เทคนิคกินหวาน ต้านโรคเบาหวาน ชะงัด
เทคนิคกินหวาน กับโรคเบาหวาน ของแถมที่ตามมาคือ ภาวะหัวใจวาย เป็นโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) แถมก่อมะเร็งมดลูกได้ อย่างไม่ทันตั้งตัว
นักวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพฮิวสตัน มหาวิทยาลัยเทกซัส (The University of Texas Health Science Center at Houston) ประเทศ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า การบริโภคอาหารรสหวาน มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
สอดคล้องกับผลสำรวจจากศูนย์ควบคุมและ ป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่า ผู้ที่ชอบเติมน้ำตาลปริมาณมากลงในอาหารและเครื่องดื่ม มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินรสหวานหลายเท่า
นอกจากนี้ สมาคมโรคเบาหวาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) อ้างอิงข้อมูลจาก 11 การศึกษาทั่วโลกและสรุปว่า ผู้ที่ชื่นชอบรสหวานไม่พ้นป่วยเป็นโรคอ้วนลงพุง มีระดับ น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง เสี่ยงเป็นทั้งโรคเบาหวาน หัวใจ และความดันโลหิตสูง โดยผู้ที่ดื่มเครื่องดื่ม รสหวานวันละ 1 – 2 แก้ว มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเลยถึง 26 เปอร์เซ็นต์
ฉลาดกินหวานลดโรค
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินน้ำตาลไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของ ความต้องการพลังงานใน 1 วัน หรือปริมาณที่เหมาะสมสำหรับคนไทย คือ กินน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา
เพื่อสุขภาพที่ดี นอกจากเติมน้ำตาลลงในอาหารและเครื่องดื่มตาม ปริมาณที่แนะนำ ควรระวังน้ำตาลที่แฝงมากับอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ตลอดจนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ ด้วย
การคำนวณปริมาณน้ำตาลเป็นหน่วยช้อนชาจากการอ่านฉลาก โภชนาการ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคมองเห็นภาพว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่วางขายตามท้องตลาดมีปริมาณน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมากน้อยเท่าไร ทำให้สามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อและรู้จักควบคุม ปริมาณน้ำตาลก่อนกินได้อย่างเหมาะสม
วิธีคำนวณปริมาณน้ำตาลจากฉลากโภชนาการ
หารปริมาณน้ำตาลที่ระบุบนฉลากโภชนาการเป็นกรัมด้วย 4 จะได้ปริมาณน้ำตาลในหน่วยช้อนชา (น้ำตาล 1 ช้อนชา หนัก 4 กรัม)
ทั้งนี้ควรสังเกตจำนวนหน่วยบริโภคบนฉลากโภชนาการร่วมด้วย เช่น หากระบุว่า เครื่องดื่มมีจำนวนหน่วยบริโภคเท่ากับ 2 หมายความว่า เครื่องดื่ม 1 ขวด ควรแบ่งดื่ม 2 ครั้ง ฉะนั้น หากดื่มทีเดียวหมดขวด ต้องคูณปริมาณน้ำตาลที่แสดงบนฉลากโภชนาการด้วย 2
ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มชนิดหนึ่งระบุปริมาณน้ำตาลต่อ 1 หน่วยบริโภคเท่ากับ 24 กรัม จำนวนหน่วยบริโภคเท่ากับ 2 (1 ขวดควรแบ่งดื่ม 2 ครั้ง) แสดงว่า เมื่อดื่มผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ หมดขวด ร่างกายจะได้รับน้ำตาล 48 กรัมหรือ 12 ช้อนชา
ลองนำวิธีคำนวณนี้ไปใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารในครัวดูนะคะ รับรองจะช่วยให้เราควบคุมปริมาณน้ำตาลที่กินเข้าไปต่อวันได้ชัวร์
(สนับสนุนข้อมูล : คอลัมน์ชีวจิต+ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 366)
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ฉลาดใช้เครื่องปรุงรส ลดเสี่ยงมะเร็ง เบาหวาน ความดัน
บ.ก.ขอตอบ : โปรแกรมล้างพิษน้ำตาล เสาร์-อาทิตย์ คลีนง่าย ห่างไกลเบาหวาน