำเสมอจนสุด สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกให้ทำเช่นนี้ 20 ครั้ง ส่วนผู้ที่ชำนาญแล้วทำ 30 - 40 ครั้ง

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ท่าที่ 2 ยืนตรง ชูมือสองข้างเหนือศีรษะ โดยต้นแขนต้องแนบที่ใบหูและนิ้วโป้งแตะกัน จากนั้นหายใจเช่นเดียวกับเทคนิคที่ 1 สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกให้ทำเช่นนี้ 20 ครั้ง ส่วนผู้ที่ชำนาญแล้วทำ 30 - 40 ครั้งจากนั้นค่อย ๆ ลดมือลงช้า ๆ จนมือแนบลำตัวโดยนับ 1 - 30 เป็นจังหวะ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมัน ความดันโลหิต เบาหวานและอาการปวดเมื่อยตามต้นคอ

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ท่าที่ 3 – 5 สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ช่วยปรับสภาพร่างกายให้กลับเป็นปกติ

ท่าที่ 3 นั่งเหยียดเท้าราบไปกับพื้น ยืดหลังตรง และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่หัวเข่าจากนั้นโน้มตัวไปด้านหน้า พร้อมกับสูดหายใจเข้าลึก กลั้นไว้ 3 วินาที จากนั้นเอนตัวไปด้านหลังพร้อมเป่าลมออกทางปากยาว ทำเช่นนี้ 30 ครั้ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อและข้อต่อ

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ท่าที่ 4 ยืนในท่าสบาย นำมือทั้งสองข้างไพล่ไว้ด้านหลัง ก้าวเท้าไปด้านหน้าขณะยกเท้าขึ้นให้สูดหายใจเข้าลึก จากนั้นค่อยๆ วางเท้าลงพร้อมเป่าลมออกทางปากยาว ทำเช่นนี้ประมาณ 90 - 120 ครั้ง ช่วยบำบัดเรื่องโรคทางพันธุกรรม เบาหวานประเภทที่ 1 และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ท่าที่ 5 ยืนในท่าเดียวกับท่าที่ 2 จากนั้นหายใจเช่นเดียวกับท่าที่ 1 เมื่อครบ 1 รอบให้โน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อยทำเช่นนี้ 30 ครั้งจนปลายนิ้วจรดที่พื้นพอดี หายใจเช่นเดิม 10 ครั้งในท่าปลายนิ้วจรดพื้นและค่อย ๆ ยืดตัวขึ้น โดยทำเป็นจังหวะเช่นเดียวกับท่าโน้มตัวลง พร้อมหายใจเช่นเดิม 30 ครั้ง กระทั่งกลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้น จากนั้นค่อยๆ ลดมือลงช้าๆ โดยนับ 1-30 เป็นจังหวะการลดมือลง ช่วยบำบัดผู้ที่มีปัญหาอาการปวดหลัง ไหล่ และหัวเข่า

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติท่าที่ 6 และ 7 เหมาะสำหรับผู้ป่วยหนัก ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย

ท่าที่ 6 สำหรับคนไข้ภาวะวิกฤติหรือคนไข้ในห้องไอซียูที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แต่สมองยังคงรับรู้และได้ยินเสียงให้ใช้เป็นคำสั่ง เช่น ศีรษะเริ่มผ่อนคลายแขนเริ่มผ่อนคลาย เป็นต้น โดยพูดช้าๆ และย้ำคำว่าผ่อนคลายไปเรื่อยๆ ทำเช่นนี้ในทุกอวัยวะจนครบ 45 นาที

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ท่าที่ 7 มี 2 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาที่ระดับเอว ค่อยๆ ขยับฝ่ามือเข้าประกบกันพร้อมหายใจเข้า และขยับออกจากกันพร้อมเป่าลมออกทางปากช้าๆ นับเป็น 1 ครั้ง ทำเช่นนี้ 30–40 ครั้ง ขั้นที่ 2 ยกมือในท่าเตรียมเช่นเดียวกับขั้นที่ 1 และยกมือทั้งสองข้างขึ้นระดับศีรษะ พร้อมหายใจเข้า และลดมือลงพร้อมเป่าลมออกทางปากช้าๆ นับเป็น 1 ครั้ง ทำเช่นนี้ 30–40 ครั้งใช้สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่น มะเร็งอัมพาต ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

 

คลิปวิดีโอ สมาธิบำบัด แบบ SKT

เครดิตภาพและคลิปวิดีโอ: Mahidol Channel มหิดล แชนแนล


บทความน่าสนใจ

ปฏิบัติธรรมตามจริต | จริตแบบนี้ปฏิบัติธรรมแบบไหนดีนะ

“โยคะสมาธิ” ศาสตร์แห่งการฝึกสติให้อยู่กับลมหายใจ

เน่าหนอน ฟอนเฟะ พิจารณาความไม่งาม ตามแบบอสุภกรรมฐาน

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.