3 โรคเสื่อม เสี่ยง กระดูกพรุน
โรค กระดูกพรุน ส่วนใหญ่มักพบในคนไข้ผู้สูงอายุ เฉลี่ยอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงช่วง 5 ปีแรกของการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะสูญเสียมวลกระดูกมาก เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว
โรคกระดูกพรุนยังพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร ซึ่งมีความผิดปกติในการดูดซึมแคลเซียม หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับและไตก็เข้าข่ายมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนเช่นกัน คุณหมอจึงยกตัวอย่าง 3 โรคร้ายที่เมื่อเป็นแล้วทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็นกระดูกพรุนค่ะ
1. โรคเบาหวาน (Diabetes)
ภาวะกระดูกพรุนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ในที่นี้หมอจะกล่าวถึง 2 ประเภท คือ โรคเบาหวาน
ประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) อันเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จนเกิดภาวะด้อื อินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งพบในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่
ผลกระทบต่อกระดูกจากโรคเบาหวานประเภทที่ 1 คือ เกิดน้ำตาลจับตัวกับเนื้อเยื่อในเซลล์ต่างๆ
เช่น คอลลาเจน แล้วเกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น หรือ AGEs (Advanced Glycation End Products) ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ซึ่งพบว่าโรคเบาหวานชนิดนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เกิดความเสื่อมของเซลล์ในกระดูก ทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วชัดเจนมากลุกลามไปจนถึงกระดูกหักได้ เนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดสะสมสูงเกินไป
ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้รับผลกระทบจากการที่ได้รับยากลุ่ม TZD-Pioglitazone (ยากลุ่มไพโอกลิตาโซน) เป็นเวลานานเพื่อรักษาอาการ แล้วยากลุ่มนี้ไปยับยั้งการสร้างของมวลกระดูกเกิดใหม่ส่งผลให้กระดูกแตกเปราะ ทั้งมวลกระดูกยังเสื่อม บางลง หักง่าย โดยเฉพาะเมื่อตรวจสแกนที่เครื่องตรวจมวลกระดูกจะพบว่ามีจุดสีขาวในมวลกระดูกจำนวนมาก นั่นคือสาเหตุของการเป็นภาวะกระดูกพรุนของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้