วิธีคิดสู้โรค, สุขกาย, สุขภาพดี, สู้โรค, ป้องกันโรค

ปรับใจตัวเอง เพื่อการเปลี่ยนแปลง สู้โรค สุขภาพดี

วิธีคิดสู้โรค คิดเล็ก สู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

หากคุณต้องการจะเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาพที่ดีนั้น วิธีคิดสู้โรค แบบยั่งยืน และเปลี่ยนแปลงได้ผลดีที่สุดคืออะไร ?

ถ้าคุณเชื่อว่ากุญแจแห่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การที่เราต้องมานั่งกัดฟันต่อสู้คือความุ่งมั่น เพื่อไปถึงจุดมุ่งหมายนั้น บอกได้เลยว่าคุณกำลังตกหลุมพรางความเชื่อเก่าๆของคนโบราณ (ถึงแม้ว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดของใครหลายๆคนก็ตาม)

มีข้อมูลระบุว่า เหตุผลอันดับหนึ่งที่คนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิธีการกิน และออกกำลังกายที่ถูกต้องได้ เพราะคนจำนวนมากชอบอ้างว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ยังชี้ให้เห็นว่า เมื่อเราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเอง ความมุ่งมั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป แต่เป็นวิธีคิดต่างหากที่สำคัญ สามารถเปลี่ยนความตั้งใจและความพยายามของคุณได้

ตัวอย่างเช่น การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนที่มีวินัยยอดเยี่ยมในตัวเองนั้นแทบจะไม่ใช้ทักษะอื่นๆเลยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่เป็นเช่นนั้นเพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ในสถานะการณ์ที่ต้องควบคุมตัวเองที่จะต้องต่อต้านการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ จึงทำให้ไม่ต้องเสี่ยงอยู่ในเหตุการณ์เหล่านี้

และเมื่อไม่นานมานี้ มีข้อมูลการวิจัยพบว่าคนที่มีความตั้งใจจริงๆแล้วไม่จำเป็นว่าจะเป็นคนที่จะบรรลุเป้าหมายได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ความตั้งใจเลย

ครั้งหลังสุดมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับความมุ่งมั่นเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และในวันหนึ่งมันจะอ่อนแอและหมดลงไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าความสามารถในการควบคุมตนเองนั้นก็เหมือนแบตเตอร์รีโทรศัพท์ เราสามารถชาร์จมันได้ขณะที่เราได้พักเต็มที่ หลังจากตื่นนอนขึ้นมาแล้ว ความคิดความสามารถก็จะกลับมาเต็มได้อีกครั้ง

วิธีคิดสู้โรค, สุขกาย, สุขภาพดี, สู้โรค, ป้องกันโรค
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิธีการกิน และออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี

HOW TO วิธีคิดสู้โรค เพื่อสุขภาพดี

คิดเล็กๆ ไม่ต้องคิดใหญ่

สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับความท้าทายในการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหญ่ๆ ที่เราอาจทำได้ยาก คือ การเปลี่ยนวิธีคิดเสียใหม่ การลดขนาดลง แล้วมุ่งสู่เป้าหมายเล็ก ๆ  เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำจริงความมุ่งมั่นก็ไม่จำเป็นต้องมีและใช้อีกต่อไป

แล้วอะไรคือที่บอกว่าให้คิดเล็กๆ ไม่ต้องคิดเยอะ

ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีเป้าหมาย คือ ต้องการลดความเครียดด้วยการทำสมาธิ แทนที่เราจะคิดเยอะว่าจะทำเมื่อไหร่ เริ่มยังไง ทำวันละ 1 ชั่วโมง

กลับกันให้เริ่มจาก หาพื้นที่ในบ้านที่เอื้อต่อการทำสมาธิ ซื้อเบาะทำสมาธิ ดาวน์โหลดแอพทำสมาธิ เช่น Headspace  แล้วเริ่มใช้แอพวันนี้ในสัปดาห์นี้เพื่อทำสมาธิเป็นเวลาหนึ่งนาที จากนั้นใช้แอพสองวันในสัปดาห์หน้าเพื่อทำสมาธิสองนาทีในแต่ละครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าคุณจะชิน และฝึกการทำสมาธิจนเป็นนิสัย

สุดท้ายแล้วคุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้แอพหรือไกด์อีกต่อไป แต่คุณจะได้ปรับเปลี่ยนนิสัยของตัวเองใหม่

ไอเดียอื่นๆ ที่เราสามารถปรับใช้ได้ เช่น

1. อยากออกกำลังกาย

(คำแนะนำควรไปเวิร์คเอ้าท์สัปดาห์ละ 5 วัน น่าจะใหญ่เกินไป และทำได้ยาก)

เป้าหมายเล็กๆ :

  • ในสัปดาห์นี้ ให้ไปเลือกซื้อเครื่องนับก้าวหรือฟิตเนสแทร็คเกอร์
  • เดินให้ได้สัปดาห์ละ 2,000 ก้าว เช่น  เดินขึ้นบันไดบ้าง เดินในระหว่างหยุดพักการทำงาน และจอดรถให้ไกลขึ้น
  • ในอีก 3วัน ข้างหน้า ให้วางแผนชวนเพื่อนเดิน วันละ 30 นาที
  • เดินวันละ 30 นาที

2.อยากนอนให้เพียงพอ

(คำแนะนำให้เข้านอนเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงทุกคืน ซึ่งอาจจะยากเกินไป)

เป้าหมายเล็ก ๆ :

  • ก่อนนอนให้เริ่มปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และลดแสงไฟ ½ ชั่วโมง -1 ชั่วโมง
  • ในสัปดาห์นี้ ให้รีบเข้านอนเร็วกว่าปกติ 5 นาที
  • ในสัปดาห์หน้า ให้รีบเข้านอนเร็วกว่าปกติ 10 นาที

3. อยากกินอาหารที่มีประโยชน์

(คำแนะนำ ให้ตัดอาหารทอดและขนมหวานออกทั้งหมด ซึ่งอาจจะยากเกินไป และทำไม่ได้จริง)

เป้าหมายเล็ก ๆ :

  • ในสัปดาห์นี้ ให้ดื่มกาแฟดำ 1 วัน
  • ในสัปดาห์นี้ สลับเมนูอาหารเช้ากับอาหารจังค์ฟู้ดเป็นไข่เจียวโฮมเมด
  • ในอีก 2 วัน ข้างหน้า ให้เริ่มกินผัก

อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงนิสัย และพฤติกรรมนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ต้องรู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลง และติดตามพฤติกรรมของตัวเองด้วย

ที่มา :  .Changing Habits? You Need to Shrink the Change. JANUARY 1, 2019

บทความน่าสนใจ

เคล็ดลับสู้โรคไต ใช้ดีจึงบอกต่อ สไตล์คนพิจิตร

สู้โรคความดันโลหิตสูง ด้วยวิธีตามหลักแพทย์แผนจีน

ปั่นจักรยาน สู้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.