สมอง, เพิ่มไอคิว, ป้องกันอัลไซเมอร์, เพิ่มพลังสมอง, ฝึกจิต

วิธีฝึกจิต เพิ่มไอคิว สู้งานหนักป้องกันอัลไซเมอร์ก่อนวัย

วิธีฝึกจิต เพิ่มไอคิว สู้งานหนักป้องกันอัลไซเมอร์ก่อนวัย

เพิ่มไอคิว การดูแลสุขภาพสมองไม่ให้เสื่อมก่อนวัย จนกลายเป็นโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ เป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสความสนใจ แต่ขณะเดียวกันการเพิ่มพลังสมองเพื่อเพิ่มสติปัญญา ความฉลาด หรือ เพิ่มไอคิว ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ว่าจะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งด้านการศึกษา หน้าที่การงาน รวมไปถึงการจัดการความสัมพันธ์ภายในครอบครัว

ชีวจิต จึงศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือภาษาต่างประเทศด้านวิทยาศาสตร์ด้านสมอง 2 เล่มที่กำลังได้รับความนิยม คือ Idiot Brain ของนักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง ดีน เบอร์เน็ต และ Unleash the Power of the Female Brain ของนายแพทย์เดเนียล จี. เอเมน แล้วสรุปมาบอกเล่าให้ฟังว่า อะไรคือปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนดึงศักยภาพของสมองตนเองมาใช้ได้ไม่เท่ากัน

 

3 เหตุผลที่คนฉลาดไม่เท่ากัน

ดีน เบอร์เน็ต นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง กล่าวว่าเราสามารถดูการทำงานของสมองซึ่งเชื่อมโยงกับความฉลาดด้วยผล FMRI หรือ Functional Magnetic Resonance Imaging ซึ่งเป็นการวัดแบบเดียวกับการตรวจคลื่นสมอง หรือ MRI ดังนี้

1. การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนนั้นๆ

โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานหนัก ฉะนั้นผล FMRI ที่ออกมาจะเห็นว่าสมองส่วนไหนตื่นตัวตลอดเวลา เช่น ถ้าต้องใช้ความจำบ่อยๆ สมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำก็จะตื่นตัวมากกว่าส่วนอื่น

2. การทำงานเชื่อมโยงของสมอง 

เพราะโดยธรรมชาติสมองไม่ได้ทำงานส่วนใดส่วนเดียว แต่ต้องเชื่อมโยงกันหลายๆ ส่วน โดยส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของสมองคือส่วนที่เรียกว่า Prefrontal Cortex และ Parietal Lobe ฉะนั้นหากการทำ FMRI เห็นว่าสมองส่วนนี้ตื่นตัวมาก (เพราะต้องทำการสื่อสาร ประมวลข้อมูล คำนวณ ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจ) หมายความว่า การเชื่อมโยงของสมองส่วนต่างๆ เป็นไปด้วยดี

3. ความหนาของสมองส่วนที่เรียกว่า Corpus Callosum

ซึ่งทำหน้าที่เป็นสะพานระหว่างสมองด้านขวากับสมองด้านซ้าย หากหนามากก็จะทำให้สมองทั้งสองด้านสามารถสื่อสารกันได้ดีขึ้น นั่นหมายความว่า หากส่วนของความจำใน Parietal Lobe มีมาก และส่วน Prefrontal Cortex ก็นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถแก้ปัญหายากๆ ในชีวิตได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม หากการทำงานของสมองยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วนในแบบที่คนฉลาดควรเป็น นอกจากอาหารการกินนานาที่เราแนะนำเสมอ เรายังมีวิธีฝึกจิต เพิ่มพลังสมอง เพื่อสู้งานหนักและป้องกันอัลไซเมอร์ก่อนวัยมาฝาก

สมอง, เพิ่มไอคิว, ป้องกันอัลไซเมอร์, เพิ่มพลังสมอง, ฝึกจิต
การฝึกจิตใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมองได้

จิตสั่งสมอง สมองสั่งจิต

การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประโยชน์ต่อสมอง เพราะเส้นประสาทอัตโนมัติในกระดูกสันหลังช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวโดยไม่ต้องใช้ความคิดหรือจิตสำนึกใด เช่น การเดิน (จึงทำให้มนุษย์เดินละเมอ

ตอนหลับได้) ที่ทำให้เราเดินหนีเหตุการณ์อันตราย หรือเดินไปหาของกินได้ คุณดีน กล่าวว่า “สมัยก่อนยุคหินที่มนุษย์ขึ้นจากน้ำมาอาศัยอยู่บนพื้นดิน เพื่อให้ได้ออกซิเจนเพียงพอ ก็เพราะประสาทอัตโนมัตินี่แหละ

“เรื่องการเมารถ เมาเรือ หรืออาการข้างเคียงจากการเดินทางไกล ล้วนมาจากการทำงานของประสาทอัตโนมัติ เนื่องจากการเดินทางโดยยานพาหนะที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ หรือ

เครื่องบิน โดยที่เรานั่งนิ่ง ๆ อยู่ในยานพาหนะนั้น ๆ ล้วนเป็นการหลอกประสาทอัตโนมัติ หมายความว่า เป็นการเคลื่อนที่แบบที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนที่”

การทำงานของสมองที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพคือ การกิน เมื่อเราอิ่ม กระเพาะอาหารขยายเพียงพอ จะส่งสัญญาณไปบอกสมองว่า หยุดกินได้แล้วโดยระบบย่อยอาหารมีส่วนเพียงกระจิริด

ต่อความอิ่มหรือหิว…สมองต่างหากที่เป็นตัวควบคุม

ครั้นเวลาหิว ฮอร์โมนเกรลินในกระเพาะอาหารจะเพิ่มความรู้สึกอยากอาหาร ขณะที่ฮอร์โมนเปปไทด์ในไขมันจะลดความอยากอาหารเวลาเราต้องการลดน้ำหนัก เราจึงเพิ่มอาหารที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเปปไทด์ลงไปเพื่อให้รู้สึกไม่อยากอาหาร แต่กระบวนการนี้มักล้มเหลวเพราะลืมคิดถึงสมองซึ่งเป็นอวัยวะที่เป็น

ปัจจัยสำคัญต่อความหิวและอิ่ม

นั่นคือ สมองจะเรียนรู้ว่าถูกกระตุ้นอย่างรวดเร็ว และพร้อมจะละเลยการกระตุ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ฉะนั้นการฝึกจิตใจร่วมด้วยจึงมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพของสมองได้

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.