สัปปายะ

สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย “อยากให้คนไทย” ป่วยน้อยลง

สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย 

วันนี้ ชีวจิตอยากชวนคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย ของคุณหมอคนเก่ง หมอนัท – ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทยยุคใหม่ ผู้เป็นลูกชายของ หมอแดง – วีระชัย วาสิกดิลก เจ้าของแนวคิด “ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น”

ซึ่งในอดีตรุ่นคุณพ่อ หรือหมอแดงได้เปิดคลินิก ดิ อโรคยา ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย” ซึ่งถึงแม้ชื่อจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่ความตั้งใจในการเป็นแพทย์ทางเลือก ที่อยากเห็นคนไทยป่วยน้อยลง และอยากให้ทุกคนหันมาดูแลตัวเองยังคงเดิม ตามคอนเซ็ปต์ “หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง”  

หมอนัท เล่าให้ฟังถึงที่มาของการเปลี่ยนชื่อคลินิกจาก ดิ อโรคยา มาเป็น สัปปายะ ว่า ช่วงโควิดมีกฎหมายออกมาให้ต้องเปลี่ยนชื่อจากดิ อโรคยา ที่ความหมายอาจฟังดูเกินจริง คือ มาถึงแล้วจะหายได้เลย จึงส่งชื่อเข้าไปหลายชื่อมากให้ทางหน่วยงานพิจารณาเลือก จนสรุปได้ออกมาเป็น “สัปปายะ” ซึ่งก็ตรงกับความตั้งใจของการก่อตั้งคลินิกคือ อยากให้เป็นพื้นที่ที่จะทำให้เกิดความสุขและความสงบอย่างแท้จริง

 “ส่วนตัวผมชอบชื่อสัปปายะมากๆ นะ เราอยากเอาคำว่าสัปปายะมาเปลี่ยนในวันที่คนรู้สึกมีความทุกข์ ป่วยเป็นโรคหนักๆ ชีวิตไม่มีทางออก แล้วพอได้มาเจอสัปปายะก็อยากให้คิดว่า บางทีเราป่วยได้ แต่ก็ไม่ต้องทุกข์ตามไปด้วย เพียงแค่เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการกินการอยู่  กลับมามีความสุขกับชีวิต

“อันนี้คือเป้าหมายของ “สัปปายะ” ที่แท้จริง คือ ให้คุณได้กลับออกไปแล้วมีความสุข มีความสงบ และหาทางออกให้กับโรคภัยที่เป็นได้อย่างแน่นอน” 

สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย

ยังคงแนวคิด “หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง”

คำว่า “หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง” มีความหมายที่ลึกซึ้งต่อสุขภาพ หมอนัทอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า

พอเราเอาความหมายของสัปปายะมารวมกับความตั้งใจต่องานของเรา ง ที่ตั้งต้น ให้คนดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นจุดยืนมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อแล้ว ตามคอนเซ็ปต์ที่คุณพ่อจะบอกเสมอว่า “หมอที่ดีที่สุดคือตัวเรา

“พอมาถึงรุ่นของผมก็จะบอกว่า หมอที่ดีที่สุดอยู่ในตัวคุณเอง เรียกว่าเป็นจุดยืนของ สัปปายะในปี 2568 ก็ได้ เรามองว่าทำอย่างไรก็ได้ให้คนสามารถกลับมามองเห็นปัญหาที่แท้จริงของโรคที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ทำยังไงก็ได้ให้คนอยากกลับมารักตัวเอง กลับมาดูแลตัวเอง มีความสุขกับตัวเอง ไม่ใช่แค่ว่ามาแล้วต้องกินยาอะไร แต่มาแล้วควรจะรู้สึกว่าเราต้องดูแลตัวเองยังไง

“คนเรามักไม่ค่อยดูแลร่างกายตัวเอง บางคนใช้งานหนักเหมือนเครื่องจักร ใช้ร่างกายจนคุ้มเกินคุ้ม พอไม่สบายก็ไปแก้ที่ปลายเหตุ ไปกินยา ไปหาหมอให้หมอดูแล ฝากชีวิตไว้กับคนที่เพิ่งเจอกันไม่กี่นาที โดยไม่ฟังเสียงของร่างกายตัวเอง ทั้งๆ ที่หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง คนเราป่วยก็เพราะตัวเอง อย่างโรคภูมิแพ้ เกิดจากภูมิคุ้มกันมีปัญหา พอกินยาต้านอักเสบ ยาลดอาการบวม รักษาเรื่องหนึ่งได้ก็โผล่อีกเรื่อง

“ฉะนั้น สิ่งที่ควรทำคือต้องสังเกตตัวเอง และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเองเพื่อให้ไม่ป่วยอีก เช่น ต้องออกกำลังกายเท่าที่จะทำได้ และหลังอาหารลองกินสมุนไพรช่วยย่อย หรือโพรไบโอติก พอร่างกายกลับเข้าสู่สมดุล จึงจะสามารถเริ่มซ่อมแซมตัวเองได้”  

3 หัวใจของการบริการที่ “สัปปายะ”

หมอนัทเล่าถึงการให้บริการในคลินิกสัปปายะซึ่งมีหัวใจหลักๆ 3 ส่วน

“คนที่เป็นโรคหนักๆ ส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายเสียสมดุล ไม่ดูแลร่างกายตัวเอง ทำงานหนัก เครียด นอนน้อย ถ้าร่างกายกลับมาสู่ความสมดุลก็จะสามารถฟื้นตัวได้ คลินิกของเรารักษาโดยให้คนไข้ดูแลตัวเอง ปรับพฤติกรรม ใช้สมุนไพร ผมและเจ้าหน้าที่จะซักข้อมูลเยอะ เพื่อจะรู้ว่าป่วยเพราะอะไร

“ที่คลินิกมีวิธีการรักษา 3 อย่าง คือ 1.การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรม 2.การใช้ยา และ3.การนวด การรักษาทั้งหมดของสัปปายะ ทั้งการปรับพฤติกรรม การนวด และการใช้สมุนไพร 3 วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยหายไวขึ้น ซึ่งแต่ละบริการเราจะมีจุดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่น คือ เราจะลงลึกไปถึงเรื่องของราศี และธาตุในร่างกายของแต่ละคน  

การให้คำปรึกษาและปรับพฤติกรรม

“อย่างการปรับพฤติกรรม เราจะเน้นดูเรื่องธาตุกำเนิดได้ด้วย เช่น เกิดราศีพิจิก อาจจะมีปัญหาเรื่องธาตุน้ำ ธาตุน้ำจะมีปัญหาเรื่องน้ำเหลือง เลือด เราสามารถอธิบายให้คนไข้รู้ว่าราศีเสี่ยงโรคประเภทนี้ จะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ไม่ใช่ป่วยแค่มารักษา แต่ต้องรู้ด้วยว่าหลังจากนี้จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เช่น ออกกำลังกายประเภทคาดิโอเพิ่มขึ้น กินอาหารที่ดี เลี่ยงอาหารประเภทไหน เน้นกินอาหารประเภทไหน

การใช้ยาสมุนไพร

“การใช้ยาสมุนไพร เราจะเน้นยาตำรับเป็นหลัก เช่น ยาประสะกานพลู ช่วยย่อยอาหาร ข้อดีคือยาตำรับกินได้นาน ปัญหาน้อย ราคาไม่ได้แพงจนเกินไป และยาตำรับที่ดีต้องใช้โรงงานที่มีมาตรฐานในการผลิต มี ISO ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา(อย.) ทำให้มั่นใจได้ว่ายานี้ปลอดภัย ทางคลินิกจะมีการจัดยาให้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อน และนัดมาพบหมอเพื่อติดตามผลว่ากินแล้วมีอาการเป็นอย่างไร ไม่จ่ายยาให้ทีละเยอะๆ กินในระยะยาวจนเกินไป

“ที่สำคัญการให้ยาของคลินิกก็จะดูที่ตัวโรค ดูสาเหตุของการเกิดโรค ไม่ใช่ว่าโรคประเภทเดียวกันจะใช้ยาชนิดเดียวกัน จะจ่ายยาตามสาเหตุของโรค เช่น กรดไหลย้อนเพราะกินอาหารไม่เป็นเวลาก็ต้องใช้ยาช่วยย่อย แต่หากเป็นกรดไหลย้อนเพราะเครียดก็ต้องใช้ยาที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด ถ้ากรดไหลย้อนเพราะท้องผูกก็ต้องใช้ยาที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย

การนวด

“ส่วนเรื่องการนวด ที่สัปปายะจะแบ่งการนวดออกเป็น 2 แบบ คือนวดเพื่อแก้เส้นรักษาอาการ กับนวดเพื่อฟื้นฟูร่างกาย ยืดเหยียด นวดกดจุดฝ่าเท้า การนวดแบบนี้จะทำให้รู้ว่าผู้ที่ถูกนวดกำลังมีปัญหาส่วนไหน เช่น คนที่มีลมในช่องท้องเยอะๆ เมื่อกดจุดฝ่าเท้าหรือกดตามแนวเส้นกระเพาะอาหารก็จะรู้สึกเจ็บ

“สำหรับผู้ที่สนใจเข้ามาใช้บริการที่คลินิกต้องโทรมานัดเวลาก่อน เมื่อมาถึงตามเวลานัด จะต้องกรอกประวัติส่วนตัวทั่วไปลงในใบเวชระเบียนเหมือนไปพบแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วไป ในนั้นจะมีการบันทึกประวัติสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนไข้ เช่น เข้านอนกี่โมง ชอบรับประทานอะไร ดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน กินยาอะไรอยู่หรือเปล่า มีกิจกรรมอื่นๆ เช่น สวดมนต์ เล่นโยคะ หรือออกกำลังกายแบบไหนบ้าง เพื่อให้รู้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่ออาการป่วย จะได้หาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมกับคนไข้รายนั้นๆ เช่น คนไข้ที่ไม่กินข้าวตอนเช้าอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับเลือด  ถ้าหินข้าเย็นหนักๆ จะมีปัญหาเกี่ยวกับตับ เป็นต้น”  

อยากให้คนเข้าใจความจริงของร่างกายตนเอง    

การป้องกันก่อนป่วยถือเป็นพันธกิจที่คุณหมอส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เช่นเดียวกับหมอนัท

“ความตั้งใจของผมคืออยากช่วยกันทำให้คนป่วยน้อยลง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของคนไทยในอนาคต อยากให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง และสามารถดูแลตัวเองได้ สำหรับผมแล้วมีความสุขหนึ่งที่ไม่เคยอยู่ไกลจากเรา คือสุขที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย เข้าใจความจริงของร่างกาย นอนหลับได้สนิท ตื่นขึ้นพร้อมใบหน้าที่สดชื่น มีกำลังกายและกำลังใจพร้อมสำหรับทุกสิ่ง หมั่นสะสมความสุขวันละเล็กละน้อย เพื่อให้เรามีความสุขได้ในทุกวัน

“แต่คนยุคนี้แน่นอนว่าด้วยปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียดได้ง่ายขึ้น จนส่งผลให้ป่วยเป็นโรคอื่นๆ ตามมา เป็นเรื่องที่เลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถป้องกันได้ ถ้ารู้วิธี

“ยกตัวอย่างโรคที่ผมเจอมาเยอที่สุดคือ โรคนอนไม่หลับ ช่วง 4-5 ปี หลัง คนที่มารักษาที่คลินิกบางวันเป็นโรคนอนไม่หลับถึง 80 เปอร์เซ็นต์ คนมา 20 คน 15 คน ต้องกินยานอนหลับ ปัญหาที่เจอคือโรคนี้ไม่ใช่เกิดแค่ผู้สูงอายุ แต่วัยรุ่น และคนวัยทำงานก็เป็นกันเยอะ

“ตามมาด้วยโรคจากความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไข้เป็นกันเยอะ พอเครียดก็ทำให้ภูมิคุ้มกันตก ป่วย มีอาการต่างๆ ตามมาเช่น คันตามเนื้อตัว สะเก็ดเงิน SLE โรคพวกนี้มีสาเหตุมาจากความเครียดสะสม พอเครียดก็ป่วยพอป่วยก็ทำให้เครียดหนักขึ้นไปอีก ส่งผลไปสู่โรคกระเพาะเรื้อรัง ลำไส้แปรปรวน ฉะนั้นความเครียดจึงเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา คนไข้จากความเครียดทางสมอง ซึมเศร้า วิตกกังวล อยากฆ่าตัวตายด้วย เขาต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่า ซึมเศร้าหรือแพนิค เกิดจากกระบวนการที่ร่างกายต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง อัตตาเยอะ คนเป็นซึมเศร้า มักรู้สึกว่าไม่ภูมิใจในตนเอง เกลียดตนเอง

“เราต้องประคับประคอง ใช้ยาปรับอารมณ์ ปรับคุณภาพชีวิต ใช้ยาช่วยย่อยอาหารให้ดีก่อน ถ้าลำไส้ดี ความรู้สึกจะนิ่งดีขึ้น เคลียร์ร่างกาย 6 เดือน หลังจากนั้นยังมีอาการแพนิคอีกพักหนึ่ง ก็รักษาให้เขารู้สึกมั่นใจตัวเอง ออกกำลังกายมากขึ้น หาสิ่งใหม่ทำ บำรุงเลือด จัดการเรื่องสมอง รวมๆ ใช้เวลาปีหนึ่ง คนๆ นั้นก็จะเริ่มหาอะไรทำ ลดอาการวิตกกังวลมีทักษะพัฒนาชีวิตใหม่” 

สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย

ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้ชีวิตผิดๆ

จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมายาวนาน หมอนัทอธิบายสถานการณ์ความเจ็บป่วยเพื่อให้เราทุกคนตระหนักรู้ว่า

“พูดตรงๆ คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพ คือเขาไม่ค่อยดูแลตัวเองนะ หลักๆ จะเป็นเรื่องพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การนอนผิดเวลา เอาแค่เรื่องนอนดึก ถ้าคุณนอนดึก อาการที่ตามมาก็จะคล้ายๆ ออฟฟิศซินโดรม มึนหัว เช้ามาไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลียเรื้อรัง อีกอันหนึ่งที่เจอเยอะๆ ในยุคปัจจุบันคือไม่ทานข้าวเช้า ซึ่งจะทำให้เลือดไม่ค่อยมี สารอาหารน้อยลง พอเลือดไม่มีก็ปวดหัว เชื่อไหมว่าคำถามที่ผมต้องตอบเมื่อปีแรกกับปีนี้ก็ไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่า เป็นคนกลุ่มใหม่เท่านั้นเอง”

การดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกคน

“เป้าหมายที่ผมอยากทำก็คือ ภายใน 15-20 ปี ผมอยากจะให้คนรู้สึกว่าการดูแลสุขภาพคือหน้าที่คุณ ถ้าอยู่ดีๆ มีใครเดินเข้ามาในคลินิกผมหรือว่าอยู่ในเว็บไซต์ ในเฟซบุ๊ค แล้วมาบอกว่าดูแลสุขภาพด้วยวิธีนี้ แล้วดีขึ้นอย่างนี้แล้วนะ ผมจะโคตรมีความสุขเลย แต่เชื่อไหมว่า ณ วันนี้มีแค่ 1เปอร์เซ็นต์ เอง 100 คน อาจจะมีแค่คนเดียวที่พิมพ์แบบนี้ แต่อีก 99 เปอร์เซ็นต์ คือการถาม ผมคาดหวังว่าวันหนึ่ง จะมีสัก 50 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถดูแลตัวเองได้ ผมจะมีความสุขมากเลย เพราะนี่คือของจริง ยิ่งกว่าได้คำชมอีก”  

“สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย” คือที่เดียวกับ “สยามสัปปายะ” อยู่ติดกับถนนพระราม 3 ตรงข้ามวัดดอกไม้ มีที่จอดรถหน้าตึกกว้างขวาง สะดวกสบาย ที่คลินิกมีทีมงานเภสัชกรแผนไทย และแพทย์แผนไทยคอยให้คำปรึกษา และแนะนำวิธีกินสมุนไพร สามารถเข้ารับบริการได้ทุกวัน(ยกเว้นวันพุธ ปิดทำการ) เปิดบริการ เวลา 8.00 น. – 17.00 น. 

โทรศัพท์: 086-111-5522

Facebook: สัปปายะ คลินิกการแพทย์แผนไทย

บทความอื่นที่น่าสนใจ

3 Step จัดการ ไขมันสูง ให้อยู่หมัด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชวนดูแล ป้องกัน รักษา ลำไส้แปรปรวน ฉบับแพทย์แผนไทย

แพทย์แผนไทย กับการดูแลผู้ป่วยที่มี อาการหลังติดเชื้อโควิด-19

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.