12 วิธี วิ่งอย่างไร ไม่ให้ปวดเข่า

12 วิธี วิ่งอย่างไร ไม่ให้ปวดเข่า

วิ่งไม่ปวดเข่า ต้องวิ่งให้ถูกวิธี

มาดู 12 วิธี วิ่งไม่ปวดเข่า เพราะการวิ่งเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ดีและทำได้ง่าย แต่บางครั้งเทคนิคการวิ่งที่ไม่ถูกต้องรองเท้าหรือบริเวณที่วิ่งไม่เหมาะสม มีภาวะโรคเกี่ยวกับข้อหรือสภาพร่างกายไม่อำนวย ก็อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้

โดยเป็นการบาดเจ็บซ้ำๆ ของกระดูกอ่อน ของกระดูกสะบ้าหัวเข่า และกระดูกหัวเข่า นายแพทย์จักรกริช กล้าผจญ จึงแนะนำเทคนิคการป้องกันไม่ให้เกิดอาการ ปวดเข่าขณะวิ่ง มีดังนี้

วิ่งไม่ปวดเข่า

  1. การยืดกล้ามเนื้อรอบเข่าและข้อเท้าให้เพียงพอ

    ควรยืดช้าๆ ค้างไว้ 10 – 15 วินาทีต่อครั้ง ทำประมาณ 5 – 10 ครั้งต่อมัด และหมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาโดยการเหยียดเข่าตรงและเกร็งค้างไว้ 5 วินาทีต่อครั้ง ทำประมาณ 10 – 20 ครั้งต่อวัน

  2. วอร์มอัพให้เพียงพอ

    โดยเริ่มจากการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆก่อนที่จะวิ่งเต็มที่ เพื่อการปรับตัวของกล้ามเนื้อระบบไหลเวียนโลหิต และระบบการหายใจ

  3. เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับการวิ่ง

    ควรมีพื้นกันแรงกระแทกที่เพียงพอและมีความกระชับพอดีกับเท้า โดยทั่วไปถ้าต้องการวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ให้เลือกรองเท้าแบบ cross training

  4. ใช้อุปกร์เสริมอุ้งเท้า

    ถ้าคุณมีเท้าแบนหรือไม่มีอุ้งเท้าสูงเพียงพอ เวลาวิ่งนานๆอาจทำให้มีแรงปฏิกิริยาจากพื้นกระทำต่อข้อเท้าและข้อเข่าทำให้เกิดอาการปวดเข่าหรือข้อเท้าเรื้อรังได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา หรือลองซื้อแผ่นยางเสริมอุ้งเท้ามาติดภายในรองเท้า

  5. เลือกบริเวณวิ่งให้เหมาะสม

    ควรเป็นพื้นที่เสมอกันไม่ควรวิ่งบริเวณที่เป็นพื้นเอียงหรือบริเวณที่มีการหักเลี้ยวอย่างเฉียบพลัน พื้นวิ่งที่ดีที่สุดคือพื้นยางสังเคราะห์หรือพื้นดิน เพราะมีความนุ่มและเก็บพลังงานเพื่อเปลี่ยนเป็นแรงส่งตัวได้ดี ถ้าจะวิ่งบนพื้นคอนกรีต ควรเลือกรองเท้าที่รับแรงกระแทกอย่างเพียงพอ

  6. ไม่ควรวิ่งก้าวเท้ายาวเกินไป

    หรือยกเข่าสูงเกินไป เพราะทำให้ข้อเข่าต้องงอ มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดปัญหาปวดเข่า ได้ง่ายขึ้น ส่วนแขนก็ควรงอเพียงเล็กน้อยและแกว่งข้างลำตัว ในกรณีที่คุณมีปัญหาปวดหลังหรือน้ำหนักตัวมาก ควรแกว่งแขน ให้ค่อนมาทางด้านหลังเพื่อไม่ให้ลำตัวก้มไปข้างหน้ามากเกินไปด้วย

  7. ควรวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ส้นเท้า

    การวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ปลายเท้านานๆจะทำให้เกิดแรงกระชากพังผืดฝ่าเท้า ปวดกล้ามเนื้อน่อง และยังเกิดแนวแรงที่ผิดปกติที่ผ่านต่อข้อเข่า ทำให้ต้องงอเข่ามากขึ้นขณะวิ่ง อาจทำให้เกิดการปวดเข่าด้านหน้าอีกด้วย

  8. ไม่ควรวิ่งขึ้นลงเนิน

    ถ้าคุณมีปัญหาที่ข้อเข่าบ่อยๆ ถ้าจะวิ่งขึ้นเนินให้เอนลำตัวไปด้านหน้า ก้าวเท้าให้สั้นลง และมองตรงไปข้างหน้า ไม่ควรแหงนหน้าขึ้น ถ้าจะวิ่งลงเนิน พยายามให้ลำตัว

ตั้งตรง เพื่อกันการเสียหลักได้ และควรก้าวเท้าให้ยาวขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติ

  1. ระยะทางที่วิ่งต้องเหมาะสม

    ถ้าจะเพิ่มระยะทาง ก็ควรเพิ่มช้าๆในแต่ละสัปดาห์

  2. ค่อยๆลดความเร็วลง เมื่อใกล้จะหยุดวิ่ง

    และควรเดินต่ออีกสักพักเพื่อให้ร่างกายได้ชะเอากรดแล็กติกออกไปจากกล้ามเนื้อบ้าง ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังวิ่งในวันรุ่งขึ้น

  3. หมั่นออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา

    โดยการเหยียดเข่าตรงและเกร็งค้างไว้ 5 วินาทีต่อครั้ง ทำประมาณ 10 – 20 ครั้งต่อวัน

  4. หาตัวช่วยอื่น

    ถ้าคุณมีภาวะข้อเสื่อมอย่างชัดเจน ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นแทนการวิ่ง

เมื่อได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้แล้ว ถ้ายังคงมีอาการปวดเข่าหรือข้ออื่นๆ อยู่ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ข้อมูลจาก คอลัมน์น่ารู้ นิตยสารชีวจิต

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.