มารู้จักโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันกันเถอะ

หากพูดถึงการเสียชีวิตของคนไทยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ โรคที่ทุกคนนึกถึงเป็นอันดับแรกคงหนีไม่พ้น โรคมะเร็ง แต่ความจริงแล้ว โรคหัวใจนี่แหละที่เป็นตัวการอันดับ 1 ในการคร่าชีวิตคนไทย และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของประเทศ หนึ่งในโรคหัวใจที่น่ากลัวที่สุด คือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ (Coronary artery) มีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบเล็กลง หรือตีบตัน ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย ส่งผลกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ และมีผลให้อวัยวะในส่วนต่าง ๆ ขาดเลือด หากหลอดเลือดตีบแคบมากจนอุดตัน อาจส่งผลให้บางรายเสียชีวิตแบบกะทันหันได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มี 2 ประเภท

1. ปัจจัยที่ควบคุมได้ :

เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิด : การกินอาหารที่มีรสชาติเค็มเกินไป การกินคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินพอดี

การสูบบุหรี่ : คนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ ถึง 2 – 4 เท่า เนื่องด้วยบุหรี่ทำให้เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อม

– โรคความดันโลหิตสูง : ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หัวใจจะทำงานหนักขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจเราจะโตขึ้น จนทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแข็ง และเกิดการอุดตัน ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

– ผู้ที่มีระดับไขมันแอลดีแอลโคเลสเตอรอลสูง : ไขมันแอลดีแอลโคเลสเตอรอล จะเข้าไปทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดความหนา ส่งผลให้หลอดเลือดแคบลง จนทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดภาวการณ์อุดตัน และส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

– โรคเบาหวาน : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดความเสื่อมที่หลอดเลือด สำหรับไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ความอ้วน : ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก. / เมตร2 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ โดยสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักตัว(หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง(หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลัง 2  อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย แม้มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก. / เมตร2 ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

2. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ :

– อายุ : ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นเท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน จะเพิ่มขึ้นตามด้วย

– พันธุกรรม : สำหรับผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดหัวใจตีบตัน จะเพิ่มความเสี่ยงแก่ตัวเอง

– เพศ : ผู้ชายจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน

shutterstock_237590182

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. ไม่แสดงอาการรุนแรง : อาการในแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แต่จะเกิดขึ้นในลักษณะของการสะสมของคอเลสเตอรอล ไขมัน และของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ โดยสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อสะสมถึง 70 % อาการถึงจะแสดงออกชัด เช่น แน่นหน้าอก คล้ายมีบางอย่างมากดทับ และรู้สึกร้าวไปทั้งแขนด้านซ้าย นอกจากนี้ยังรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ มักเกิดขึ้นกับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่าง 1. คนที่เป็นโรคเบาหวาน 2. คนที่เป็นโรคความดัน 3. คนที่มีไขมันในเลือดสูง และคนที่สูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ

2. อาการที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน เช่น วิ่งอยู่ในฟิตเนสแล้วเกิดหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย โดยไม่มีอาการใดนำมาก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการฉีกขาดของหลอดเลือดภายใน ส่งผลให้เกร็ดเลือดมารวมตัวกันอย่างรวดเร็ว เพื่อมาอุดรอยแตกนั้น โดยใช้ระยะเวลาการเกิดไม่ถึงนาที ปัจจัยหลักที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการนี้ คือ การสูบบุหรี่ สำหรับคนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ ถึง 2 – 4 เท่า เนื่องด้วยบุหรี่ทำให้เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อม

shutterstock_363299588

สำหรับการรักษาโรคหลอดหัวใจตีบตันแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. การขยายหลอดเลือดด้วยการสวนหัวใจ และบอลลูนหัวใจ : เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจ ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด และมีความปลอดภัยสูง โดยแพทย์จะทำการสอดสายสวนหัวใจ เข้าไปทางหลอดเลือดที่ขา หรือแขน เมื่อถึงบริเวณหลอดเลือดตีบ จึงต่อสายบอลลูน เพื่อดันให้บอลลูนขยายตัวออก เบียดคราบไขมัน หินปูนที่เกาะอยู่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลง เพื่อให้เลือดสามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ปกติ ในบางรายอาจใช้ขดลวดที่เคลือบยามาใช้แทนขดลวดธรรมดา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายหลอดเลือด ซึ่งการใช้ขดลวดดังกล่าว มีความปลอดภัย และช่วยลดปัญหาเรื่องการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำได้อีก

2. การผ่าตัดทำทางเบิ่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือ การทำบายพาสหัวใจ : ขั้นตอนการผ่าตัดบายพาสหัวใจ โดยทั่วไปจะใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทั้งหมด แต่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ทีมแพทย์ของเรามีความเชี่ยวชาญการผ่าตัดบายพาสแบบหัวใจยังเต้นอยู่ โดยไม่ใช้ เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดแบบนี้คือ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแทรกซ้อนจากเครื่องปอดหัวใจเทียม ทำให้ใช้ปริมาณเลือดในการผ่าตัดน้อยลง และช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัดให้สั้นลง ตลอดจนใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นกว่าแบบหยุดการทำงานของหัวใจ

shutterstock_58495486

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มุ่งเน้นการรักษาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัด ด้วยการดูแลของทีมแพทย์สหสาขา ด้วยความพร้อมของทีมพยาบาลและทีมสนับสนุนในด้านต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีทันสมัย ที่จะช่วยให้มีความปลอดภัยในการพักฟื้น มีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด เน้นการให้บริการและการดูแลที่เอาใจใส่ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในการรับบริการ อีกทั้งมีบริการ 24/7 Heart Care Emergency  Service มีทีมแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคหัวใจตลอด 24 ชม. ทุกวัน แม้ในเวลากลางคืน ยิ่งรักษาให้เร็วจะลดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจน้อยที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และการรักษา
สอบถามโรงพยาบาลโรคหัวใจ กรุงเทพ โทร 1719

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.