กระทะเทฟลอน

คุณหมอขอตอบ กระทะเทฟลอน ตัวการทำเสี่ยงโรคมะเร็ง

ใครที่กำลังสงสัยว่า การใช้หม้อ หรือ กระทะเทฟลอน ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่ เรามีคำตอบมาฝาก

ก่อนตอบคำถามนี้ นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ อธิบายว่า “เทฟลอน (Teflon) เป็นชื่อทางการค้า แต่วัสดุที่ใช้ผลิตจากพีทีเอฟอี (Polytetrafluoroethylene : PTFE) ซึ่งเป็นสารที่เสถียรและทนความร้อนความเย็นดีมาก นอกจากใช้เคลือบกระทะแล้วยังใช้เคลือบเสื้อผ้าและสิ่งทออีกหลายอย่างที่เราสวมใส่”

หากถามว่าเทฟลอนเป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่ นายแพทย์สันต์บอกว่า ไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเทฟลอนเป็นสารก่อมะเร็งไม่ว่าในคนหรือในสัตว์ “เนื่องจากก่อนหน้านี้ในกระบวนการผลิตเทฟลอนใช้สารพี่เอฟโอเอ (Perfluorooctanoic Acid : PFOA) ซึ่งไม่มีในกระทะเทฟลอน เพราะมันจะถูกเผาไปหมด แต่ไปตกค้างในสภาพแวดล้อมรอบๆ โรงงานรวมไปถึงห้วยหนองคลองบึง และเข้าไปอยู่ในเลือดของคน โดยไม่สลายหายไปไหนไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ปี

กระทะเทฟลอน

“อีพีเอ (องค์การปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ – EPA) กลัวว่าจะส่งผลเสียระยะยาว จึงทำความตกลงกับโรงงานที่ใช้พีเอฟโอเอว่าให้ค่อย ๆ หยุดใช้ และข้อตกลงนี้ทำกันมาเป็นสิบปีแล้ว ทำให้การใช้พีเอฟโอเอลดน้อยลงเป็นลำดับจนเกือบจะหมดแล้วในปัจจุบัน

“แม้ว่าอีพีเอไม่ม่ด้จัดสารพีเอฟโอเอเป็นสารก่อมะเร็ง แต่องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งระดับ 2B แปลว่ามีหลักฐานว่า หากสัตว์กินสารนี้ในปริมาณมากๆ จะทำให้สัตว์เป็นมะเร็งได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าก่อมะเร็งในคน สารพีเอฟโอเออยู่ในระดับชั้นต่ำกว่าไส้กรอก เบคอน แฮม ซึ่งได้ชั้น 2A ที่แปลว่ามีหลักฐานว่าก่อมะเร็งในคนชัดเจน

“งานวิจัยเชิงระบาดวิทยาเกี่ยวกับผู้ที่อยู่รอบๆ โรงงานพบว่ามีคนเป็นมะเร็งบางชนิด แต่อุบัติการณ์เป็นมะเร็งก็ต่ำมากจนอาจเกิดจากสาเหตุทั่วไปก็ได้ สรุปว่าไม่มีหลักฐานว่าพีเอฟโอเอก่อมะเร็งในคน อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าสารพืเอฟโอเอไม่ได้อยู่ในกระทะนะ แต่อยู่รอบๆ โรงงาน งานวิจัยขูดกันกระทะดู พบว่าไม่มีสารพีเอฟโอเอ ตัวอย่างที่พบว่ามีสารเอฟโอเอก็พบว่ามีน้อยมากจนตัดทิ้งได้ เพราะน้อยกว่าสารตัวอย่างอื่นๆ จากสิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป เช่น ฝุ่นละอองในอากาศ น้ำ และอาหารเสียอีก”

CANCER TIPS ซูเปอร์ฟู้ดต้านมะเร็ง

ผล์ไม้และเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีที่ช่วยต้านมะเร็ง เช่น แอปเปิ้ล เบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่นแดงและ ไวน์ มีแอนโทไซยานิน โดยแอนโทไซยานิ คือเม็ดสีในพืชซึ่งจัดเป็นสารฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติต้านออกซิแดนต์ ช่วยลดความ เสี่ยงต่อมะเร็ง โดยการทำลายอนุมูลอิสระ เอพริคอต แครอต มันเทศเหลือง มีเบต้าแคโรทีน ผลการศึกษายืนยันว่า สาร แคโรทีนอยด์ชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นตัวต้าน ออกซิแดนต์ได้อย่างดี ป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระ ทำอันตรายเซลล์ ดาร์กช็อกโกแลต ชาเขียว ทับทิม มีสารคาเทชิน และชาเขียวมีอีจีซีจี (EGCG) ซึ่งเป็นสารคาเทชินที่ช่วยต่อสู้มะเร็งได้ถึง 3 ด้าน คือ ช่วยลดการสร้างสารก่อมะเร็งในร่างกาย ช่วยเสริมภูมิต้านทานตามธรรมชาติของร่างกาย และชะลอการเติบโตของมะเร็ง

ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 584

บทความอื่นที่น่าสนใจ

เบาหวานลงไต คืออะไร มาทำความรู้จักกัน

แค่กิน ถั่วเหลือง สุขภาพก็ดีขึ้น

รู้หรือไม่ อุนจิบอกปัญหาสุขภาพได้นะ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.