อาหารต้านโรคซึมเศร้า ปรับอารมณ์ให้ผ่องใส
ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น เราต้องมั่นใจว่า ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอจากอาหารที่กิน เพื่อให้ระบบประสาททำงานได้อย่างเหมาะสม เช่น อาหารที่ส่งเสริมสุขภาพระบบย่อย และยังต้องแน่ใจว่า ผู้ป่วยได้หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวการทำให้จุลินทรีย์ในกระเพาะและลำไส้เสียสมดุล หรือทำให้เกิดการอักเสบ เราจึงมีอาหารที่แนะนำให้กิน ซึ่ง อาหารต้านโรคซึมเศร้า เหล่านั้น ได้แก่
อาหารพาเลโอ กินแก้ซึมเศร้า
อาหารพาเลโอ (Paleo Diet) เป็นการพัฒนาโภชนาการด้านอาหาร โดยการลดแคลอรีที่ไม่มีประโยชน์ เพิ่มสมดุลให้น้ำตาลในเลือด และ
ลดการกระตุ้นการอักเสบจากการกินอาหาร ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยได้กินอาหารปลอดสารพิษมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องขยับร่างกายมากขึ้น เพื่อการนอนหลับที่ลึกกว่าเดิม รู้จักจัดการความเครียด และมีสุขภาพช่องท้องที่แข็งแรง
ขั้นตอนแรกคือ การเปลี่ยนอาหารการกินให้เป็นสูตรพาเลโอ 30 วัน ซึ่งสูตรนี้จะอุดมไปด้วยไขมันธรรมชาติคุณภาพสูง ซุปกระดูก (ปลา) ไข่ผักต่างๆ ผักดอง เกลือทะเล และเครื่องเทศต่างๆ โดยผู้ป่วยจะต้องงดอาหารดังต่อไปนี้อย่างเด็ดขาดตลอด 30 วัน คือ ผลิตภัณฑ์นม ธัญพืชสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โซดา ถั่วฝัก อาหารแปรรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำมันผักอุตสาหกรรม และน้ำมันที่ผ่านกระบวนการแปรรูป
ขั้นตอนที่สองคือ “การสร้างชีวิตใหม่” (Rebuild Your Life) โดยผู้ป่วยจะได้กลับมากินอาหารสุขภาพทั่วไปอีกครั้ง ขยับร่างกายมากขึ้น
นอนหลับได้ดีขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน หรือคนรักมากขึ้น
ขั้นตอนสุดท้ายคือ “การฟื้นคืนชีวิต” (Revive Your Life) โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับสูตรอาหารพาเลโอที่ผ่านการปรับให้เหมาะสมตามความต้องการเฉพาะบุคคล และได้รับการสนับสนุนให้ปฏิบัติตามจนได้ผล
กรดแอมิโนเพื่อสมอง
อาหารสูตรพาเลโอนั้นอุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะแตกตัวเป็นองค์ประกอบของกรดแอมิโน คุณหมอคริสย้ำว่า ผู้ที่กินอาหารพาเลโอจะมีสุขภาพระบบย่อยที่แข็งแรง และสามารถดูดซึมและย่อยอาหารได้ตามปกติ
โปรตีนและกรดแอมิโนที่พอเหมาะนั้นสำคัญต่อการทำงานของสมองโดยกรดแอมิโนเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท [นอร์อิพิเนฟรีน
เอพิเนฟรีน โดพามีน เซโรโทนิน กรดแกมมาแอมิโนบิวทีริก (GABA) แอซิทิลโคลีน และอื่นๆอีกมากมาย] กรดแอมิโนยังช่วยสร้างเนื้อเยื่อ
เอนไซม์ และฮอร์โมนไทรอยด์ โดยทำงานร่วมกับกรดซิตริกเพื่อสร้างพลังงานให้เซลล์ต่างๆ และยังทำหน้าที่รวบรวมและกำจัดสารพิษออกจากร่างกายอีกด้วย ดังนั้นร่างกายจึงต้องการกรดแอมิโนเป็นอย่างมาก
ไกลซีนช่วยลดเศร้า
การกินโปรตีนชนิดลีนมากเกินไป (เช่น ไก่ไม่มีกระดูกไก่ไม่มีหนัง อกไก่ เนื้อบดแบบไขมันน้อย นมไขมันต่ำและไข่ขาว) สามารถทำให้ระดับเซโรโทนินในสมองลดลง ซึ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์ต่างๆได้
ในทางตรงกันข้าม การกินไขมันธรรมชาติที่อุดมไปด้วยไกลซีนช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าและภาวะนอนไม่หลับ (ที่ผู้ป่วยบางรายเคยเผชิญในช่วงที่กินโปรตีนชนิดลีน)
ผักดอง เพื่อสุขภาพช่องท้อง สมองแข็งแรง
อาหารหมักดอง (ผักดอง) เป็นอาหารจานสำคัญในการซ่อมแซมสุขภาพช่องท้องที่จะส่งผลดีต่อไปยังสมองด้วยอันดับแรก กระบวนการหมักดองเป็นการช่วยย่อยผักไปแล้วในตัว จึงทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย อันดับที่สอง ผักหมักดองมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยรักษาสุขภาพช่องท้องนอกจากนี้ผักหมักดองยังช่วยให้อาหารย่อยได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
เราสามารถทำผักดองกินเองได้ที่บ้าน เพราะส่วนประกอบและเครื่องปรุงนั้นมีราคาค่อนข้างถูก และขั้นตอนการทำนั้นง่ายมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยก็สามารถหาซื้อผักดองได้ตามร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไปได้เช่นเดียวกัน
ผักดองที่ดีควรจะเป็นผักดิบที่อยู่ในขวดโหลหรือแช่อยู่ในช่องแช่แข็ง
———————-
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
จิ้งหรีด แมลงกินได้บำรุงสมอง ต้านโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า แก้ก่อนสาย หลังดาราเกาหลีจบชีวิตลงอีกราย
3 steps ป้องกันโรคซึมเศร้า ง่ายๆ แบบฉบับแพทย์แผนไทย