ไข้ซิก้าระบาดบราซิล ติดทารก เสี่ยงสมองพิการ

กระทรวงสาธารณสุข ประเทศบราซิล ออกมายืนยันว่า โรคไข้ซิก้าที่มาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งมียุงลายสายพันธุ์ Aedes aegypti เป็นพาหะ มีผลกระทบต่อทารกแรกเกิด โดยจะทำให้สมองมีอาการอักเสบตั้งแต่เดือนแรกๆในครรภ์

แพทย์พบไวรัสซิก้าในเลือดและเนื้อเยื่อของทารกที่มีภาวะสมองอักเสบ ในรัฐเซียรา (Ceara) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล และยังพบผู้ใหญ่เสียชีวิตจากไวรัสชนิดนี้เป็นครั้งแรกของโลก โดยขณะนี้มีผู้ป่วย 739 ราย และผู้เสียชีวิต 2 ราย รายแรกเป็นผู้ชาย ซึ่งกำลังรักษาตัวจากโรคลูปัส (SLE) ส่วนรายที่สองเป็นเด็กหญิงอายุ 16 ปี ซึ่งเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยจากไวรัสซิก้าส่วนมากอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ แต่ไวรัสก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ไปยังเขตตะวันออกเฉียงใต้ ในเมืองริโอและเซาเปาโลแล้ว

แม้เชื้อไวรัสจะดูไม่เป็นอันตรายมากในระยะแรก เพราะส่งผลให้เกิดผื่นและไข้เพียงไม่กี่วัน แต่กระทรวงฯเตือนให้ผู้หญิงที่จะตั้งใจจะมีลูกในช่วงนี้ไตร่ตรองดูให้ดี เพราะเป็นช่วงที่ไวรัสกำลังระบาด และเริ่มส่งผลกระทบต่อสาธารณสุข ประเทศบราซิลเองจะเร่งกำหนดมาตรการฉุกเฉิน ควบคุมยุงลายสายพันธุ์ข้างต้น เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส นอกจากนี้ทีมจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จะเข้าไปตรวจสอบในประเทศบราซิลสัปดาห์หน้า

 

ที่มา: สำนักข่าวบีบีซี (BBC News)
เครดิตภาพ Unsplash/ Pixabay.com

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.