แช่น้ำแร่,แช่น้ำร้อน, แช่น้ำร้อนระนอง, ระนอง, บ่อน้ำแร่

เที่ยวระนอง แช่น้ำเเร่ บรรเทาปวด

แช่น้ำเเร่ระนอง บรรเทาอาการปวด

แช่น้ำเเร่ระนอง ว่ากันว่าช่วยทำให้หายปวดเมื่อยได้ชะงัด แถมอาการคัน ผื่นแพ้ผิวหนังยังหายดีอีกด้วย แท้จริงเเล้ว แช่น้ำแร่ระนอง นั้นดีจริงหรือไม เรามาหาคำตอบกันครับ ใครมาเที่ยวระนอง ต้องอย่าลืมมา แช่น้ำแร่ระนอง ตามรอยบ่อน้ำเเร่ร้อน นะครับ

ตามรอย“บ่อน้ำแร่ร้อน”  ที่ระนอง

จังหวัดระนองมี “ความแปลก” หลายต่อหลายอย่าง เช่น ระหว่างทางไประนองเราพบทางโค้งและสามแยกมากมาย แต่หาสี่แยกไม่เจอสักทีหรือ ระนองเป็นเมืองที่มีฝนตกตลอดทั้งปี ไม่เว้นแม้แต่ในฤดูร้อน

แต่หากพูดถึง “ความพิเศษ” แล้วละก็ เรื่องของ “บ่อน้ำแร่ร้อนรักษาโรค” คงเป็นเรื่องแรกๆ ที่ใครๆ นึกถึง ธรณีวิทยาอธิบายว่า…

ข้อมูลด้านธรณีวิทยาอธิบายไว้ว่า บ่อน้ำแร่ร้อน เมืองระนอง เกิดจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งเป็นที่ราบหุบเขา มีระดับความสูงประมาณ50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งอยู่บน“รอยเลื่อนระนอง” ซึ่งเป็นหนึ่งในรอยแยกของพื้นผิวโลก

ดังนั้นเมื่อน้ำบนผิวดินและฝนซึมผ่านชั้นหินต่างๆ ลงไปตามรอยเลื่อน จะได้รับการถ่ายเทความร้อนจากภายในโลกจนอุณหภูมิสูงขึ้น และดันตัวย้อนกลับสู่ผิวโลกอีกครั้งด้วยอุณหภูมิที่สูงเกิดเป็นแหล่งน้ำพุและบ่อน้ำแร่ร้อนหลายแห่งกระจายอยู่ตามตำบลและอำเภอต่างๆ ทั่วจังหวัดระนอง

ประวัติศาสตร์เล่าว่า…

การบันทึกเรื่องราวของบ่อน้ำแร่ร้อนจังหวัดระนองเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกนั้น เห็นจะเป็นข้อความในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ครั้งเสด็จประพาสเมืองระนอง (ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า“เมืองแร่นอง”) เมื่อปี พ.ศ. 2433

ภายในพระราชหัตถเลขาจารึกว่า ได้ทรงพระราชทานนามถนนในเมืองระนองจำนวน 10 สาย (ถนนทั้งสิบสายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามให้ ได้แก่ ท่าเมือง เรืองราษฎร์ ชาติเฉลิม เพิ่มผล ชลระอุ ลุวัง กำลังทรัพทย์ ดับคดี ทวีสินค้า และผาดาด)

อย่างคล้องจองกันตามสภาพทำเลที่ตั้งของถนน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ถนนนามว่า “ชลระอุ” ซึ่งเป็นเส้นทางที่วิ่งออกจากตัวเมืองไปสู่แหล่งน้ำแร่ร้อนวัดตโปทาราม หรือที่รู้จักกันในชื่อ “บ่อน้ำพุร้อนสวนสาธารณะรักษะวาริน” ในปัจจุบัน

ไม่เพียงเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จประพาสเมืองระนอง และพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ โดยใช้พระนามแฝงว่า “นายแก้ว” ซึ่งทรงเล่าถึงบ่อ

น้ำเเร่ , แช่น้ำร้อน, แช่น้ำร้อนระนอง, ระนอง, บ่อน้ำแร่
บ่อน้ำแร่ร้อน ใช้แช่บรรเทาอาการปวดเมื่อย

น้ำร้อนเมืองระนองไว้ว่า

“…พุน้ำร้อนนั้นตั้งอยู่ริมลำธาร เป็นบ่อมีน้ำพุร้อนขึ้นมาจากพื้นแฉะๆ แล้วตกลงไปในลำธาร ที่นั้นมีศาลเจ้าที่เขาบูชาผีบ่อพวกจีนถือกันว่า ถ้าจุดประทัดผีชอบ น้ำเดือดมากขึ้น ข้อนี้จริง  ผมรับรองเพราะเห็นกับตา

“น้ำที่พุขึ้นมานั้นร้อนจัดเท่าๆ กับน้ำต้มเดือดและใช้ได้เช่นเดียวกัน ชงน้ำชากินก็ได้ ต้มไข่ในบ่อนั้นก็สุกอยู่ข้างจะดีมาก เสียแต่มาอยู่ในที่ซึ่งไปมายาก

“น้ำพุร้อนเช่นนี้ถ้าไปเกิดในที่เหมาะควรจะเป็นเงินเป็นทองมาก ถ้าเป็นเมืองนอกคงจะมีผู้คิดทำที่กินน้ำและอาบน้ำขึ้นเป็นแน่ และน้ำจากบ่อนั้น ถ้ากรอกขวดปิดกระดาษให้งามๆ อาจจะขายได้ราคาแพงๆ ก็ได้ สำคัญที่ต้องคิดจัดการกับหมออะไรสักคนหนึ่ง ให้บอกว่าเป็นยาแก้โรคอะไรๆ ต่างๆ ได้เท่านั้น

“…ถ้าเราเกิดจัดการขายน้ำที่ระนองได้ขวดละเฟื้องเดียวเท่านั้น ก็จะรวยมาพออยู่แล้ว…”

จากประวัติศาสตร์ที่พระเจ้าแผ่นดินถึงสองพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์  ทำให้เราทราบว่า ชาวเมืองระนองและผู้คนทั่วโลกรู้จักใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนหรือน้ำแร่ร้อนกันมาเป็นร้อยปีแล้ว

อ่านหน้าถัดไป แช่น้ำเเร่ระนอง เพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.