วิจัยยันนักช้อปจิตป่วย

​ดร. เซซิลี โช แอนเดรียสเซน ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาทางจิตวิทยา จากแผนกวิทยาศาตร์จิตสังคม มหาวิทยาลัยเบอร์เกน ประเทศนอร์เวย์ นำทีมวิจัยเรื่องการเสพติดการช้อปปิ้ง ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม เทรนต์ สร้างแบบทดสอบ 7 ข้อ ให้ผู้ทดสอบใส่คะแนนความคิดเห็นมากน้อยในแต่ละข้อ โดยเริ่มตั้งแต่ 0 คือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จนถึง 4 คือเห็นด้วยอย่างยิ่ง หากตอบเห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 4 ข้อขึ้นไป จะสรุปได้ว่าผู้ทดสอบเสพติดการช้อปปิ้ง

​         งานวิจัยสรุปว่า ผู้หญิงมีอาการนี้มากกว่าผู้ชาย เริ่มตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนปลายและช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น อาการนี้จะลดลงตามอายุ แต่ติดต่อได้ง่ายผ่านโซเชียลมีเดีย บัตรเครดิต และการตลาดขั้นสูง โดยผู้ที่มีบุคลิกลักษณะเปิดเผย (Extroverts) มีแนวโน้มจะเสพติดการช้อปมากกว่าผู้ที่มีบุคลิกลักษณะเก็บตัว (Introverts)

​         ดร. เซซิลี กล่าวว่า ผู้ที่ชอบเข้าสังคมและมีปัญหาจิตใจ มีความเสี่ยงเสพติดการช้อปปิ้งมากกว่า โดยคนกลุ่ม Extrovert มักชอบเข้าสังคมและชอบความตื่นเต้น จึงอาจใช้การช้อปปิ้งเป็นการแสดงความเป็นตัวเอง กระตุ้นเสน่ห์และสถานะทางสังคมของตัวเอง

ส่วนผู้ที่มีปัญหาในจิตใจ เช่น กังวล ซึมเศร้า และประหม่า มักใช้การช้อปปิ้งเป็นวิธีลดความรู้สึกแง่ลบเหล่านั้น

​ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่รู้ผิดชอบชั่วดี มีสติ และเป็นมิตร จะมีความเสี่ยงน้อย เพราะคนกลุ่มนี้จะควบคุมตัวเองได้ดี และสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมากับการช้อปปิ้งได้ จึงมองการช้อปปิ้งเป็นเพียงกิจกรรมสมัยนิยม ซึ่งพวกเขาไม่ค่อยทำเท่าไหร่นัก

 

ที่มา: Health Care Asia
เครดิตภาพ Skitterphoto//pixabay.com

Posted in NEWS
BACK
TO TOP
Alternative Text
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.