ผักป้องกันมะเร็ง มีอะไรบ้าง เรามีคำตอบ

ผักป้องกันมะเร็ง หากินง่าย ช่วยได้จริง

มะเร็ง แม้จะเป็นโรคที่ยังหาสาเหตุแบบแน่ชัดไม่ได้ แต่เราก็ยังพอมีวิธีป้องกัน หรือลดความเสี่ยงได้ ด้วยการเลือกกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ ดร.ผ่องพรรณ ศิริพงษ์ หัวหน้างานวิจัยสมุนไพรและการแพทย์ผสมผสาน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้แนะนำ ผักป้องกันมะเร็ง ที่ควรมีอยู่ในมื้ออาหารมาฝากกันค่ะ

สารอาหารสำคัญของ ผักป้องกันมะเร็ง

ผักที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้นั้น ดร.ผ่องพรรณ แนะนำว่าหัวใจในการป้องกันมะเร็งคือ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะมีสารอาหารสำคัญ ได้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระ  แคลเซียม เบต้า แคโรทีน ธาตุเหล็ก และวิตามินซี ซึ่งมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งได้

แต่ไม่ต้องไปเสียซื้อของแพง ๆ หรอกนะคะ เพราะในผักผลไม้ไทยที่เราคุ้นกันดีทั้งหลาย ก็มีสารอาหารสำคัญเหล่านี้มากมาย คัดสรรมาให้ครบทั้ง 5 กลุ่ม เลือกเฉพาะชนิดที่มีปริมาณสารอาหารสำคัญสูงสุด ดังนี้

  • สารต้านอนุมูลอิสระชื่อ Proanthocyanin ต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่จะทำให้เซลล์ในร่างกาย เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง พบในมะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก เม็ดมะขาม เม็ดลำไย เม็ดทุเรียน
  • แคลเซียม ช่วยในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็ง และเพื่อป้องกันมะเร็ง ควรได้รับในริมาณ 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน พบในผักกระเฉด ยอดแค สะเดา มะเขือพวง
  • เบต้า แคโรทีน ช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกาย เพื่อไปต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง พบในใบย่านาง ผักแพว ตำลึง ฟักทอง
  • ธาตุเหล็ก ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย พบในขมิ้นขาว ใบแมงลัก ชะพลู
  • วิตามินซี ช่วยทำลายพันธะของสารก่อมะเร็ง จึงป้องกันกระบวนการเกิดเซลล์มะเร็งได้ ป้องกันพบในดอกขี้เหล็ก ผักเชียงดา มะรุม พริก ใบชะมวง
ผักป้องกันมะเร็ง

ผักป้องกันมะเร็ง

ชา

ในใบชามีสารที่ชื่อว่า “ฟลาไวนอยด์” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนั้นฟลาโวนอยด์ ยังเป็นสารที่ช่วยให้เกร็ดเลือดไม่จับตัวกัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เมื่อดื่มชาเป็นประจำทุกวัน เพียงวันละ 1 ถ้วย จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและหัวใจลงได้

ขิง

เป็นพืชที่พรั่งพร้อมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เหง้าของขิงแก่ มีสารเบต้า คาโรทีน ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ขิงจึงเป็นพืชที่รับประทานแล้วช่วยต้านมะเร็งได้

พริกไทย

เป็นพืชที่มีสารสำคัญ ชื่อ “ฟีนอลิกส์” ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างดี พริกไทยเป็นพืชที่มีคุณสมบัติด้านสารก่อมะเร็งในทางเดินอาหารได้อย่างดี และยังพบว่าพริกไทยสามารถเร่งให้ตับทำลายสารพิษมากขึ้น

ใบแป๊ะก๊วย มีสารสำคัญที่ส่งผลช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองดีขึ้น ทำให้สมองตื่นตัว ใช้กับพวกที่มีความจำเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

ผักป้องกันมะเร็ง

เห็ดหลินจือ

สารสำคัญที่พบมีฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยเข้าไปยับยั้งเนื้องอกได้ดี คือ โพลีแซคคาไรด์ชนิดเบต้า ดี-กลูแคน จากการศึกษาโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าสารสกัดจากเห็นหลินจือ มีผลต่อเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง นอกจากนั้นยังพบว่าสามารถออกฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีและยังมีฤทธิ์ต้านพิษที่เกิดจากการฉายรังสี จึงอาจเป็นไปได้ว่าการใช้เห็ดหลินจือจะช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็ง

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ดอกเห็ดที่อยู่ในช่วงที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีสีน้ำตาลแดงสปอร์มีสีน้ำตาล รสขม รูปร่างรี ดอกเห็ดแก่ ขอบหมวกจะงุ้มลง สีหมวกเข้มขึ้น และอาจมีดอกใหม่งอกซ้อนขึ้นก็ได้

ใบแป๊ะก๊วย

แหล่งรวมสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งแน่นอนว่าช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้นตอของการเกิดมะเร็งได้ ป้องกันเซลล์ในร่างกายถูกทำลายโดยสารต้านอนุมูลอิสระ และความพิเศษคือ แม้ว่าจะนำไปประกอบอาหาร ผ่านความร้อนจนสุก แต่ก็ยังมีสารสำคัญสูงถึง 60%

นอกจากนั้นแล้ว ใบแป๊ะก๊วย ยังคงมีสารที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นดวงตา ที่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น ลดความเบลอของภาพ ป้องกันความเสี่ยงการเกิดเบาหวานขึ้นตา รวมถึงภาวะจอประสาทตาเสื่อมที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นเบาหวาน

ไขคำตอบโรคมะเร็ง

ใช้กระทะเทฟลอนเป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่

หากถามว่าเทฟลอนเป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ให้คำตอบไว้ว่า

ไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเทฟลอนเป็นสารก่อมะเร็งไม่ว่าในคนหรือในสัตว์ “เนื่องจากก่อนหน้านี้ในกระบวนการผลิตเทฟลอนใช้สารพีเอฟโอเอ (Perfluorooctanoic Acid : PFOA) ซึ่งไม่มีในกระทะเทฟลอน เพราะมันจะถูกเผาไปหมด แต่ไปตกค้างในสภาพแวดล้อมรอบ ๆ โรงงานรวมไปถึงห้วยหนองคลองบึง และเข้าไปอยู่ในเลือดของคน โดยไม่สลายหายไปไหนไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ปี

“อีพีเอ (องค์การปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ – EPA) กลัวว่าจะส่งผลเสียระยะยาว จึงทำความตกลงกับโรงงานที่ใช้พีเอฟโอเอว่าให้ค่อย ๆ หยุดใช้ และข้อตกลงนี้ทำกันมาเป็นสิบปีแล้ว ทำให้การใช้พีเอฟโอเอลดน้อยลงเป็นลำดับจนเกือบจะหมดแล้วในปัจจุบัน

“แม้ว่าอีพีเอไม่ม่ด้จัดสารพีเอฟโอเอเป็นสารก่อมะเร็ง แต่องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งระดับ 2B แปลว่ามีหลักฐานว่า หากสัตว์กินสารนี้ในปริมาณมากๆ จะทำให้สัตว์เป็นมะเร็งได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าก่อมะเร็งในคน สารพีเอฟโอเออยู่ในระดับชั้นต่ำกว่าไส้กรอก เบคอน แฮม ซึ่งได้ชั้น 2A ที่แปลว่ามีหลักฐานว่าก่อมะเร็งในคนชัดเจน

“งานวิจัยเชิงระบาดวิทยาเกี่ยวกับผู้ที่อยู่รอบๆ โรงงานพบว่ามีคนเป็นมะเร็งบางชนิด แต่อุบัติการณ์เป็นมะเร็งก็ต่ำมากจนอาจเกิดจากสาเหตุทั่วไปก็ได้ สรุปว่าไม่มีหลักฐานว่าพีเอฟโอเอก่อมะเร็งในคน อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าสารพืเอฟโอเอไม่ได้อยู่ในกระทะนะ แต่อยู่รอบๆ โรงงาน งานวิจัยขูดกันกระทะดู พบว่าไม่มีสารพีเอฟโอเอ ตัวอย่างที่พบว่ามีสารเอฟโอเอก็พบว่ามีน้อยมากจนตัดทิ้งได้ เพราะน้อยกว่าสารตัวอย่างอื่นๆ จากสิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป เช่น ฝุ่นละอองในอากาศ น้ำ และอาหารเสียอีก”

ข้อมูลจาก

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับ 537
  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง
  • กรมอนามัย

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กินอยู่ตาม “นาฬิกาชีวิต” เสริมเกราะ ป้องกันมะเร็ง

อาการโรคมะเร็ง ยอดฮิต ที่ไม่ควรมองข้าม

อาการมะเร็งปอด รู้ไว้ก่อนก็รอดได้ไว

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.