สมุนไพร

มาดูกันว่าสมุนไพรใดแก้โรคอะไรให้ผู้สูงวัยได้บ้าง!

มาดูกันว่าสมุนไพรใดแก้โรคอะไรให้ผู้สูงวัยได้บ้าง!

คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่ากลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมและโรคที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตไขมัน/น้ำตาลในเลือดสูง สมองเสื่อม ไปจนถึงอาการอ่อนเพลีย ล้วนสามารถใช้สมุนไพรที่คนไทยเราคุ้นเคยเป็นอย่างดีบรรเทาได้ นับว่าการใช้สมุนไพรในผู้สูงอายุเช่นนี้เหมาะกับสภาวะร่างกาย ซึ่งเริ่มเสื่อมจากวัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทําให้ประสิทธิภาพในการขับสารพิษตกค้างด้วยตนเองลดลงลดการใช้ยาเกินความจําเป็นซึ่งอาจไปสะสมที่ตับ อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

“ชีวจิต” จึงคัดสรรสมุนไพรไทยใกล้ตัวพร้อมสรรพคุณและวิธีใช้อย่างง่ายจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นฐานข้อมูลของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มานําเสนอ

ลดความดันโลหิตสูง

บัวบก ใช้ต้นบัวบกสด มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้ นอกจากนี้ยังใช้บํารุงกําลัง บํารุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้าได้ดี ใช้ต้นสด30-40 กรัม  ผสมกับน้ำ 1 แก้ว(ประมาณ250 ซีซี) คั้นและกรองเอาแต่น้ำ ดื่มติดต่อกัน5-7 วัน

กระเทียม นํากระเทียมสดขนาดกลาง 1-2 กลีบ(5กรัม) มาสับหรือบด และตวงให้ได้ราว 1 ช้อนชา กินพร้อมอาหารวันละ 3เวลา มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรกินตอนท้องว่าง เพราะจะระคายเคืองกระเพาะได้

ลดระดับน้ำตาลในเลือด 

มะระขี้นก โดยนําผลสด 8-10 ผล ผ่าและเอาเมล็ดออก สับละเอียดแล้วเติมน้ำลงไปเล็กน้อย กรองน้ำมาดื่ม กินทุกวันแบ่งกินวันละ 3 เวลาหลังอาหาร ติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน จนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงหากพบว่าน้ำคั้นมีรสขม เกินไป ให้นํามาลวกน้ำร้อนและกินกับน้ำพริกแทนตําลึง นํายอดตําลึงสดประมาณ  1 กํามือ ลวกพอสุก ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนําไปปรุงอาหารอื่นๆ  กินติดต่อกันเป็นเวลา 1-3 เดือน หรือจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง

ลดไขมันในเส้นเลือด

กระเจี๊ยบแดงนํากลีบรองดอกสีม่วงแดงไปตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด  แก้ว(ราว250ซีซี)  ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย บํารุงกําลัง บํารุงธาตุ บํารุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกายได้

เสาวรส โดยเลือกผลที่แก่จัด ล้างสะอาดและผ่าครึ่ง ตักเนื้อมาคั้นเอาแต่น้ำดื่มสดๆ หรือปรุงรสโดยเติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย  ดื่มเป็นน้ำผลไม้ และมีสรรพคุณอื่นๆ เช่น บํารุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส มีสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

สยบเบาหวาน

เตยหอมนําใบแก่จัดสัก 10 ใบ มาหั่นตากแดดแล้วชงดื่มแบบชาหรือใส่หม้อดินต้ม ดื่มต่างน้ำทุกวัน ควรดื่มอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไปจึงจะ เห็นผล นอกจากช่วยบรรเทาโรคเบาหวานแล้ว ยังเป็นยาบํารุงหัวใจ ขับปัสสาวะ และแก้กระษัยได้อีกด้วย

กะเพรา นําใบสดสัก 1-2 กํามือ  หรือแบบตากแห้งมาบดเป็นผงราว  ช้อนชา ต่อน้ำ  1 แก้ว(ราว250ซีซี) ชงเป็นชาดื่มหลังมื้ออาหาร ผลวิจัยพบว่า ใบกะเพราทําให้เซลล์ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวานขั้นต้น

ต้านสมองเสื่อม

ขมิ้นชัน นําเหง้าแก่สดยาวประมาณ2นิ้วมาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตําให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ  กินครั้งละ2ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง หรือกินแบบแคปซูล  วันละ1,000 มิลลิกรัม มีการศึกษาพบว่า ในกลุ่มคนเอเชียทีกินขมิ้นชัน เป็นประจําทุกวัน จะมีอัตราการเป็นอัลไซเมอร์น้อยกว่าคนในแถบยุโรปที่ไม่ได้กินขมิ้นชันเกือบ 5 เท่า นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณ ต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

พริกไทย ใช้ผงป่นมาปรุงอาหารที่กินเป็นประจําหรือกิน เป็นแคปซูลวันละ 1,000 มิลลิกรัม พร้อมกับอาหารทุกมื้อ ไม่ควรกินขณะท้องว่าง เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารนักวิจัยพบว่า สารพิเพอรีนในพริกไทยมีสรรพคุณต้านสมองเสื่อม ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และต้านมะเร็งได้

บํารุงธาตุแก้อ่อนเพลีย

มะพร้าว ดื่มน้ำจากผลอ่อนวันละ 1 ผล ผ่าแล้วควรดื่มทันที ไม่ต้องเติมน้ำตาล นอกจากช่วยบํารุงธาตุแล้ว ยังแก้กระหาย  แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ และขับนิ่วก้อนเล็กๆ ได้อีกด้วย ที่สำคัญใช้ดื่มเพื่อบรรเทาอาการท้องเสียในกรณีที่ขาดแคลนน้ำเกลือแร่ได้เลยมะตูมนําผลโตเต็มที่มาฝานเป็นแว่นๆ แล้วตากแห้ง คั่ว ให้เหลืองหอม     นําไปชงน้ำดื่ม โดยใช้มะตูม 2- 3 ชิ้น ต่อน้ำ1 กา ชงในน้ำเดือด จิบตลอดวัน นอกจากมีสรรพคุณช่วยบํารุงธาตุแล้ว ยังช่วยขับลม แก้ท้องเดิน หรือท้องเสียได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามแม้ว่า การแพทย์แผนไทยอจจะดูไม่ทันสมัยนัก แต่ถ้ามองกันลึก ๆ แล้วมีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง ที่น่าสนใจ และไม่ได้แตกต่างจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากนัก ถ้าเราผสมผสานกันระหว่างการใช้ชีวิตและแบบใหม่และแบบดั้งเดิมให้เหมาะสม เราจะมีสุขภาพทางจิตที่ดีขึ้นค่ะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เครื่องดื่มประเภทไหน เหมาะกับผู้สูงอายุมากที่สุด

“โยคะ” หนึ่งในการออกกำลังกายที่ค่อนข้างปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ

เลือกอาหารแบบไหนถึงดีต่อสุขภาพ และระบบทางเดินอาหารของสว.

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.