ไข้หวัดใหญ่, โรคไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัด, ไข้หวัด, ป้องกันไข้หวัดใหญ่, รักษาไข้หวัดใหญ่

10 ข้อต้องรู้ ป้องกันและรักษา ไข้หวัดใหญ่

10 ข้อต้องรู้ ป้องกันและรักษา ไข้หวัดใหญ่

แม้โรค ไข้หวัดใหญ่ จะเป็นโรคสามัญที่มีคนไข้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทุกวัน และเคยเป็นกันแทบทุกคน คนละหลายๆ รอบ ขนาดคนในวงการ แพทย์เองก็ยังไม่รู้ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการรับมือกับโรค ไข้หวัดใหญ่ วันนี้ผม (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์) จึงขอถือโอกาสเขียนเรื่องหญ้าปากคอกสำหรับโรคง่ายๆ อย่าง ไข้หวัดใหญ่สักครั้ง

 

1. ประเด็นเชื้อไข้หวัดใหญ่

เชื้อไข้หวัดใหญ่แบ่งเป็นชนิด A, B, C, D ชนิด D เกิดในสัตว์เท่านั้น ที่เกิดในคน เป็นเจ้าประจำคือชนิด A ซึ่งเกิดมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ รองลงไปคือชนิด B เชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด A ยังเรียกชื่อแยกย่อยไปตามโปรตีนสองโมเลกุลที่อยู่บนผิว คือ Hemagglutinin (H) และ Neuraminidase (N)

 

2. ประเด็นกลไกการแพร่กระจายเชื้อ

ไข้หวัดใหญ่แพร่จากคนสู่คนด้วยการไอแบบ พ่นฝอย การไอของคนเรา หากไอแบบจริงๆ แล้วจะพ่นไอน้ำออกมาเป็นฝอยละออง (Aerosol) ได้กว้างไกลมาก ฝอยละอองนี้จะเล็กและเบา ซึ่งล่องลอยไปได้ไกลแสนไกล ลอยไปตามระเบียง ตามเฉลียง เข้าห้องโน้นออกห้องนี้โดยไม่ตกพื้น สักที ทำให้ไข้หวัดใหญ่แพร่ได้รวดเร็วอย่างยิ่ง

การที่คนป่วยสวมผ้าปิดปากปิดจมูกช่วยยับยั้งการพ่นฝอยนี้ได้ดี แต่หากคนป่วยที่ไม่ปิดปาก ปิดจมูกแม้เพียงคนเดียวไอในที่ชุมนุมชน เช่น ในช็อปปิ้งมอลล์ รถไฟฟ้า เครื่องบิน แม้เพียง ไอแค่กเดียว ก็จะแพร่เชื้อไปในอากาศได้ยาวนาน และกว้างไกลอย่างคาดไม่ถึง ใครที่สูดลมหายใจ เอาฝอยละอองนี้เข้าไปแม้เพียงนิดเดียวขณะที่ ตัวเองไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนอยู่ก่อน ก็จะติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ได้ไม่ยาก

 

3. ประเด็นระยะฟักตัวของโรค

เมื่อได้รับเชื้อมาโดยการสูดฝอยละอองที่มีเชื้อ เข้าสู่ปอด เชื้อจะซุ่มฟักตัวอยู่ในร่างกายนาน 18 – 72 ชั่วโมง ดังนั้นคนที่ถูกเพื่อนไอใส่ หากผ่านไปแล้วสามวันไม่มีอาการอะไร ก็ให้สันนิษฐานว่ารอดตัวได้

ไข้หวัดใหญ่, โรคไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัด, ไข้หวัด, ป้องกันไข้หวัดใหญ่, รักษาไข้หวัดใหญ่
สวมผ้าปิดปากปิดจมูกเวลาไอ จาม ช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ได้

4. ประเด็นระยะแพร่เชื้อต่อไปให้คนอื่น

ความสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นจะต่างกัน ระหว่างผู้มีภูมิคุ้มกันปกติกับผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กล่าวคือ ผู้มีภูมิคุ้มกันปกติจะแพร่เชื้อนี้ได้แทบ จะทันทีตั้งแต่ได้รับเชื้อมา คือแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ ยังไม่มีอาการด้วยซ้ำ (เฉลี่ย 0 – 24 ชั่วโมงก่อนมี อาการ) และจะสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้นาน 5 – 10 วัน แต่สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรค จะสิงสู่อยู่ในร่างกายได้นานและมีเวลาแพร่เชื้อต่อ ไปให้คนอื่นได้อีกหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน

 

5. ประเด็นอาการป่วย

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่คือ มีไข้ (สูงได้ถึง 40 องศาเซลเซียส) คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อปวดข้อปวดเบ้าตา แสบตา แพ้แสง คลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้ มักคงอยู่นาน 4 – 6 วัน แต่แม้อาการอื่นๆ ทุเลาแล้ว อาการไอแห้งๆ อาจคงอยู่นานถึง 4 – 6 สัปดาห์

 

 

 

 

<< การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.