กลัวการเปลี่ยนแปลง

เราเป็นคนที่ กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าออกจากคอมฟอร์ตโซนหรือเปล่า?

เราเป็นคนที่ กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าออกจากคอมฟอร์ตโซนหรือเปล่า?

เรากำลัง กลัวการเปลี่ยนแปลง อยู่หรือเปล่า? การพูดว่า “อยากเปลี่ยนแปลง” เป็นเรื่องที่ทำง่าย แต่การทำให้เกิดขึ้นจริงได้นั้น บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บ่อยครั้งที่ความคิด และอารมณ์ความรู้สึก ก็กีดกันเราจนทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้เสียที ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่า ทำแล้วจะด่อชีวิตของเราขนาดไหน

 

แบบทดสอบ เช็กตัวเอง ว่าเราเป็นคนกลัวการเปลี่ยนแปลงอยู่หรือเปล่า

  • เรามีแนวโน้มที่จะหาเหตุผลให้กับนิสัยที่ไม่ดี โดยบอกตัวเองว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่ มันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นเสียหน่อย
  • คุณกังวลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรของตัวเอง
  • แม้เวลาที่ตกอยู่ในสถานการณ์แย่ๆ เราก็ยังกังวลว่า การสร้างความเปลี่ยนแปลง อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง
  • เมื่อไหร่ที่เราต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง เราต้องพยายามอย่างหนักที่จะยื้อเวลาออกไปเรื่อยๆ
  • เมื่อไหร่ที่หัวหน้า ครอบครัว หรือเพื่อนสร้างความเปลี่ยนแปลงที่กระทบถึงตัวเราด้วย เรามักจะปรับตัวได้ยาก
  • เรานึกถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง แต่สุดท้ายก็บอกปัด หรือผัดวันประกันพรุ่งจนเวลาล่วงเลยไป
  • เรากังวลว่าความเปลี่ยนแปลงที่เราทำขึ้นนั้น จะคงอยู่ได้ไม่นาน
  • การก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซนดูน่ากลัวเกินไป
  • เราขาดแรงจูงใจที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวก เพราะเรารู้สึกว่ามันยากเกินไป
  • เราหาเหตุผลที่มายืนยันกับตัวเองว่า ทำไมเราจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น “อยากออกกำลังกาย แต่แฟนไม่ยอมไปด้วยกัน ก็เลยไม่ออกกำลังกายเสียเลย”
  • เรานึกไม่ค่อยออกว่า เราท้าทายตัวเองและมุ่งมั่นพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่

กลัวการเปลี่ยนแปลง

เป็นอย่างไรบ้างคะ ตรงกันกี่ข้อบ้าง หากเรากำลังเป็นคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ก็อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม มาลองดูขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นกันค่ะ

 

5 ขั้นตอน เพื่อการเปลี่ยนแปลง

ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง และพัฒนาชีวิตของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิม เริ่มต้นได้จากขั้นตอน 5 ขั้นตอนนี้

1.ก่อนการไตร่ตรอง

คนเรามักจะมองไม่เห็นความสำคัญ และความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร เมื่อเรายังรู้สึกสุขสบายดีกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อตัวเราขึ้น เราจึงจะเริ่มคิดถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น เวลาที่เราสุขภาพดี เราก็ไม่คิดที่จะดูแลตัวเอง หรือออกกำลังกาย เมื่อเราเริ่มเจ็บป่วยจึงเริ่มคิดอยากออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงเรื่องการกินอาหารให้ดีขึ้น

 

2. การไตร่ตรอง

นี่คือขั้นตอนที่เราชั่งใจระหว่างข้อดีและข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น ลังเลว่าจะเริ่มออกกำพลังกายดีไหม เลยไตร่ตรองถึงข้อดีข้อเสียของการออกกำลังกาย

 

3. การเตรียมการ

นี่คือขั้นตอนการวางแผนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นขั้นเป้นตอน และเป็นรูปธรรม

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราตัดสินใจได้แล้วว่าเราจะออกกำลังกาย เราก็จะเริ่มเตรียมตัวเพื่อออกกำลังกาย ด้วยการมองหาวิธีออกกำลังกายที่ถูกใจ เลือกชุดกีฬา รองเท้า อุปกรณ์กีฬาที่ต้องใช้ เตรียมสมัครฟิตเนส จ้างเทรนเนอร์ จองสนามกีฬา เป็นต้น

 

4. การลงมือทำ

หลังจากที่ผ่านการวางแผนมาอย่างดีแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงเสียที

 

5. การทำอย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่สำคัญมากอีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่นเช่น เราตั้งใจที่จะออกกำลังกาย แต่ในวันที่เราไม่สบาย มีปาร์ตี้สังสรรค์ หรือติดภารกิจจนไม่สามารถทำได้ เราก็ต้องสามารถประคับประคอง และรักษาวิถีชีวิตของเราให้มั่นคงในวันต่อๆ ไปให้ได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ 13 สิ่งที่คนเข้มแข็งเขาไม่ทำกัน 13 สิ่งที่คนเข้มแข็งเขาไม่ทำกัน 

13 สิ่งที่คนเข้มแข็งเขาไม่ทำกัน

บทความเพื่อการพัฒนาตนเอง เปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

วิธีพัฒนาตนเอง เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ภายใน 5 สัปดาห์ สำหรับคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง

Meta Skill 3 ทักษะที่ควรมี เพื่อการพัฒนาตนเอง พร้อมรับมือในยุคที่ AI ครองเมือง

4 แนวคิดพัฒนาชีวิต พาตัวเองก้าวขาออกจาก Comfort Zone

Work Tips: ตะลุย งานมหกรรมหนังสือ 15 เล่ม ที่วัยทำงานควรอ่าน เพื่อพัฒนาตนเอง!

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.