หยุดออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตคนทำงาน

หยุดออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตคนทำงาน

หนุ่มมสาวยุคโซเชียลเน็ตเวิร์คเลิฟเวอร์ในปัจจุบันสามารถหาข้อมูลอย่างรวดเร็วฉับไวเพียงแค่คลิกเมาส์เท่านั้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะปรากฏยังหน้าจอ ทําให้ไม่ต้องออกแรงเดินไปไหนให้เมื่อย แต่ความสะดวกสบายนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะทางร่างกายทําให้มีอาการปวดบริเวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไหล่ คอ หลัง สะบัก ข้อมือ กระบอกตา หรือมีอาการ ชามือและเท้า ซึ่งเหล่านี้คืออาการของ “ออฟฟิศ ซินโดรม”

ออฟฟิศซินโดรม(Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่มักพบในกลุ่มคนวัยเรียนและวัยทํางานที่ต้องเผชิญกับความเครียดและความกดดันต่างๆ มากมาย ทั้งจากสภาพแวดล้อมและภาวะงานที่เร่งรัดทําให้ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อนมีสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการ คือ การดําเนินชีวิตที่ผิดไปจากวิถีธรรมชาติ เช่น การทํากิจกรรมใดซ้ำเดิมนานๆ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหดหรือเกร็งตัวค้างจนบาดเจ็บสะสม หรือจากพฤติกรรมกินอาหารที่ไม่เหมาะสม

สาเหตุอีกประการหนึ่งคือความเครียดหรือความวิตกกังวลซึ่งจะสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อและจะแสดงออกมาด้วยอาการปวดเกร็งบริเวณบ่า คอ หลังและศีรษะ บางรายที่เครียดลงกระเพาะอาหารอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย หรือเป็นโรคกระเพาะอาหารได้ เพราะความเครียดจะไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากกว่าปกติ นอกจากอาการจุกจิกกวนใจดังที่ได้กล่าวข้างต้นออฟฟิศซินโดรมยังเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายอื่นๆ ที่จะตามมา ทั้งกระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไมเกรน และหอบหืด

ดังนั้น ก่อนที่จะสายเกินไปเรามาเรียนรู้สาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรมต่างๆ เพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุดกันดีกว่า

Neurobion3

โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นได้อย่างไร

ส่วนใหญ่โรคนี้เกิดจากการนั่งทํางาน ไม่ถูกท่า คือ นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าหลังค่อม ตัวโน้มไปข้างหน้า มือวางคว่ำไว้บนแป้นพิมพ์ ซึ่งทําให้แขนบิดคว่ำตาม ถ้าแป้น พิมพ์อยู่สูงกว่าปกติยิ่งทําให้ต้องยกและห่อไหล่เข้าหากัน เมื่ออยู่ในท่านี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อที่พยุงตัวและกระดูกจะต้องหดเกร็งอยู่ในท่าเดิมทําให้เกิดอาการเมื่อยล้าจนกระทั่งกล้ามเนื้อทนไม่ไหวส่งผลให้มีอาการเจ็บตามกล้ามเนื้อขึ้นมา หรือที่เรียกว่าอาการปลายประสาทอักเสบได้ โดยมักมีสัญญาณเริ่มต้นอย่างอาการมือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค ไปจนถึงการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ เพราะกล้ามเนื้อไปกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้

นายแพทย์จตุพร โชติกวณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปีดิคส์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บอกว่า ออฟฟิศซิน โดรม คือกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการทำงานหนัก ทั้งอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดมือ ล้าสายตา ปวดหัว ฯลฯ คือภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานหนัก หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Over Use หมายถึง ทำงานมากไม่สมดุลในชีวิต จะถูกเรียกว่า กลุ่มอาการของออฟฟิศ ซินโดรม ทั้งหมด

อาการออฟฟิศซินโดรมที่ต้องพึงระวัง

  1. ปวดหัวไหล่-ปวดหลัง เกิดจากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้ปวดเมื่อยบริเวณสะบักหัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง เหมือนมีคนเอามือมากดแรงๆ ที่หัวไหล่ลามไปจนถึงปวดหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเกิดอาการล้าจากการใช้งานหนัก
  2. ปวดตา-ปวดศีรษะ เกิดจากการที่ต้องจ้องที่จอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตาเกร็งจนเกิดอาการล้า ตาแห้ง น้ำตาไหลระคายเคืองตา ตามัว ปวดตา และอาจลุกลามไปถึงการปวดศีรษะ ส่วนในรายที่เป็นโรคไมเกรน หรือโรคปวดศีรษะข้างเดียวอยู่แล้ว อาการปวดก็จะหนักขึ้น
  3. ปวดข้อมือ เกิดจากภาวะผังผืดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดมือและร้าวขึ้นไปที่แขน รวมทั้งมักมีอาการชาที่นิ้วมือ โดยเฉพาะในเวลานอนหรือเวลาตื่นนอนตอนเช้า หากบางรายมีอาการหนักมือจะเริ่มอ่อนแรง ไม่มีแรงกำมือ สาเหตุเกิดจากการใช้งาน และวางตำแหน่งของข้อมือ ในท่าเดียวกันนานๆ โดยเฉพาะเมื่อข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่กระดกขึ้น หรืองอลงมากๆ เป็นเวลานาน เช่น การพิมพ์คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์

Neurobion2

เป็นแล้วทำอย่างไร

สำหรับคนที่ป้องกันไม่ทัน เป็นไปแล้ว วิธีการรักษารักษาระยะสั้นจะเป็นไปตามอาการคือ หากปวดเมื่อยก็ให้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาแก้อักเสบ แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด แต่การรักษาแบบนี้ก็เป็นเพียงการบรรเทาอาการเท่านั้น โรคนี้จะไม่หายขาดตราบใดที่เรายังใช้งานร่างกายอย่างหนัก

วิธีช่วยรักษาระยะยาว

สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคออฟฟิศ ซินโดรม อีกอย่างคือ การเปลี่ยนทัศนคติของตัวเอง ให้เป็นคนไม่เครียด และมองโลกในแง่ดีเสมอ เพราะแม้จะยังไม่มีผลงานวิจัยรายงานที่แน่นอน แต่จากการทำงานรักษาผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม มากว่า 20 ปี พบว่าคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ค่อนข้างเครียด หรือมีปัญหาที่ทำงาน ปัญหาทางบ้าน แทบทั้งสิ้น ซึ่งความเครียดไม่ได้ส่งผลแค่กับโรคนี้เท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งโรคร้ายอีกหลายโรค

ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคปลายประสาทอักเสบจึงต้องแก้กันที่พฤติกรรมโดยรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายป็นประจำ และเปลี่ยนอิริยาบถขณะนั่งทำงานทุกชั่วโมง ไม่นั่งติดโต๊ะนานจนเกินไป

หรือถ้าให้ดีควรให้ร่างกายได้รับวิตามินบี 1 วิตามินบี 6  และวิตามินบี 12 ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการบำรุงระบบประสาท มีส่วนช่วยในการให้พลังงานเซลล์ประสาท สร้างสื่อประสาท และช่วยซ่อมแซมเส้นประสาท ซึ่งจะส่งผลต่อการลดอาการชาปลายมือปลายเท้า รวมถึงอาการปวดร้าว แสบ แปล็บ และเจ็บจี๊ด โดยจากการศึกษาต่างๆ พบว่า วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ร่วมกันทั้งสามชนิดจะให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคปลายประสาทอักเสบที่ดีกว่าวิตามินบีแบบตัวเดียว

เช็กร่างกาย ระวังภัย ก่อนเข้าข่าย “ออฟฟิศซินโดรม”

แม้เราจะป้องกันตัวเองได้เบื้องต้น แต่หากเกิดอาการขึ้นมาแล้วออฟฟิศซินโดรมก็ ไม่ใช่แค่โรคธรรมดาที่กินยา นอนพักแล้วหาย แต่เป็นอาการของโรคที่อาจส่งผลร้ายในระยะยาวกับร่างกาย จากพฤติกรรมที่คุณเองเป็นคนสร้าง ฉะนั้นอยากห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม แล้วละก็อย่าลืมดูแล และป้องกันตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ

อย่าชะล่าใจจนแล้วปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

ทางที่ดีหากใครพบอาการผิดปกติที่เสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรมและอาจลุกลามไปสู่การเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที หรือหากว่าการอักเสบของเส้นประสาทบางตำแหน่งมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินบางชนิด ควรได้รับการแก้ไขด้วยการรับวิตามินเสริมอย่างเพียงพอ ก็อาจทำให้หายจากอาการและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาท ทำให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้นอีกด้วย ทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข สุขภาพดี ห่างไกลโรคนั่นเอง

และข่าวดีสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแหล่งตรวจโรคปลายประสาทอักเสบอยู่นั้น ตอนนี้คุณสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นได้ที่บูธกิจกรรม “Nerve Check Activation” ตามร้านยาทั่วไป โดยสามารถเช็กตารางวัน เวลา และสถานที่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook “อย่าเฉย เมื่อเกิดอาการชา” (add link https://www.facebook.com/careyournerve/ ) ซึ่งยังมีข้อมูลมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ มากมาย เช่น โรคปลายประสาทอักเสบ, การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการ เช่น อาหาร วิตามินที่ควรได้รับ ท่าบริหารร่างกาย NeuroMove (นิวโรมูฟ) อีกด้วย

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.