ไข้หวัดใหญ่ระบาด เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
จากสถิติ สถานการณ์ ไข้หวัดใหญ่ระบาด จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศไทยในช่วงฤดูฝน โดยเมื่อวันที่ 21 ส.ค. มีหญิงวัย 23 ปี ติดเชื้อและเสียชีวิตไปอีกราย
ภาคกลางและภาคอีสาน พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สูง
ผลการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสก่อโรคไข้หวัดใหญ่ สำนักระบาดวิทยา และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทยสหรัฐ ด้านสาธารณสุข พบว่า ระหว่างวันที่ 2 -8กันยายน 2561
ได้รับตัวอย่างทั้งสิ้น 116 ตัวอย่าง จากโรงพยาบาล 20 แห่ง เป็นผู้ป่วยเพศชาย 70 ราย และเพศหญิง 46 ราย ค่ามัธยฐานอายุของผู้ป่วยที่ส่งตรวจ เท่ากับ 15 ปี(อายุต่ำสุด 12 วัน, อายุสูงสุด 87 ปี) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าให้ผลบวก 39 ตัวอย่าง (ร้อยละ 33.62) เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1 2009 จำนวน 26 ราย (ร้อยละ 66.67) และชนิด A/H3 จำนวน 13 ราย (ร้อยละ 33.33)
สังเกตอาการของโรคเพื่อรับมืออย่างทันท่วงที
ผู้ติดเชื้อมักมีไข้ ไอ (ส่วนมากเป็นไอแห้งๆ) ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบและเจ็บคอ อาการไอนี้มักจะรุนแรงและไอเป็นเวลานานอาจถึง 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไข้ และอาการอื่นๆ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เองในเวลา 5 – 7 วัน ในเด็กอาจพบอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ร่วมกับอาการทางระบบทางเดินหายใจอาการทางระบบทางเดินอาหารพบได้ไม่บ่อยในผู้ใหญ่ทารกอาจจะพบอาการของโรคติดเชื้อในกระแสเลือดผู้สูงอายุที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่มักมีโรคประจำตัวร่วมด้วยเช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)และไม่แสดงอาการไข้
โดยเฉลี่ยจะมีระยะฟักตัว 2 วัน (ในช่วง 1 – 4 วัน)
ดูแลทั่วไปเหมือนกับผู้ป่วยไข้หวัด การให้ยาต้านไวรัสที่ได้ผลดี ควรให้ภายใน 48 ชั่วโมงแรก หลังเริ่มป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ เป็นเวลา 3 – 5 วัน เพื่อลดอาการเจ็บป่วย และลดปริมาณไวรัสในสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ และอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ และยังใช้ได้ผลเมื่ออาการป่วยไม่เกิน 5 วันขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่และวัยรุ่นอายุ 13 ปีขึ้นไปนั้นคือ 150 มก.ต่อวัน โดยแบ่งให้ 75 มก. 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลานาน 3-5 วัน ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)ยังไม่มีรายงานประสิทธิภาพในการรักษาเด็กที่อายุตํ่ากว่า 1 ปี
การรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
ระหว่างการรักษาด้วยยาไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่งเชื้อไวรัสที่ดื้อต่อ ยาอาจจะอุบัติขึ้นในชว่ งหลังของการรักษาและสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ การให้ยาในกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่รวมในห้องเดียวกัน ควรจะต้องพิจารณาโดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในกลุม่ ประชากรปดิ ซึ่งมีผูท้ ี่มีความเสี่ยงสูงอยู่มาก ผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าดูภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงการติดเชื้อร่วมจาก Methicillin Resistance Staphylococcus Aureus (MRSA)เพื่อเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ และเนื่องจากความสัมพันธ์ของกลุ่มอาการรายส์ ให้หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มซาลิไซเลท (Salicylates) ในเด็กที่สงสัยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
การแพร่ระบาดที่ควรระวัง
การแพร่กระจายของฝอยละอองขนาดใหญ่ ฝอยละอองขนาดเล็ก (แพร่กระจายในอากาศ)
และการติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด (สัมผัสโดยตรง และโดยทางอ้อม)
ในการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้ว่าเป็นที่เชื่อกันว่าการกระจายของฝอยละอองขนาดใหญ่ โดยการไอ และจามจากผู้ป่วยจะเป็นวิธีการแพร่โรคหลัก
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมงบนพื้นผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่มีอากาศเย็นและความชื้นตํ่า
ตอนนี้บ้านเราอยู่ในหน้าฝน อากาศเย็น สภาพแวดล้อมเป็นใจในการแพร่ระบาดของโรค และจากสถิติมีคนไทยป่วยและเสียชีวิตแทบทุกปี จึงต้องคอยระมัดระวัง โดยเฉพาะการไปอยู่ในที่ๆมีผู้คนหนาแน่น
(ข้อมูลจาก ศูนย์ไข้หวัญใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย
หยุดก่อน ยาชุดแก้หวัด อาจก่อผลเสียมากกว่าผลดี
สุดยอด อาหารฟื้นฟู อาการ โรคยอดฮิต
คู่มือกินผักผลไม้ ปรับสมดุลแร่ธาตุ ฟื้นสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไต