การฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตาย, เสี่ยเกาะเต่า, เก๋

ฆ่าตัวตาย : กรณีเสี่ยเกาะเต่า และเก๋ เลเดอเรอ ป้องกันอย่างไร ไม่ให้ชีวิตสูญเสีย

ฆ่าตัวตาย : กรณีเสี่ยเกาะเต่า เก๋ เลเดอเรอ ป้องกันอย่างไร

ฆ่าตัวตาย ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆอยากให้เกิดขึ้น ทั้งกับตนเองเเละคนรอบข้าง จากกรณีข่าว 2 ข่าวดัง ที่มีการฆ่าตัวตายแบบติดๆ กัน 2 ราย คือ กรณีของเก๋ เลเดอเรอ และเสี่ยเกาะเต่า ที่ทำการไลฟ์สดฆ่าตัวตาย พร้อมกับทิ้งจดหมายไว้ให้กับคนข้างหลัง (สามารถติดตามข่าวได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ได้เลย)

จากประเด็นดังกล่าว ชีวจิตออนไลน์ ขอเเสดงความเสียใจของญาติผู้เสียชีวิตด้วยครับ เพราะความจริงเเล้วการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่ไม่มีใครที่ต้องการให้เกิดขึ้น อย่างเเน่นอน

ข้อมูลจากบทความเรื่อง “ฆ่าตัวตาย ด้วยการให้รถไฟฟ้าทับ : ป้องกันอย่างไร รวมทั้งในกรณีอื่น ๆ” โดย ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า

“องค์การอนามัยโลกพบว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น มักป่วยเป็นโรคทางจิตเวชโรคใดโรคหนึ่ง หรือมีปัญหาจากการใช้สารเสพติด หรือปัญหาจากการดื่มสุรา แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง”

“และในปัจจุบันนี้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญเรื่อง การลดอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของโครงการเมืองไทยแข็งแรง คนไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) จึงทำให้อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยลดลง จากเดิมที่เคยอยู่ในอัตรา 7 ถึง 8 ต่อ 100,000 ประชากรต่อปี ลดลงมาล่าสุดอยู่ที่ 6.3 ต่อ 100,000 ประชากรต่อปี เท่านั้น”

และที่สำคัญ สมาพันธ์สุขภาพจิตโลก ต้องการเน้นว่า โรคทางจิตเวชนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการฆ่าตัวตาย การรีบรักษาโรคทางจิตเวช (เช่น โรคซึมเศร้า, โรคจิตเภท ฯลฯ) อย่างไม่ชักช้า จึงเท่ากับว่าเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายในอนาคตด้วย

อ่านเพิ่มเติม:อาหารต้านโรคซึมเศร้า ปรับอารมณ์ด้านลบสู่ด้านบวก

ป้องกันการฆ่าตัวตาย
ผู้ป่วยจิตเวช ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

อ่านต่อ>>วิธีป้องกันคนรอบตัว ฆ่าตัวตาย

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.