อากาศหนาว หนาวมาก… และแห้งปลายปีแบบนี้ มักพัดพาฝุ่นละอองและเชื้อโรคมาสู่ตัวเราจนล้มป่วยเป็นโรคติดต่อได้ง่าย
อากาศหนาว ปลายปีแบบนี้ อาจารย์ แพทย์หญิงสุธิดา สัมฤทธิ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า
“มีโรคหลายโรคที่แพร่ระบาดสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศสำหรับช่วงปลายปีแบบนี้ บางภูมิภาคมีอากาศหนาว ขณะที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีอากาศแห้งแล้ง โรคที่เราพบบ่อยได้แก่ ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม โรคหัด โรคอีสุกอีใส โรคมือเท้าปากและโรคอุจจาระร่วงในเด็ก”
มีอาการหรือโรคอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูกันครับ
1. ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส
ซึ่งจะอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เราสามารถรับเชื้อผ่านทางจมูก ปาก และตา เชื้อสามารถติดต่อและแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่แออัดที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่มีอาการคล้ายกัน คือ มีไข้ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ เพียงแต่ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า เช่น ตัวร้อนจัด หนาวสั่นปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัว หรือมีอาการคลื่นไส้
โดยมากแล้วจะหายได้เองภายใน 7 วัน แต่บางรายโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคหืด โรคไต เป็นต้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ จึงควรระมัดระวังให้มาก
วิธีป้องกัน
ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน ควรล้างมือบ่อย ๆแต่เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บป่วยแล้ว ควรนอนพักมาก ๆ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ถ้ารู้สึกว่าจะเป็นไข้ รู้สึกตัวร้อนรุม ต้องกินฟ้าทะลายโจร 250-500 มิลลิกรัม ทุกๆ4 ชั่วโมง แต่ถ้า 2 วันแล้วยังไม่หาย มีไข้สูงควรรีบไปพบเเพทย์
2. โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม
โรคปอดอักเสบหรือปอดบวมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือจากการได้รับสารเคมีการแพร่ระบาดของเชื้อจะเหมือนกับไข้หวัด โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบมักจะมีอาการรุนแรง ซึ่งเด็กจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ไข้สูง ไอมาก หายใจหอบเร็ว
วิธีป้องกัน
พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกเพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
3. โรคหัด
โรคหัดถือเป็นอีกโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก มักเกิดในช่วงปลายฤดูหนาว เกิดจากการที่เด็กไอจามรดกันหรือหายใจนำละอองเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไปในช่วงแรกจะพบว่ามีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ต่อมาจะเริ่มมีผื่นขึ้นตามร่างกาย (หลังจากผื่นกระจาย) ไปทั่วทั้งตัวแล้วไข้จะเริ่มลดลง โรคหัดมักจะหายได้เอง แต่บางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบ อุจจาระร่วง หรือสมองอักเสบได้
วิธีป้องกัน
หากรู้ว่ามีคนใกล้เคียงป่วยต้องหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดเลยนะครับ เเต่ถ้าเป็นโรคหัดแล้ว เเนะนำให้เลือกใช้ยาเขียวแบบไทยมาใช้รักษา
อ่านเพิ่มเติม ยาเขียว สุดยอดตำรับโบราณ
4. โรคอีสุกอีใส
โรคอีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ทางการหายใจและการสัมผัสน้ำเหลืองที่มีเชื้อปะปนอยู่ ทั้งแบบตุ่มน้ำใสและตุ่มหนองหากเป็นในเด็ก อาการมักไม่รุนแรงเท่ากับผู้ใหญ่ โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่สามารถหายได้เองโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน
วิธีป้องกัน
ควรระมัดระวังไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยผู้ป่วยจะมีไข้และตุ่มตามตัว แต่ถ้าเป็นโรคอีสุกอีใส แนะนำให้ใช้ยาเขียวได้เลยครับ ทั้งกิน และทาทั่วร่างกาย
อ่านเพิ่มเติม ยาเขียว สุดยอดตำรับโบราณ
5. โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากเกิดได้ประปรายตลอดทั้งปี แต่มักระบาดมากขึ้นในฤดูหนาวโดยการรับเชื้อไวรัสเข้าทางปาก ซึ่งมาจากมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำเหลืองจากบาดแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย จึงเป็นโรคที่พบได้มากในสถานเลี้ยงเด็กเล็ก(Nursery) พ่อแม่ควรสังเกตอาการเมื่อลูกมีไข้ เจ็บปาก ไม่ยอมกินอาหาร มีแผลหรือตุ่มในปาก มีตุ่มนูนแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือก้น ต่อมาตุ่มจะพองใสและแตกเป็นแผลตื้น ๆ
วิธีป้องกัน
หากมีอาการดังกล่าวให้แยกเด็กออกมาจากเด็กคนอื่น ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ ส่วนมากแล้วอาการจะหายได้เองภายใน 7 – 10 วันทั้งนี้คำแนะนำในการป้องกันโรคคือ ให้ล้างมือบ่อย ๆ ใช้ช้อนกลาง และไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อ
6. โรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก
มักพบมากในฤดูหนาวและพบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2ขวบ จากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเชื้อไวรัสเข้าไป อาการโดยทั่วไป เด็กจะถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง ในบางรายอาจมีภาวะขาดน้ำรุนแรงได้การดูแลรักษา
วิธีป้องกัน
แนะนำให้เด็กกินอาหารเหลว น้ำนมแม่น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด หรือดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 12 ชั่วโมง ส่วนการป้องกันโรคควรล้างมือให้สะอาด กินอาหารสุกใหม่ ในเด็กเล็กควรกินนมแม่เพราะสะอาดและปลอดภัย จะทำให้มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆเหล่านี้คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่พบได้มากในฤดูหนาว ยังมีโรคไม่ติดต่อที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในฤดูหนาว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า เป็นต้น
ดังนั้นเราต้องดูแลภูมิชีวิตให้แข็งแรงอยู่เสมอก็จะช่วยป้องกัน
อากาศหนาว ส่งท้ายปี 2017 แบบนี้ ระวังเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยนะครับ
บทความสำหรับเตรียมตัวรับลมหนาว อื่นๆ
โรคผิวหนัง 7 โรคที่ควรระวัง ช่วงผลัดเปลี่ยนฤดู (หนาวสลับร้อน)