อาการปวดฟัน ที่คุณควรรู้ พร้อมวิธีแก้แบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง
อาการปวดฟัน แน่นอนว่า ส่วนใหญ่มีผลมาจากฟันผุ ซึ่งในระยะเริ่มแรกจะมีลักษณะเสียวฟัน ก่อนที่อาการปวดจะลามไปที่บริเวณใต้คางและศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ ป้องกันได้ด้วยการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ถ้าปวดฟันแล้วจะทำอย่างไรดี เรามีเคล็ดลับดีๆมาบอก
รู้จัก อาการปวดฟัน
ข้อมูลจาก อ.ทพ.เดชศักดิ์ นาคะปักษิราช ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สาเหตุนั้นมีหลายสาเหตุ และสาเหตุหลักๆ มีดังนี้
-โรคฟันผุ ในระยะแรกของฟันผุนั้น ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ แต่ถ้าส่วนที่ผุนั้นลึกมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเสียวฟันเวลาดื่มน้ำร้อน, น้ำเย็น บางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวดฟันขึ้นมาในขณะเคี้ยวอาหาร เนื่องจากมีเศษอาหารไปติดอยู่ในรูที่ผุนั้น การรักษาโดยการอุดฟันจะช่วยลดอาการปวดลงได้
-การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลจากฟันที่ผุลึกมาก จนกระทั่งทะลุโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะอยู่ในส่วนของรากฟันและอาจพบได้ในฟันสึก, ฟันร้าวหรือแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟันขึ้นมาได้ โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดฟันขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น โดยเฉพาะเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดฟันมากและปวดอยู่นาน บางครั้งต้องกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอากรปวดแต่ถ้ายาแก้ปวดหมดฤทธิ์ผู้ป่วยก็มักจะมีอาการปวดกลับมาใหม่อีกครั้ง ถ้าคุณมีอาการปวดคล้ายๆ แบบนี้แล้วแสดงว่าฟันของคุณอาจมีการอักเสบและติดเชื้อในเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟีน การรักษาคงจะต้องรักษาคลองรากฟันหรือถอนฟัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพเนื้อเยื้อฟันที่เหลืออยู่ โดยต้องให้ทันตแพทย์ประเมินการรักษาอีกครั้ง
-ปลายรากอักเสบเป็นหนอง ถ้าการอักเสบของเนื้อเยื้อในโพรงประสาทฟันฟันเป็นอยู่นาน โรคอาจจะลุกลามไปที่ปลายรากฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นหนองบริเวณปลายรากฟัน ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดฟันได้เช่นกัน ร่วมกับการบวมของเหงือกบริเวณฟันที่ติดเชื้อและเป็นโรคได้ ถ้าเชื้อลุกลามออกนอกปลายรากไปที่ใต้คางหรือแก้ม จะสังเกตได้ว่าหน้าจะบวมได้ การรักษาจะเหมือนกับกรณีที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน
-ฟันคุด เกิดจากฟันที่จะขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายเป็นต้น โดยขึ้นมาได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากกระดูกขากรรไกรมีเนื้อที่ไม่เพียงพอหรือมีฟันซี่ข้างเคียงขวางไว้ มักเป็นที่ฟันกรามซี่ในสุด ทั้งข้างบนและข้างล่างจะทำให้รู้สึกปวดฟันเวลาที่ฟันกำลังจะขึ้นได้ ถ้าพบว่ามีเหงือกบวมรอบๆ เป็นหนองฟันคุย ฟันคุกควรได้รับการผ่าตัดฟันคุยจะทำให้อาการปวดลดลง
-โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ มักมีสาเหตุมาจากคราบหินน้ำลายหรือหินปูน จะทำให้หงือกอักเสบ บวดและปวดฟันได้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหนึบๆ หรือปวดรำคาญ ร่วมกับแฟรงฟันมีเลือดออก ถ้าเป็นมากๆ ฟันจะโยก
จะเห็นได้ว่า อาการปวดฟันนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ซึ่งยังมีอีกหลายๆ โรคที่ทำให้ปวดได้ แต่ที่ยกตัวอย่างไปนั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีอาการปวดฟัน ออกไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อค้นหาสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป เราไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้เพราะจะเป็นมากขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้นด้วย
ไม่อยากปวดฟันต้องทำตาม
ข้อมูลจาก คอลัมน์เยีนวยาก่อนหาหมอ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 191 แนะนำ วิธีลดอาการปวดฟัน แบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้
- เมื่อมีอาการปวดฟัน ให้ประคบด้านข้างของใบหน้าซีกที่ปวดฟันด้วยน้ำอุ่น
- ในกรณีที่อาการปวดฟันมีลักษณะปวดตุบๆ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ ให้ประคบที่ด้านข้างของใบหน้าด้วยน้ำแข็งประมาณ 5 – 10 นาที ทุกๆครึ่งชั่วโมงความเย็นจะช่วยลดปวดและลดบวม
- ถ้ามีอาการเสียวฟันง่าย ให้ใช้โซดาไฟหรือแปรงฟันด้วยยาสีฟันสูตรสำหรับแก้เสียวฟัน
- เมื่อต้องอยู่ในที่ที่อากาศเย็นหรือในช่วงฤดูหนาว สามารถป้องกันอาการเสียวฟันหรืออาการปวดฟันจากอากาศเย็นได้โดยปิดปากด้วยผ้าพันคอ
- เลี่ยงอาหารที่ร้อนจัด เย็นจัด และหวานจัด โดยเฉพาะชา กาแฟ และไอศกรีม เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้มีอาการงดอาหารที่แข็งจนต้องใช้วิธีกัดกิน เช่น แครอท แอ๊ปเปิ้ล ฝรั่งที่ยังไม่สุก เพราะการขบกัดฟันแรงๆกับวัตถุแข็งๆ จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดฟัน และในกรณีที่อุดฟันควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งเพราะจะทำให้สารที่อุดฟันไว้หลุดออกมาง่ายขึ้น
บทความอื่นที่น่าสนใจ