พืชตระกูลกะหล่ำ ยับยั้งมะเร็งหลายอวัยวะ
พูดถึงพืชตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) ถือเป็นกลุ่มพืชที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชาแห่งพืชผัก โดยพืชในกลุ่มนี้ประกอบด้วย กะหล่ำปลี กะหล่ำปม ผักกาด บรอกโคลี่ เคล ผักน้ำ และคะน้า สาเหตุที่ได้ฉายาดังกล่าวก็เพราะว่า พืชเหล่านี้ล้วนอุดมไปด้วย Phytonutrient เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี ที่ช่วย ป้องกันมะเร็ง โรคร้ายที่น่าหวาดกลับได้นั่นเอง
การบดเคี้ยว หรือสับพืชเหล่านี้จะมีสารสำคัญ อันได้แก่ Sulforaphane (ซัลโฟราเฟน) Glucosinolates (กลูโคซิโนเลตส์) Isothiocyanate (ไอโซไธโอไซยาเนต) และ Indole- 3 – carbinol ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงและ ป้องกันมะเร็ง หลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนในร่างกายได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม อีกทั้งในงานวิจัยยังพบว่าช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหารและ มะเร็งปอด ได้อีกด้วย ทำให้พืชเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในรูปแบบของวิตามิน อาหารเสริม เพื่อช่วยป้องกันและเสริมฤทธิ์การรักษาทั้งในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย
รู้จักพืชตระกูลกะหล่ำ ป้องกันมะเร็ง ได้
บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้าผักกาด กวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดฮ่องเต้ ผักวอเตอร์เครส วาซาบิ ล้วนเป็นพืชในตระกูลกะหล่ำ ที่อุดมไปด้วยใยอาหารและสารอาหารหลายชนิด
ไม่น่าเชื่อว่าผักสดเพียงต้นเดียว จะอัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อ สุขภาพมากมาย ทั้งเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) วิตามินซี อี เค โฟเลต (Folate) และแร่ธาตุต่างๆ โดยในกะหล่ำปลีใบใหญ่เพียง 2 ใบ ก็มีวิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในหนึ่งวัน
นอกจากนี้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังให้ข้อมูล เพิ่มเติมว่า พืชตระกูลกะหล่ำ มีสารกลูโคไซโนเลต (Glucosinolate) ซึ่งเมื่อ ผ่านกระบวนการย่อยจะได้สารอินโดล (Indole) และไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านโรคมะเร็ง โดยการศึกษาหนึ่งใน หนูทดลองพบว่า สารทั้งสองชนิดนี้สามารถยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ในหลายอวัยวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ เต้านม ลำไส้ ตับ ปอด ช่องท้อง
ทั้งมีรายงานจากวารสาร Cancer Epidemiolog Biomarkers & Prevention และวารสาร Nutrition and Cancer ระบุว่า การกินผักตระกูลกะหล่ำเป็นประจำ มีผลช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้วารสาร National Cancer Institute ยังพบว่า ผู้หญิงที่กินผักตระกูลกะหล่ำมากกว่าสัปดาห์ละ 5 ส่วนมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดต่ำกว่าผู้ที่ไม่กินอีกด้วย
HOW TO CHOOSE
- กะหล่ำปลีคุณภาพดี ต้องปลูกในฤดูหนาว ควรเลือกที่ใบแน่นและมีน้ำหนัก
- กะหล่ำดอก ควรเลือกหัวที่มีน้ำหนัก ไม่ช้ำ
- บรอกโคลี ควรเลือกดอกสีเขียวเข้ม ตุ่มดอกเล็กละเอียด ช่อเกาะกันแน่น ไม่ควร เลือกบรอกโคลีที่มีรูหรือโพรงบริเวณก้าน
- พืชตระกูลกะหล่ำสามารถนำมาปรุงอาหาร ได้มากมาย เช่น ใช้ใบกะหล่ำปลีห่ออาหารแล้วนึ่ง บรอกโคลี กะหล่ำดอก นำมาผัดกับกระเทียมสด ปรุงรสเล็กน้อยก็อร่อยแล้ว
ไม่น่าเชื่อใช่ไหมละคะว่าผักในตระกูลกะหล่ำปลีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั้นจะให้ประโยชน์มหาศาลขนาดนี้ แต่อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการเลือกทานผักที่เรากล่าวมาเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งแล้ว เราก็ต้องไม่ลืมที่จะดูแลตนเองด้านอื่น ๆ เช่น การพักผ่อน การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดด้วย เพราะทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดมะเร็งในร่างกายของคนเราไม่แพ้เรื่องอาหารเลย ดังนั้นการดูแลตนเองทั้งทีก็ต้องทำแบบองค์รวมด้วย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
จับฉ่าย กะหล่ำปลีเต้าหู้ เมนูต้านมะเร็ง
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าตัวเอง ” เป็นมะเร็ง “
เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลลำไส้ ช่วยห่างไกลจาก โรคมะเร็งลำไส้
ผักป้องกันมะเร็ง มีอะไรบ้าง เรามีคำตอบ
มะเร็งเต้านม 4 ความจริง ไขโดย “มูลนิธิถันยรักษ์ฯ”
คุณหมอขอตอบ กระทะเทฟลอน ตัวการทำเสี่ยงโรคมะเร็ง
อาหารกาย & อาหารใจ เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง
ผักผลไม้ 5 กลุ่ม สารอาหารสูง ต้านมะเร็ง
ติดตามชีวจิตได้ที่