ขวัญ, ความเชื่อขวัญ, ผี,

ขวัญหนี (หาย) กับความเชื่อเรื่องสุขภาพ

ขวัญ ความเชื่อโบราณ กับสุขภาพ

ขวัญ เอ๊ย ขวัญมา มาที่ไหน แลัวขวัญคืออะไร  เเต่ที่เเน่ๆไม่ใช่ขวัญ อุษามณีนะ ฮ่าๆๆ มาหาคำตอบกันครับ

ขวัญคือ ระบบความเชื่อเก่าแก่ที่สุดของกลุมคนชาติพันธุ์ไท ทั้งในประเทศไทย จีน อินเดีย พม่า เวียดนาม ลาว ล้วนมีความเชื่อเรื่องขวัญ ที่ตรงกัน คือ เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่แฝงอยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่จะมีผลทำให้เจ้าของร่างกายมีชีวิตชีวา

เมื่อใดที่ขวัญหาย คือขวัญหนีหายออกจากร่าง เจ้าของร่างกายจะล้มป่วยหรือประสบความเดือดร้อนด้วยประการต่างๆ ซึ่งจะต้องแก้ไขด้วยการทำพิธีเรียกขวัญ รับขวัญกลับคืนมา

ขวัญอ่อน คือ ขวัญของเด็กยังอ่อนอยู่ มักตกใจง่าย นอนผวาและสะดุ้ง แล้วร้องไห้ผิดปรกติเพราะตกใจอะไร เมื่ออยู่ใกล้เด็กจะเอามือตบที่อกของเด็กเบาๆ แล้วกล่าวคำปลอบพร้อมไปด้วยในตัวว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว อย่าหลบลี้หนีไป ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข” เรียกว่า รับขวัญ

นอกจากนี้กลุ่มคนไทต่างก็มีความเชื่อว่าขวัญมีจำนวนและตำแหน่งสถิตอยู่ตามอวัยวะ ของร่างกาย สำหรับคนไทย เชื่อว่าขวัญในร่างกายมีจำนวน 32 ตำแหน่ง เท่ากับจำนวนของธาตุดิน (32 ประการ) แต่เชื่อว่าขวัญในตำแหน่งของศรีษะเป็นจุดที่สำคัญที่สุด

จากความเชื่อเรื่องขวัญว่าศรีษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด  นำมาสู่ข้อห้ามในสังคมไทยที่ว่าห้ามในการจับต้องหัว หรือเล่นหัวกัน เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆของร่างกาย อาจส่งผลให้ขวัญหนีหาย เกิดอาการเจ็บป่วย

แม้กระทั้งประเด็นเป็นประเด็นกำหนดแบบแผนพฤติกรรมระหว่างกันและกันของคนในสังคม เช่นไม่แตะต้องหัว ของกันและกัน เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติและไม่แสดงความเคารพได้ แต่อาจจะมีข้อยกเว้นของคนที่มีคุณวุติ วัยวุฒิที่เหนือกว่าสามารถจับศรีษะได้  เช่นญาติผู้ใหญ่จับลูบหัวศรีษะเด็กๆ เบาๆ เพื่อแสดงความเมตา เอ็นดู เป็นต้น

ขวัญเอ๊ย ขวัญมา จริงๆนะ

อ่านเพิ่มเติม : แม่ซื้อ ผี ปีศาจ หรือนางฟ้า ประจำตัวทารก

อ่านเพิ่มเติม : กวาดยา แก้โรคตาน ซาง เจ็บคอในเด็ก

 

อ้างอิง :

วิมาลา ศิริพงษ์. “ความคิดเกี่ยวกับร่างกายของคนไทย” ใน วารสารธรรมศาสตร์, ปีที่ 17 ฉบับที่ 3

เสฐียรโกเศศ.เรื่องขวัญ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์,2507

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.