5 เคล็ดลับ เอาชนะ แผลใจวัยเด็ก หยุดเครียด หยุดกังวล
แผลใจวัยเด็ก ตอนเด็กมีฐานะยากจน เสื้อผ้าที่ใส่ไปโรงเรียนจึงมัก จะเก่าและดูค่อนข้างโทรม จึงมักถูกเพื่อนล้อและเพื่อน บางคนก็ทำท่ารังเกียจไม่อยากให้เข้ากลุ่ม ตอนเด็กๆ จึง ไม่ค่อยมีเพื่อน ไม่ค่อยมีคนคุยด้วยต้องเล่นคนเดียว เป็นประจำ ตอนนี้อายุ 20 ปีแล้ว กำลังเรียนมหาวิทยาลัย ฐานะทางบ้านดีขึ้นแล้ว พยายามแต่งตัวให้เพื่อนยอมรับ ไม่ให้เพื่อนดูถูกได้เหมือนตอนเด็กๆ แต่เวลาจะเข้ากลุ่มคุย กับคนที่ไม่คุ้นเคยก็ยังรู้สึกวางตัวไม่ถูกเหมือนเดิม มีความ กังวลลึกๆ ว่าคนอื่นอาจจะรังเกียจหรือดูถูกเราแบบตอน เด็กๆ ทำให้รู้สึกประหม่า รู้สึกเกร็งๆ เห็นเพื่อน ๆ คนอื่น เขาวางตัวเป็นธรรมชาติดี อยากเป็นแบบเพื่อนๆ บ้างค่ะ พยายามที่จะทำให้ได้แบบนั้น แต่ก็รู้สึกไม่กล้า เป็นคน คิ ดมากและอ่อนไหวกับสายตาคนอื่นมากๆ ค่ะ ยิ่งถ้าเจอคน ที่ทำหน้าตาเย็นชาหรือคนที่ชอบพูดล้อเลียนจะรู้สึกกังวล กว่าปกติค่ะ คุณหมอพอจะมีทางแก้ไขไหมคะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญปัญหาด้านจิตใจความสัมพันธ์ และโรคทางจิตเวช มาตอบคำถามนี้
อาการที่คุณเล่ามาเกิดจากภาวะที่เรียกว่า “แผลใจวัยเด็ก” คือ อาการที่ใจวนเวียนอยู่กับความทรงจำในอดีต ที่จบไปแล้วและนำมาตัดสินตนเองในปัจจุบัน ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า เพราะอะไรแผลใจ ในวัยเด็กจึงส่งผลถึงปัจจุบันได้
1. วัยเด็กมีเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด จิตใจและสมองเลยจำ เหตุการณ์นั้นไว้เพราะไม่อยากเจออีก (เป็นความหวังดีของใจที่จำไว้ เพื่อเตือนภัย)
2. การจดจำของจิตใจเลยกลายเป็นบาดแผลในใจที่เรียกง่ายๆ ว่า เหตุการณ์ฝังใจนั่นเอง
3. จิตใจกลัวจะเจอเหตุการณ์นี้อีก จึง มักส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อเจอเหตุการณ์ที่ ดูเหมือนจะคล้ายๆ เดิม จึงทำให้เกิดอาการ “นึกถึงมัน” บ่อยๆ จริง ๆ จิตใจหวังดีเพราะ ต้องการเตือนภัย
4. ความหวังดีของใจที่ต้องการเตือนภัย กลับกลายเป็นปัญหา เพราะกลายเป็นว่าใจ ต้องมาทุกข์ซ้ำๆ เพราะสมองและจิตใจไป นึกถึง และพะวงถึงเรื่องนี้บ่อยๆ
5. ใจเกิดการปรุงแต่งและตีความตาม ความเชื่อฝังใจในอดีต จึงทำให้เรื่องนี้รุนแรง และมีอิทธิพลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ ความที่ใจกลัวจะเจอเรื่องที่เคยเจ็บปวดมา จึงมักมีแนวโน้มจะตีความเหตุการณ์ใน ปัจจุบันไปในแนวทางเดิม โดยความกลัวจะ เจ็บอีกนั่นเอง (ทั้งที่บางทีอาจจะไม่ได้มีอะไร เหมือนเดิมแล้ว)
ทั้งหมดนี้ทำให้จิตใจเกิดความกลัว กังวล หวั่นเกรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยใช่เหตุ
สรุป ความทรงจำในอดีต (แผลใจในวัย เด็ก) + ความคิดปรุงแต่งต่อเติมเหตุการณ์ ปัจจุบัน /ความคิดตีความ –> นำมาสู่การ ตอกย้ำความเชื่อเดิมๆ ที่ฝังใจว่าคนอื่นต้อง ดูถูกเรา รังเกียจเรา นำมาซึ่งความกังวล ความประหม่า เวลาเข้าสังคมใหม่