ไฮเปอร์เทียม

6 วิธีฝึกจดจ่อ เพิ่มไอคิว (ลดไฮเปอร์เทียม) เพื่อคนออนไลน์

เพิ่มไอคิว ลด ไฮเปอร์เทียม

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ออกมาแถลงข่าวเตือนพ่อแม่ว่าพบเด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” ถึงสี่แสนคน ส่งผลให้การเรียนรู้ช้า และมีภาวะโรคจิตเวชแฝงอยู่ เช่น ออทิสติก สมาธิสั้น บกพร่องในการเรียนรู้ และปัญญาอ่อน

โดยเด็กเหล่านี้จะมีพฤติกรรมหลักที่ผิดปกติคือ ซน ขาดสมาธิ หุนหันพลันแล่น ใจร้อน วู่วาม ซึ่งมาจากสมองทำงานผิดปกติ

เห็นข่าวนี้ เลยแอบชำเลืองมองผู้ใหญ่ ซึ่งพบว่า มีคนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ไม่น้อย หลายรายกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ขี้หงุดหงิด ขี้โมโห โดยเฉพาะเวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัว แต่กลับดูสงบดีเมื่อหันกลับไปเพลิดเพลินกับโทรศัพท์

ไฮเปอร์เทียม

บ.ก. เป็นห่วงค่ะ เพราะไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่นยืนยันว่า การจ้องจอภาพนานๆ ทำลายสมองและลดประสิทธิภาพความทรงจำ แถมนิตยสารชีวจิตก็เคยนำเสนอข้อมูลเรื่องการออนไลน์นานเกินไป เสี่ยงเป็นต้อหินก่อนวัยอีกด้วย

อย่ากระนั้นเลย นอกจากการหยุดออนไลน์บ้างเป็นระยะๆ นิตยสารชีวจิตเคยแนะนำการออกกำลังกายเรียกเหงื่อ บ.ก.ชีวจิตขอให้ฝึกสมาธิและสติ กินอาหารบำรุงสมองอย่างน้ำมันปลา วันนี้ เรานำข้อมูลจากหนังสือของคุณเธอรอน คิว. ดูมอนท์ ชื่อ The Power of Concentration เพื่อช่วยให้พวกเราได้มีทางเลือกอื่นๆ ในเพิ่มการจดจ่อ “คนเราอาจไม่ต้องเป็นอัจฉริยะ หรือเก่งฉกาจมากมายนัก แต่การเรียนรู้และฝึกฝนการจดจ่อ ก็ช่วยให้เกิด “ความมหัศจรรย์” ในชีวิตขึ้น” และสิ่งนี้ก็ช่วยแบ่งเบาภาระสมอง ไม่ต้องให้สมองทำงานหนัก และสามารถรักษาประสิทธิภาพของสมองไม่ให้หลงลืมหรือเป็นอัลไซเมอร์ก่อนวัย โดยใช้วิธีการต่างๆ เหล่านี้

  1. ฝึกเฝ้าดูสิ่งที่ตนเองกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการพูด เคลื่อนไหวร่างกาย เพราะจะช่วยเราให้ค่อยๆ เข้าไปควบคุมการพูด และความรู้สึกของตนเองได้ ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจดจ่อ
  2. จงเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง อย่าตื่นเต้น กระวนกระวาย หรือเปลี่ยนแปลงอารมณ์ง่าย เพราะเมื่ออารมณ์เปลี่ยน เส้นประสาทในร่างกายจะขึงตึงขึ้นมาโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว การจดจ่อที่ต้องการจะสูญเสียไปทันที มีรายงานการวิจัยยืนยันว่า หากเราอยู่ในสภาวะจดจ่อต่อความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์ล้านกว่าเซลล์ในร่างกายของเรา ซึ่งถูกควบคุมโดยสมองจะปล่อยนิวตรอนสีเทาที่มีพลังมากออกมา ช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพไฮเปอร์เทียม
  3. ทำทีละอย่าง เธอรอน เขียนว่า “ทำงานเมื่อทำงาน เล่นเมื่อเล่น” วิธีนี้ไม่ต่างจากวิธี “อยู่กับปัจจุบัน” ของพระพุทธศาสนา เธอรอนกล่าวว่า หากเราอยู่กับสิ่งที่เรากระทำอยู่ ณ เวลานั้น เท่ากับได้อยู่กับ “ความเป็นจริง” ของตัวเอง จงฝึกเริ่มงานตอนเช้าในเวลาเดียวกันทุกวัน ระบบประสาทในร่างกายจะเริ่มพัฒนาสู่การจดจ่อในการทำงานโดยอัตโนมัติ
  4. ออกกำลังระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพราะจิตใจสัมพันธ์กับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ฉะนั้นการฝึกออกกำลังกายช้าๆ เพื่อให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อมีความมั่นคง ไม่ถูกกระตุ้นให้ตื่นเต้นได้ง่าย เช่น การยกน้ำหนัก พิลาทีส โยคะ ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการจดจ่อได้
  5. มีความรู้สึกรักและเมตตาต่อสรรพสิ่ง ดูราวกับจะทำตัวให้เป็นนางฟ้า แต่เธอรอนกล่าวว่า ถ้าเรามีแต่ความรู้สึกดีๆ อยู่ในใจ ร่างกายเราจะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงปอดและหัวใจได้ดี นอกจากนี้ความรักก็ทำให้จิตวิญญาณเบิกบาน หล่อหลอมบุคลิกภาพ ช่วยเรื่องการเข้าสังคม ยิ่งหายใจได้ลึกเท่าไร ก็ยิ่งได้พลังชีวิตและความเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการจดจ่อ และสร้างพลังในชีวิตไฮเปอร์เทียม
  6. คิดอะไรเป็นอย่างนั้น ความคิดสร้างพลังได้ เธอรอนกล่าวว่า เราทุกคนล้วนแวดล้อมด้วยความคิดและทัศนคติสารพัดแบบ ทั้งดีและไม่ดี ฉะนั้นหากซึมซับความคิดลบไว้ในชีวิตประจำวัน จะให้เรามองโลกในแง่ร้าย และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งดีๆ ที่กำลังทำอยู่ได้ นอกจากนี้ ความคิดลบจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นลบ และเพื่อนที่มีความคิดลบ ตรงกันข้ามกับความคิดบวกจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวก และเพื่อนที่มีความคิดบวก ซึ่งจะส่งเสริมพลังในการจดจ่อกับสิ่งดีๆ ที่กำลังทำอยู่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.