เนสท์เล่ เผยมุมมองการกินอยู่อย่างสร้างสรรค์จากปัจจัยสี่

เนสท์เล่ เผยมุมมองการกินอยู่อย่างสร้างสรรค์จากปัจจัยสี่

เพื่อสร้างความสุขและสุขภาพดีในวิถีใหม่

ผ่านกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน

‘บ้าน’ นับเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่เป็นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน บ้านเป็นมากกว่าสถานที่พักอาศัย ความสำคัญของบ้านทวีคูณยิ่งขึ้นเมื่อสมาชิกอยู่พร้อมหน้ากันนานขึ้น ต้องบริหารจัดการพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เป็นห้องเรียนออนไลน์ เป็นออฟฟิศ รวมถึงเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกบ้าน

โครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี (Nestlé for Healthier Kids) ใส่ใจในสุขภาวะทั้งทางกายและทางอารมณ์ของทุกคนในครอบครัว เล็งเห็นโอกาสในการส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถใช้เวลาคุณภาพร่วมกันได้อย่างง่าย ๆ ภายในบ้าน ผนวกกับความเข้าใจในธรรมชาติของเด็กที่ต้องสนุกซุกซน และมีความสุข

จึงจะก่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการที่ดี จึงเดินหน้าสานต่อแคมเปญออนไลน์ #เมนูหนูช่วยทำ ตอน สนุกสุขโซน นำเสนอกิจกรรมสร้างความสนุก ความสุข และสุขภาพดีในครอบครัว ผ่าน 3 โซนกิจกรรมสุดหรรษา ได้แก่ โซนนักสำรวจ โซนครัวหรรษา และโซนคิดส์สร้างสรรค์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกครอบครัวได้ใช้เวลาคุณภาพร่วมกันภายในบ้าน ในการเตรียมมื้ออาหารให้สนุกและมีสีสัน ให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมลงมือทำจนสำเร็จ

ซึ่งจะเป็นการช่วยฝึกทักษะการคิดจากสมองส่วนหน้า (EF: Executive Function) สร้างความมั่นใจ และ สร้างพฤติกรรมสุขภาพหมู่ร่วมกันในครอบครัว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 – 11 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ผ่านทางเฟสบุ๊คเพจ https://www.facebook.com/N4HKThailand

ล่าสุด นางกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสื่อสารโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด รายงานผลความสำเร็จของแคมเปญและเสียงตอบรับจากพ่อแม่ และผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมว่า “ในปีนี้ กิจกรรมภาคต่อของ #เมนูหนูช่วยทำ ตอน สนุกสุขโซน ได้รับการตอบรับที่ดี และเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณจากปีที่แล้ว รวมทั้ง 3 โซนกิจกรรมแล้ว เราได้รับ 400 ไอเดียจาก เกือบ 300 ครอบครัวไทย

โดยเมนูอาหารที่ทุกครอบครัวส่งเข้ามา มีความหลากหลายทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน และตั้งชื่อได้สร้างสรรค์ดึงดูดใจ อาทิเช่น ผัดดาวตกหน่อไม้ฝรั่ง แซนวิชปาร์ตี้สวนสัตว์พัฟไข่ข้นปูอัด บัวลอย 3 สี พุดดิ้งไมโลผลไม้รวม Our Heart Tart Fruity เป็นต้น

เราได้เห็นเมนูพิชิตใจแต่ละบ้าน ที่เติมคุณค่าทางโภชนาการด้วยผักผลไม้หลากสี และมีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของเนสท์เล่ที่ได้รับสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ  

ที่สำคัญคือ ทีมงานได้เห็นภาพความน่ารักที่น่าประทับใจของพ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ รับรู้ได้ถึงความตั้งใจจริงผ่านแววตาที่มุ่งมั่นของเด็ก ๆ ขณะลงมือทำ และได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะบนจานอาหารจนสำเร็จ อีกทั้งยังได้รับคอมเม้นท์เชิงบวกอีกมายมายจากผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของช่วงเวลาแห่งความสุขที่สร้างขึ้นได้เองง่าย ๆ ที่บ้าน

การค้นพบพื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่ในห้องครัวที่ช่วยให้ลูกมีสมาธิกับการตัด หั่น ผัก ผลไม้ หรือตวงส่วนผสม ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมไปถึงช่วยให้ลูกเจริญอาหาร กินอาหารได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่เลือกกินเฉพาะแต่สิ่งที่ชอบหรือคุ้นเคยแต่อย่างเดียว”

ทั้งนี้ จากผลสำเร็จของกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน ทางโครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดีได้สรุปเป็นแนวทางการใช้พื้นที่บ้านเชิงสร้างสรรค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างความสุขและสุขภาพดีในครอบครัว นำโดยผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ รณสิงห์ รือเรืองนักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ และ นางทัศนีย์ สิทธิรัตน์ ณ นครพนม ผู้จัดการฝ่ายชำนาญการพิเศษด้านอาหาร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

นำเสนอมุมมองใหม่ในการใช้ปัจจัยสี่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ของเด็กเมื่อต้องอยู่ที่บ้านเป็นเวลานาน โดยยึดหลักการกินอยู่อย่างสร้างสรรค์ ได้แก่

1.อาหาร – การทำอาหารช่วยให้เด็กได้ฝึกทักษะและพัฒนาการรอบด้าน ทั้งการพึ่งพาตนเอง (Self – Reliance) การควบคุมตนเอง (Self – Control) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อีกทั้งยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ทั้งการเลือก การใช้คุ้มค่า และประโยชน์ต่อร่างกายด้วย

2. ที่อยู่อาศัย – การจัดโซนกิจกรรมภายในบ้านและแบ่งแยกให้ชัดเจน ช่วยฝึกให้เด็กรู้จักตัวตนของตัวเอง (Self- Identity) รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและส่วนรวม และสามารถพัฒนาศักยภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยตัวเอง

3. เครื่องนุ่งห่ม – เครื่องแต่งกายช่วยสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง (Self – Image) ในเด็ก พ่อแม่สามารถช่วยสอนให้

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.