บ.ก.ขอตอบ
จากนางร้าย ที่แท้จริงคือนางเอก
8 ประโยชน์ของ คอเลสเตอรอล ไม่มีไม่ได้แล้ว
บ.ก. ไม่ได้ตอบคำถามใครค่ะ แต่ขณะอ่านและศึกษา “การรักษาโรคด้วยอาหาร” จากสถาบันหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ขณะนี้ ก็พบข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร ( รวมทั้ง คอเรสเตอรอล ) ที่ยังไม่มีคนเปิดเผย เนื่องจากเหตุผลสอง-สามข้อ คือ
หนึ่ง ขัดแย้งกับความเชื่อและชุดความรู้เดิมของการแพทย์แผนปัจจุบัน สอง องค์กรที่เกี่ยวกับสุขภาพระดับสากล อย่างเช่น FDA ก็ยังกั๊กๆ อยู่ ไม่ยอมฟันธงออกเป็นนโยบาย เนื่องจากวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เกียร์แรงมากในการแนะนำผู้คนให้กลับไปกินอาหารท้องถิ่น กลับไปปลูกผักทำนาแบบบรรพชน ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นการทำลายอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งใหญ่ รวย และมีอิทธิพลมากกกกก
สอง วิทยาศาสตร์ด้านอาหาร กำลังนำตัวเองไปสู่การรักษาโรคด้วยอาหาร ซึ่งวิธีการสำคัญในการรักษาอาการต่างๆ คือ การปรับการกินอยู่ (เหมือนที่ชีวจิตบอกว่าตอลด 20 ปี) โดยเฉพาะการปรุงอาหารกินเอง จากวัตถุดิบออร์แกนิกหรืออินทรีย์ ซึ่งทุกคนก็เห็นภาพตามได้ง่ายๆ ว่า วิทยาศาสตร์ด้านอาหาร กำลังจะลดบทบาทการแพทย์แผนปัจจุบันลงให้รักษาแต่โรคติดเชื้อ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ ขณะเดียวกันก็ให้การแพทย์แผนปัจจุบันมุ่งเน้นไปสู่การวินิจฉัย ด้วยเครื่องทางการแพทย์แผนใหม่ เพื่อความแม่นยำ
หากจะต้องรักษาโรคและอาการ ก็ต้องเป็นไปด้วยความร่วมมือร่วมใจกับการแพทย์แขนงอื่นๆ โดยเฉพาะแขนงวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เพื่อให้การรักษานั้นเกิดประสิทธิภาพต่อการรักษาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ระดับปัจเจกให้มากที่สุด
อาจารย์คนหนึ่งของ บ.ก.คือ ดร.คุณหมอ ไพร์ซ พ็อทเทนเจอร์ และตำราเล่มหนึ่งที่นำมาประกอบการเรียนของ บ.ก. ซึ่งมีความหนากว่า 700 หน้าคือ Nourishing Traditions และมีการกล่าวถึงประโยชน์ของอาหาร และการรับรู้ผิดๆ ของเรามานานนับทศวรรษ โดยหนึ่งในอาหารดังกล่าวคือ คอเรสเตอรอล
คอเรสเตอรอล จึงไม่ใช่นางร้ายอย่างที่เราเคยเข้าใจ ตรงกันข้ามกลับมีหน้าที่สำคัญๆ ในร่างกายหลายอย่าง ดังนี้
- คอเรสเตอรอล มีความจำเป็นต่อความแข็งแรงของผนังเซลล์ หากอาหารที่กิน เป็นอาหารจำพวกที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ผนังเซลล์ก็จะอ่อนนิ่ม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น คอเลสเตอรอลในเลือดก็จะต้องทำหน้าที่ไปเพิ่มความแข็งแรงให้ผนังเซลล์ (หมายความว่า ถ้ากินคอเลสเตอรอลมากไป ก็ทำให้ก็ทำให้ผนังเซลล์แข็งเกินไป)
- คอเรสเตอรอล ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนคอร์ติคอสเตอรอยด์ ซึ่งช่วยจัดการกับความเครียด และปกป้องร่างกายเราไม่ให้เป็นโรคหัวใจและมะเร็ง นอกจากนี้คอเรสเตอรอลยังทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนอีกด้วย
- คอเรสเตอรรอล เป็นสารตั้งต้นของในการนำวิตามินดีไปใช้ประโยชน์ ซึ่งวิตามินดีช่วยบำรุงกระดูกและระบบประสาท การเจริญเติบโต การย่อยและดูดซึมเกลือแร่ การสร้างกล้ามเนื้อ การผลิตอินซูลิน และการสร้างและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
- คอเรสเตอรอล ช่วยสร้างเกลือในน้ำดี ช่วยย่อยไขมันจากอาหารทั้งหลาย
- คอเรสเตอรอล ทำหน้าที่เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ โดยงานวิจัยล่าสุดช่วยชี้ความกระจ่างว่า ทำไมคอเรสเตอรอลจึงเพิ่มขึ้นตามอายุ นั่นเป็นเพราะคอเรสเตอรอลช่วยปกป้องเราจากอันตรายของอนุมูลอิสระ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจและมะเร็ง
- คอเรสเตอรอล จำเป็นต่อการทำงานของเซโรโทนินในสมอง โดยเซโรโทนินคือ สารเคมีในร่างกายเราที่ช่วยทำให้อารมณ์ดี การขาดคอเรสเตอรอล หรือคอเรสเตอรอลไม่เพียงพอจะทำให้เราเป็นคนก้าวร้าว และมีพฤติกรรมรุนแรง โรคซึมเศร้า รวมไปถึงเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
- คอเรสเตอรอล มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในนมแม่ โดยมีเอนไซม์สารพัดชนิดประกอบอยู่ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เนื่องจากทารกและเด็กต้องการคอเรสเตอรอล เพื่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท
- คอเรสเตอรรอล ที่มีอยู่ในอาหารจะเข้าไปทำหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของลำไส้เล็ก และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมคนที่งดอาหารที่มีคอเรสเตอรอลไปเลย จึงมีปัญหาด้ายการย่อยและดูดซึม
บ.ก.เคยได้ยินคุณหมอคนหนึ่ง เล่าว่า เพราะกินยาลดคอรเสเตอรรอล ผู้สูงอายุหลายคนเลยมีปัญหาด้านกระดูก ฮอร์โมน และอารมณ์ ตอนนั้นยังไม่ค่อยเข้าใจ ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะ
ส่วนเรื่องการปรับการกินในผู้ป่วยโรคต่างๆ ที่ต้องกินยาคอเรสเตอรอลอยู่ ก็ต้องทำอย่างระมัดระวังนะคะ เพราะในตำราเดียวกัน กล่าวว่า การที่คนเรามีระดับคอเรสเตอรอลในเลือดสูง นั่นก็เพราะร่างกายต้องรีบสร้างคอเรสเตอรอลขึ้นมา เพื่อช่วยรักษาระบบการทำงานของร่างกายบางส่วน ที่ต้องการคอเรสเตอรอลไปช่วย
แล้วจะค่อยๆ เล่าให้ฟังค่ะ ว่าความจริงคืออะไร ติดตาม บ.ก.ขอตอบ ทุกวัน อังคาร พฤหัส เสาร์และอาทิตย์ เวลา 18.00 น. ทางเพจนิตยสารชีวจิตแห่งนี้นะคะ
บทความน่าสนใจอื่นๆ
บ.ก.ขอตอบ : 11 วิธีกินให้อร่อย แก้ปัญหา โรคกรดไหลย้อน
บ.ก. ขอตอบ : 6 EXERCISES เยียวยาโรคซึมเศร้า จากคลินิกระดับโลก
บ.ก.ขอตอบ : 2 ประสบการณ์ปรับการกินอยู่ สู้โรคแพ้ภูมิตนเอง (เอสแอลอี)