อาหารโรคไตเรื้อรัง ช่วยยืดอายุผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารโรคไตเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยโรคไต สำคัญอย่างยิ่ง ถ้ากินไม่ถูกต้อง กินผิดหลักการรักษา แน่นอนว่าอาจทำให้อาการเเย่ลงได้ คุณธิษณา จรรยาชัยเลิศ (นักกําหนดอาหารวิชาชีพ) และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิต มีวิธีการกินช่วยยืดอายุผู้ป่วยไตเรื้อรังป้องกันโรคไต แนะนำไว้ดังนี้
ทำความรู้จักโรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรังมี 5 ระยะ แบ่งออกตามประสิทธิภาพการทํางาน ที่เหลือของไต ระยะสุดท้ายคือระยะ 5 หรือเรียกว่า ระยะไตวาย โดยการทํางานของไตเหลือน้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยต้องเตรียม เข้ารับการล้างไต หรือผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ก่อนที่จะป่วยถึงระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถยืดอายุ ไตได้ หากทําความเข้าใจว่า ไตไม่สามารถกําจัดของเสีย ขับน้ําและ เกลือแร่ออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ และหันมาปรับเปลี่ยนอาหาร และปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์อย่างเคร่งครัด
อาหารโรคไตเรื้อรัง สำหรับถนอมไตสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มีดังนี้
• โปรตีนคุณภาพ
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจําเป็นต้องจํากัดปริมาณโปรตีน เพราะหลังจาก โปรตีนผ่านกระบวนการย่อยและเผาผลาญแล้ว จะเกิดของเสียที่รอ ขับออกทางไต ยิ่งกินโปรตีนมาก ไตจะยิ่งทํางานหนักและเสื่อมเร็ว แต่โปรตีนนับเป็นสารอาหารสําคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทั้งเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนและกล้ามเนื้อ
โปรตีนคุณภาพสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังคือ โปรตีนที่มีส่วน ประกอบของกรดแอมิโนจําเป็นครบถ้วน เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา โดยปริมาณที่เหมาะสมแตกต่างกันตามความเสื่อมของไต หากเป็น โรคไตเรื้อรังระยะ 2 และ 3 ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 0.6 – 0.8 กรัมต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม
ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมสามารถกินโปรตีนได้วันละ 30 – 40 กรัม (เนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ปรุง 1 ขีด) หรือใน 1 มื้อสามารถกินเนื้อสัตว์ สุก 2 ช้อนโต๊ะ ร่วมกับไข่ขาว 1 ฟอง
หากเป็นโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงโปรตีนจากถั่วและผลิตภัณฑ์ จากถั่ว เพราะมีส่วนประกอบของฟอสฟอรัส ซึ่งไตไม่สามารถขับ ฟอสฟอรัสส่วนเกินออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดการคั่งค้างภายใน ร่างกาย จนเกิดอาการคันตามตัวและเร่งให้กระดูกสลายเร็วขึ้น