ขวัญ ความเชื่อโบราณ กับสุขภาพ
ขวัญ เอ๊ย ขวัญมา มาที่ไหน แลัวขวัญคืออะไร เเต่ที่เเน่ๆไม่ใช่ขวัญ อุษามณีนะ ฮ่าๆๆ มาหาคำตอบกันครับ
ขวัญคือ ระบบความเชื่อเก่าแก่ที่สุดของกลุมคนชาติพันธุ์ไท ทั้งในประเทศไทย จีน อินเดีย พม่า เวียดนาม ลาว ล้วนมีความเชื่อเรื่องขวัญ ที่ตรงกัน คือ เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่แฝงอยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่จะมีผลทำให้เจ้าของร่างกายมีชีวิตชีวา
เมื่อใดที่ขวัญหาย คือขวัญหนีหายออกจากร่าง เจ้าของร่างกายจะล้มป่วยหรือประสบความเดือดร้อนด้วยประการต่างๆ ซึ่งจะต้องแก้ไขด้วยการทำพิธีเรียกขวัญ รับขวัญกลับคืนมา
ขวัญอ่อน คือ ขวัญของเด็กยังอ่อนอยู่ มักตกใจง่าย นอนผวาและสะดุ้ง แล้วร้องไห้ผิดปรกติเพราะตกใจอะไร เมื่ออยู่ใกล้เด็กจะเอามือตบที่อกของเด็กเบาๆ แล้วกล่าวคำปลอบพร้อมไปด้วยในตัวว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว อย่าหลบลี้หนีไป ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข” เรียกว่า รับขวัญ
นอกจากนี้กลุ่มคนไทต่างก็มีความเชื่อว่าขวัญมีจำนวนและตำแหน่งสถิตอยู่ตามอวัยวะ ของร่างกาย สำหรับคนไทย เชื่อว่าขวัญในร่างกายมีจำนวน 32 ตำแหน่ง เท่ากับจำนวนของธาตุดิน (32 ประการ) แต่เชื่อว่าขวัญในตำแหน่งของศรีษะเป็นจุดที่สำคัญที่สุด
จากความเชื่อเรื่องขวัญว่าศรีษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด นำมาสู่ข้อห้ามในสังคมไทยที่ว่าห้ามในการจับต้องหัว หรือเล่นหัวกัน เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆของร่างกาย อาจส่งผลให้ขวัญหนีหาย เกิดอาการเจ็บป่วย
แม้กระทั้งประเด็นเป็นประเด็นกำหนดแบบแผนพฤติกรรมระหว่างกันและกันของคนในสังคม เช่นไม่แตะต้องหัว ของกันและกัน เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติและไม่แสดงความเคารพได้ แต่อาจจะมีข้อยกเว้นของคนที่มีคุณวุติ วัยวุฒิที่เหนือกว่าสามารถจับศรีษะได้ เช่นญาติผู้ใหญ่จับลูบหัวศรีษะเด็กๆ เบาๆ เพื่อแสดงความเมตา เอ็นดู เป็นต้น
ขวัญเอ๊ย ขวัญมา จริงๆนะ
อ่านเพิ่มเติม : แม่ซื้อ ผี ปีศาจ หรือนางฟ้า ประจำตัวทารก
อ่านเพิ่มเติม : กวาดยา แก้โรคตาน ซาง เจ็บคอในเด็ก
อ้างอิง :
วิมาลา ศิริพงษ์. “ความคิดเกี่ยวกับร่างกายของคนไทย” ใน วารสารธรรมศาสตร์, ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
เสฐียรโกเศศ.เรื่องขวัญ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์,2507