กระดูกพรุน กระดูก วัยทอง โรคไต โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง

3 โรคร้ายที่เมื่อเป็นแล้ว ทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็น กระดูกพรุน

3. โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

โรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวอย่างผิดปกติของถุงลมส่วนปลาย ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในกลุ่มโรคปอดอุดตันเรื้อรังส่วนใหญ่พบในคนไข้เพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุเบื้องต้นจากการเป็นโรคหลอดลมเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ขาดเอนไซม์ในปอด แถมยังมีปัจจัยเรื่องการสูบบุหรี่ร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยสุด รวมทั้งการรับสารพิษหรือมลพิษทางอากาศเป็นเวลานาน ก็ทำให้ถุงลมในปอดไม่ทำงาน เกิดการขยายจนโตเกินขนาด

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการหายใจเร็ว สัมพันธ์กับออกซิเจนในปอดที่ลดลง จึงทำให้เวลาหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวลาเดินหรือทำงานในชีวิตประจำวันอาการหายใจยิ่งลำบาก เป็นมากในขณะหายใจออกมากกว่าการหายใจเข้า เพราะมีการอักเสบของหลอดเลือดภายในปอด

สาเหตุของการป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนของคนไข้ถุงลมโป่งพองมี 3 สาเหตุหลัก คือ

  • อาการเหนื่อยง่าย ทำให้มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว จึงไม่มีการออกกำลังกาย ทำให้กระดูกเสื่อมสภาพได้เร็ว ไม่มีการเสริมสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองนั้นขาดวิตามินดี การไม่ได้รับวิตามินดีจากแสงแดดทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เกิดการอักเสบภายใน ทำให้มวลกระดูกลดลง เกิดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก
  • การได้รับยาสเตียรอยด์หรือยาปฏิชีวนะในกลุ่มขยายหลอดลมซึ่งต้องกินเป็นระยะเวลานาน ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ทำลายมวลกระดูก

กระดูกพรุน กระดูก วัยทอง โรคไต โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง

3 โรคเสื่อมนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนที่อันตราย สำหรับการรักษาภาวะกระดูกพรุน ในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธิ ได้แก่ ให้ยากลุ่มลดอัตราการสลายของมวลกระดูกและให้ยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก

ทั้งนี้การใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุนควรจะอยู่ภายใต้คำแนะนำที่เหมาะสมจากแพทย์ เนื่องจากยาแต่ละประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน

ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกพรุนจึงดีที่สุด การกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงเป็นประจำ เช่น นม โยเกิร์ต ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ปลาตัวเล็กตัวน้อยกินได้ทั้งกระดูกรวมถึงการรับวิตามินดีจากแสงแดดบ่อยๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณวันละ 15 – 20 นาที นับเป็นวิธีการป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ดีที่สุดค่ะ

 

จาก คอลัมน์ HAPPY BONE นิตยสารชีวจิต ฉบับ 494


บทความน่าสนใจอื่นๆ

แนะวิธีลดเสี่ยง กระดูกพรุน กระดูกหักซ้ำ

คู่มือเปลี่ยนชีวิต หยุดกระดูกพรุน หัก เสื่อม

4 อาหาร ป้องกันกระดูกพรุน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.