ความเสื่อมของร่างกาย, ร่างกายเสื่อม, ชราภาพ, อวัยวะเสื่อม, เสื่อม

14 สัญญาณเตือนเมื่อร่างกายเกิดความเสื่อม สไตล์อาจารย์สาทิส

ร่างกายเสื่อม

อายุที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้ ร่างกายเสื่อม ตามวัยได้ แต่หลายคนแม้วัยเพิ่มขึ้น แต่กลับมีความเสื่อมน้อยกว่าคนในวัยเดียวกัน นั่นเป็นเพราะพวกเขาสามารถรักษาสมดุลในกรใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดเครียด และใช้เวลาคุณภาพกับครอบครัว เพื่อนฝูงหรือ การทำกิจกรรมเพื่อสังคม

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า การดูแลสุขภาพของตนเอง ณ ขณะนี้ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูชีวจิต ได้ชี้ว่า ให้มองหาสัญญาณที่แสดงถึงความเสื่อมซึ่งเกิดขึ้นกับอวัยวะสำคัญ หากร่างกายของคุณไม่มีปัญหาความเสื่อมเหล่านี้ ถือว่า สอบผ่าน

ถ้าพร้อมแล้วไปเช็คด้วยกันได้เลยนะคะ

ความเสื่อมของร่างกาย, ร่างกายเสื่อม, ชราภาพ, อวัยวะเสื่อม, เสื่อม
การดูแลสุขภาพตนเองให้สมดุล ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายได้
  • สมอง มีปัญหาเรื่องความจำ เช่น ลืมที่วางกุญแจ จำพาสเวิร์ดอีเมล์ไม่ได้ การตัดสินใจไม่เฉียบคม
  • ดวงตา พร่ามัว ปวดตา มีปัญหาเรื่องการโฟกัส มองเห็นจุดดำ หรือ ภาพที่มองเห็นเริ่มบิดเบี้ยว
  • ฟัน ฟันผุ ฟันกร่อน มีปัญหาเรื่องเสียวฟัน รวมถึงปัญหาเรื่องเหงือก และ กลิ่นปากตามมา
  • ลิ้น การรับรสแย่ลง หรือ ผิดเพี้ยนไป ใช้เครื่องปรุงรสมากขึ้น โดยไม่จำเป็น
  • กระดูกสันหลัง มีปัญหาการนอนหลับ เนื่องจากจากรู้สึดปวดหลัง ต้นคอ อาจจะลามไปถึงปวดศีรษะ เคลื่อนไหวไม่สะดวก หันไปมองด้านข้างได้ลำบาก
  • หลอดอาหาร หลังเคี้ยวอาหารมีปัญหาเรื่องการกลืน หรือ สำลัก เกิดขึ้น แม้กระทั่งการดื่มน้ำหรือของเหลวก็ทำได้ยากลำบาก
  • ปอด หายใจติดขัด หายใจได้ไม่สุด หรือ รู้สึกหายใจได้ไม่เต็มอิ่ม ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ขึ้นบันไดเพียงไม่กี่ขั้นก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว
  • หัวใจ ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นไม่ปกติ เต้นเร็วไป หรือ เต้นช้าไป ทำให้หมดแรง หน้ามืด หรือ เป็นลมได้ง่าย ทำงานหรือออกกำลังกายหนักๆ ไม่ได้
  • ตับ มีอาการท้องอืด รู้สึกว่า มีลมหรือแก็ส อึดอัด เสียดท้องอยู่เป็นประจำ ทั้งๆ ที่อาจไม่ได้กินอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ใหญ่ หรือ อาหารทอด แต่ประการใด
  • กระเพาะอาหาร ปวดแสบ หากมีอาการมากๆ จะรู้สึกแสบขึ้นมาที่ลิ้นปี่ อาเจียน คลื่นไส้
  • ตับอ่อน หากกินอาหารหวานจัด คุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จะทำให้ตับอ่อนทำงานแย่ลง เกิดปัญหาเบาหวาน ตามมา
  • ไต มีอาการบวมตามร่างกาย เช่น มือ เท้า ใบหน้า มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย โดยเฉพาะปัสสาวะ คือ ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะมีฟอง หรือ มีเลือดปนออกมา ปัสสาวะ มีกลิ่นฉุน หรือมีอาการปวดเอว บริเวณใกล้ๆ สีข้าง ซึ่งเป็นตำแหน่งของไต ร่วมด้วย
  • ลำไส้ มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ถ่ายอุจจาระได้ลำบาก ไม่สามารถขับถ่ายได้ทุกวัน มีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ตามมา
  • อวัยวะสืบพันธุ์ ในเพศหญิง มีปัญหาเรื่องประจำเดือนผิดปกติ มามากหรือมาน้อยเกินไป ปวดประจำเดือนรุนแรง ในเพศชาย มีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

 

ที่มา คอลัมน์ น่ารู้ ฉ.257 ผู้เขียน อาจารย์ สาทิส อินทรกำแหง

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.