มีลูกยาก…ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

มีลูกยาก…ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

อยากมีลูกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป!! ถ้าใช้วิธีธรรมชาติไม่สำเร็จ ควรจูงมือกันไปพบแพทย์ หรือปรึกษาศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าและทันสมัย ช่วยเข้ามาเติมเต็มความสมบูรณ์ของครอบครัวยุคใหม่ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากได้ อย่างที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลวิภาวดีที่ปัจจุบันเปิดให้บริการมานานกว่า 20 ปี โดยทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญด้วยเทคนิคที่ทันสมัย

นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนและห้องผ่าตัดซึ่งได้รับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ในการช่วยให้การรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และมีอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้มีบุตรยากอยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป

แพทย์หญิงอัญชุลี พฤฒิวรนันทน์

แพทย์หญิงอัญชุลี พฤฒิวรนันทน์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โรงพยาบาลวิภาวดี บอกว่า “ปัจจุบันเราพบว่าในบรรดาคู่สามีภรรยาทั้งหลายจะมีปัญหามีบุตรยากประมาณ 40%

คำว่ามีบุตรยากไม่ได้หมายความว่าไม่มีโอกาสมีบุตรเลย แต่หมายความว่ามีโอกาสมีบุตรน้อยกว่าปกติหรือช้ากว่าปกติ

เราพบว่าคู่สามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์กันตามปกติสัปดาห์ละอย่างน้อย 2-3 วันโดยไม่ได้คุมกำเนิดจะมีการตั้งครรภ์ 50% ภายใน 5 เดือนและการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 80-90% ในเวลา 1 ปี ส่วนที่เหลือจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลงและจัดอยู่ในกลุ่มภาวะมีบุตรยาก

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากเกิดจากผู้หญิงร้อยละ 40 ผู้ชายร้อยละ 40 ร้อยละ 10 เจอทั้งคู่ และอีกร้อยละ 10 ไม่ทราบสาเหตุ โดยคนไข้ที่เข้ามาปรึกษาที่พบบ่อยได้แก่ กลุ่มผู้หญิงที่มีอายุเกิน 35 ปี และมีความกังวลนอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มผู้หญิงที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์ ฮอร์โมนผิดปกติที่มีภาวะทำให้ไข่ไม่ตกก็เสี่ยงในการมีบุตรยากเช่นกัน แต่สำหรับผู้ชายไม่ค่อยมีใครรู้มาก่อนและไม่พบปัญหา นอกเสียจากว่าต้องตรวจน้ำเชื้อเพื่อหาความผิดปกติ

ส่วนขั้นตอนการรักษานั้น แพทย์หญิงอัญชุลี เล่าต่อว่า จะต้องมีการตรวจเลือดทั้งผู้ชายและผู้หญิงดูเรื่องความเข้มข้นเลือด เม็ดเลือดมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องพันธุกรรม โรคธาลัสซีเมียหรือไม่ ตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด ตรวจเรื่องของซิฟิลิส เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ตรวจกรุ๊ปเลือดว่ามีความเสี่ยงตอนตั้งครรภ์หรือไม่ ตรวจภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน

บริการให้คำปรึกษาคู่สมรส

ส่วนผู้ชาย นอกจากมีปัญหาเรื่องน้ำเชื้อผิดปกติก็ต้องไปตรวจฮอร์โมน แต่น้อยมากส่วนของผู้หญิงที่ตรวจเพิ่มคือ ตรวจฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ ถ้าเจอความผิดปกติที่สงสัยเรื่องต่อมไร้ท่ออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับรังไข่ ก็ต้องมีการตรวจฮอร์โมนต่อมไร้ท่อนั้นๆ ด้วย ของผู้หญิงจะมีตรวจภายใน เช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจอัลตร้าซาวด์ดูมดลูก รังไข่ หลังตรวจเสร็จก็ประเมินว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แก้ไขตามสาเหตุ

ถ้าบางคนเจอโรคก็รักษาโรคก่อน ถ้าบางคนทำได้เลยก็มีตั้งแต่ นับวันตกไข่ให้ อาจต้องใช้ยากระตุ้นไข่ช่วย บางคนก็อาจจะต้องใช้เทคโนโลยี มีตั้งแต่ฉีดเชื้อผสมเทียม และทำเด็กหลอดแก้ว

 

มดลูก

ถ้าพบคนไข้คู่ที่มีปัจจัยเสี่ยงเยอะและไม่น่าจะตั้งครรภ์ง่าย ก็อาจจะข้ามมาเป็นเด็กหลอดแก้วซึ่งปัจจุบันมีคนไข้ที่เลือกการรักษาด้วยวิธีนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

การทำเด็กหลอดแก้ว

การรักษาเริ่มต้นด้วยการกระตุ้นไข่ตอนเริ่มมีประจำเดือน พอประจำเดือนมาช่วง 3 วันแรกก็จะให้ยาฉีดกระตุ้นไข่ ฉีดกระตุ้นไข่ทุกวันประมาณ 8-10 วัน โดยคนไข้สามารถฉีดได้เอง ฉีดที่ผนังหน้าท้อง ระหว่างที่ฉีดยา 8-10 วัน ก็จะนัดมาติดตามขนาดไข่เรื่อยๆ ดูว่าไข่โตได้ตามมาตรฐานไหม  ต้องปรับขนาดยาอย่างไรบ้าง แล้วพอไข่โตเต็มที่ พร้อมที่จะเก็บไข่ก็จะนัดวันการเก็บไข่โดยทั่วไปเก็บไข่ออกมา รอปอกเปลือกไข่โดยกรรมวิธีในห้องปฏิบัติการ ปอกเปลือกไข่เสร็จก็ยิงอสุจิเข้าไป เพื่อผสมกันภายใน 4-6 ชั่วโมง แบบนี้เรียกว่าวิธีอิกซี่

แล้วเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละเซ็นเตอร์ว่าจะย้ายตัวอ่อนกลับวันไหน ซึ่งสามารถย้ายตัวอ่อนได้ตั้งแต่วันที่ 2 3 4 5

ถ้าเป็นที่โรงพยาบาลวิภาวดี จะย้ายตัวอ่อนที่ระยะวันที่ 5 เรียกว่า ระยะบลาสโตซีสต์ (Blastocyst) เป็นอีกขั้นหนึ่งของเทคโนโลยีที่สามารถเลี้ยงตัวอ่อนได้ในห้องปฏิบัติการจนถึงระยะนี้ พอย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไป ก็รอเวลาอีก 7 วันถึงรู้ผลว่าตั้งครรภ์หรือไม่ด้วยการเจาะเลือด”

หลังไข่ตกจะเกิดการปฏิสนธิที่ท่อนำไข่ และเจริญเติบโตจะไปฝังตัวในมดลูกภายใน7วัน
การเก็บไข่โดยการใช้เข็มติดกับเครื่องอัลตราซาวด์และดูดไข่ออกมาภายนอก
การย้ายตัวอ่อนทำผ่านอัลตราซาวด์ดูโพรงมดลูกและย้ายเข้าตำแหน่งที่พร้อมฝังตัว

แพทย์หญิงอัญชุลี บอกต่อว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีบุตรเป็นที่ต้องการมากขึ้น บางคนมาพบแพทย์บอกว่าอยากมีลูกแฝดคือ ท้องทีเดียวให้คุ้มไปเลย ตรงนี้แพทย์คงไม่สามารถที่จะทำให้ได้เพราะจริงๆ แล้วการท้องลูกแฝดถือเป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงในรูปแบบหนึ่ง ในการใช้เทคโนโลยีช่วยเรื่องการมีบุตรยากหลักๆ ยังคงเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว โดยการย้ายตัวอ่อน กลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งมีเพียง 2-3% เท่านั้นที่จะได้ลูกแฝด 2 คน และมีเพียง 1% เท่านั้นที่จะมีแฝดเกินกว่า 2 คน

การตรวจอัลตร้าซาวด์

การทำเด็กหลอดแก้วไม่ว่าจะด้วยวิธีใดต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ชัดเจนว่า มีภาวะของการมีบุตรยากด้วยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจึงจะทำได้ ในยุโรปมีกฎชัดเจนว่า ห้ามย้ายตัวอ่อนเกินกว่า 2 ตัวอ่อน ส่วนในเอเชียไม่มีกฎตายตัว ส่วนใหญ่เป็นการย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 3 ถึงวันที่ 5 ใส่เข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งโอกาสที่จะตั้งครรภ์มีประมาณ 30% หลายคนจึงต้องทำอยู่หลายครั้งจึงประสบความสำเร็จ”

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลวิภาวดี

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากวิภาวดี ได้รับการก่อตั้งขึ้นชัดเจนตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 โดยทีมแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญด้วยเทคนิคที่ทันสมัย นอกจากนี้ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากวิภาวดียังมีห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนและห้องผ่าตัดซึ่งได้รับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ในการช่วยให้การรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นไปอย่างสมบูรณ์ บริการการรักษาภาวะมีบุตรยาก ตั้งแต่การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ (Semen analysis) รวมทั้งใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี จนถึงการทำ IVF&ICSI และการเลี้ยงตัวอ่อนถึง Blastocyst

นอกจากนี้ยังมีการให้บริการแช่แข็งอสุจิและตัวอ่อน (AH) เพื่อเก็บรักษาคุณภาพของอสุจิและตัวอ่อนด้วยการแช่แข็ง เพื่อการนำกลับมาใช้อีกครั้งในกรณีที่คู่สมรสต้องการมีบุตรอีกในครั้งหน้านอกจากนี้ทางศูนย์ยังให้บริการให้คำปรึกษา

โดยมีผู้สนใจถามคำถามมากมายมาที่ E mail fertility@vibhavadi.com และดูรายละเอียดที่ www.vibhavadi.com/fertility

ส่วนการตรวจทางนรีเวชวิทยามีการให้บริการหลายอย่าง อาทิ การตรวจภายในเพื่อวิเคราะห์คุณภาพของรังไข่, ท่อนำไข่, มดลูก  เจาะเลือดดูความผิดปกติของร่างกายและฮอร์โมนสตรี การรักษาอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง การรักษาเนื้องอกในสตรี การตรวจโพรงมดลูก  การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชการฝากครรภ์   การคลอดบุตรเป็น Package เป็นต้น

แพทย์หญิงอัญชุลี พฤฒิวรนันทน์

สอบถามการบริการเพิ่มเติมโทร.02-561-1111 ต่อ 1235, เวลา 9.00-19.00 น.ทุกวัน  Hot line 087-508-2511 / 083-914-6777

Posted in NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.