การฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตาย, เสี่ยเกาะเต่า, เก๋

ฆ่าตัวตาย : กรณีเสี่ยเกาะเต่า และเก๋ เลเดอเรอ ป้องกันอย่างไร ไม่ให้ชีวิตสูญเสีย

วิธีป้องกันคนรอบตัว ฆ่าตัวตาย

สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้คนรอบข้างเสี่ยง ฆ่าตัวตายได้นั้น ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เเนะนำไว้ดังต่อไปนี้

อันดับเเรกสุดนั้น เราต้องมีความใส่ใจต่อคนใกล้ชิดตัวเรา  ซึ่งเป็นวิธีสำคัญอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายของคนที่เรารักได้หากเห็นว่าคนใกล้ชิดเรามีอาการหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ซึมลง แยกตัว นอนไม่หลับ เตรียมยกข้าวของที่สำคัญให้กับคนใกล้ชิด ไปบริจาคร่างกายหรือดวงตาให้กับหน่วยงานทางการแพทย์ พูดหรือบอกซ้ำ ๆ ว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป

โดยเฉพาะหากคนเหล่านั้นป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายอยู่แล้ว ถือว่ามีความเสี่ยงอย่างมาก สมควรที่จะได้พาไปตรวจรักษากับแพทย์โดยด่วน เพื่อจะได้ประเมินความเสี่ยงและให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะได้ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ยังรณรงค์ให้เห็นความสำคัญที่จะช่วยเหลือในกลุ่มของญาติ หรือคนใกล้ชิดที่ต้องสูญเสียคนที่ตัวเองสนิทมากไปกับการฆ่าตัวตาย หรือเรียกว่า “ผู้ทุกข์ใจเพราะคนใกล้ชิด ได้เสียชีวิตจากการปลิดชีพตัวเอง (suicide survivors)”

เนื่องจากพบว่าคนเหล่านี้หลายคนที่มีปฏิกิริยาจากความสูญเสีย พลัดพรากจากไปของคนใกล้ชิด บางคนซึมเศร้า โทษตัวเองว่าเป็นผู้ผิดหรือเป็นเหตุให้คนใกล้ชิดต้องฆ่าตัวตาย

โดยคนเหล่านี้หลายคน ไม่ได้มารับบริการรับคำปรึกษาหรือตรวจรักษาจากทางการแพทย์ เพราะเข้าใจว่า เวลาจะเยียวยาใจหรือปล่อยไปสักพักก็คงทำใจได้เองในทางการแพทย์ได้มีหลัก ง่าย ๆ อยู่ว่า

“หากปฏิกิริยาเศร้าโศกเสียใจนั้นมีมากเกินไป จนคนเหล่านั้นไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตในสังคมตามปกติได้ หรือเป็นเวลานานเกินไป คือนานกว่า 3 ถึง 6 เดือน ก็ให้ถือว่าควรพามารับบริการทางการแพทย์โดยเร็ว”

อ่านเพิ่มเติม: ชนะเครียด หยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

อ่านต่อ>>>5 Steps ช่วยเหลือคนที่มีอาการเศร้า หรือ ฆ่าตัวตาย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.