ตื่นนอนเป็นเวลาเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง

7 กติกาอย่างง่าย ปรับนาฬิกาชีวิตที่ได้ผล

7 กติกาอย่างง่าย ปรับนาฬิกาชีวิตที่ได้ผล 

นาฬิกาชีวิต (Body Clock) คือ กลไกในการควบคุมระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ให้ทำงานตรงตามเวลา ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ ความรู้สึกหิว หรือการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งจะทำงานเป็นเวลา

ทั้งนี้ ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบันที่สามารถใช้ชีวิตแบบก้าวผ่านข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างได้มากขึ้นกว่าอดีต ส่งผลให้ผู้คนใช้ชีวิตและร่างกายแบบหามรุ่งหามค่ำ ทั้งในด้านการงานและการท่องเที่ยวที่ทำให้เราต้องสับสนกับเวลากินเวลานอนวุ่นวายไปหมด ซึ่งทั้งหมดนี้มันล้วนส่งผลกระทบกับนาฬิกาชีวิตตามธรรมชาติของเราให้เกิดผลที่ไม่น่ารักกับสุขภาพของเราด้วยเช่นกัน

วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ หรือการหลั่งฮอร์โมน แม้แต่การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ชีวิตร่างกายของเราก็ต้องการอาหารเพื่อไปช่วยหล่อเลี้ยงอวัยวะ 32 อย่างที่รวมแป็นร่างกายของเราทุกคน การหลีกเลี่ยงสิ่งที่ให้โทษกับอวัยวะโดยไม่ตั้งใจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเจ็บป่วยไปแล้วก็ฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ หากเราปฏิบัติตาม  “นาฬิกาชีวิต”

ตื่นนอนเวลา 5.00 น.-6.00 น. ทุกวัน

เมื่อรู้ว่านาฬิกาชีวิตจําเป็นต่อสุขภาพชีวจิตจึงนําเสนอวิธีปรับนาฬิกาชีวิตที่ได้ผล  เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตแจ่มใส พร้อมรับมือกับทุกๆ วันใหม่ของคุณ

เรามดูกันดีกว่าค่ะว่า การปรับนาฬิกาชีวิตทีได้ผลนั้นมีอะไรบ้าง โดยกติกาที่ว่ามีดังต่อไปนี้ 

1.พยายามตื่นนอนเวลา 5.00 น.-6.00 น. ทุกวัน ไม่ว่าจะเข้านอนกี่โมงก็ตาม และเลิกนอนตื่นสายในวันหยุดสุดสัปดาห์เนื่องจากจะทําให้นาฬิกาชีวิตรวน และทําให้การตื่นนอนในเช้าวันจันทร์เป็นเรื่องยากมากขึ้น

2.เข้านอนตรงเวลา โดยไม่ต้องรอให้ง่วง โดยเวลาที่เหมาะสมคือ 22.00 น.

3.พยายามรับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง ในช่วงเช้า และช่วงเย็น โดยหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดเวลากลางวัน แสงแดดอ่อนๆ จะช่วยให้สมองส่งสัญญาณให้นาฬิกาชีวิตเดินเป็นปกติ

ออกกําลังกายให้ถูกต้อง

4.จัดเวลาออกกําลังกายให้ถูกต้อง โดยหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายหนักช่วง 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะจะทําให้นอนหลับยากขึ้น

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่วิ่งหรือเดินวันละ 40 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน จะนอนหลับได้ตามเวลา และเป็นการหลับลึก

5.ปรับอาหารมื้อเย็นให้เร็วขึ้นโดยไม่ควรกินหลังเวลา 18.30 น. เป็นการช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารได้หยุดพักเพื่อพร้อมเข้านอนและไม่ทําให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นที่รบกวนการนอนหลับ

6.อาจแช่น้ำอุ่นก่อนเวลาเข้านอนหนึ่งชั่วโมงครึ่งซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายเนื่องจากการเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายแล้วปล่อยให้เย็นลงจะเป็นการส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่าถึงเวลาเข้านอนแล้ว

สุขภาพแข็งแรง

7.ลดการดื่มน้ำก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อยๆ

เมื่อคุณปรับนาฬิกาชีวิตอย่างเหมาะสมและจัดเวลาทำกิจกรรมให้สอดคล้องกันแล้ว สุขภาพเป็นเลิศก็อยู่ใกล้แค่ปลายมือ ผู้ห่วงใยสุขภาพจึงควรเคารพ 7 กติกานี้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับข้อมูลดีๆในวันนี้ที่เรานำมาฝาก ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ หากใครที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี ร่างกายที่แข็งแรง ขอให้นำไปปรับใช้ให้เป็นกิจวัตรประจำวันแล้วคุณก็จะมีสุขภาพที่ดี เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่มีใครสามารถบังคับคุณได้ นอกจากที่คุณจะบังคับตัวคุณเอง หมั่นดูแลและรักษาสุขภาพ ชีวิตคุณเป็นของคุณ อย่าฝากชีวิตไว้กับโรงพยาบาลมากนัก เพราะถ้าคุณหมั่นดูแลตนเองก็จะทำให้คุณมีสุขภาพที่ดี ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล มีเงินเก็บ มีความสุขและสามารถใช้ชีวิตอยู่กับคนที่คุณรักได้ยาวนานขึ้นค่ะ

ที่มา: นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 307

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

7 เทคนิค พักผ่อน เสริมข้อแข็งแรง

เป็นคนนอนไม่หลับ ไม่อยากกินยา แก้ได้บ้างไหม 

ตื่นนอนแล้วเวียนหัว แก้อย่างไรดีให้ถูกจุด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.